ความไม่เป็นธรรม จากการทำงานเกิดขึ้นได้ในทุกสังคมและชนชั้น เป็นภัยอีกประเภทหนึ่งที่
ทุกคนไม่อยากพบ ส่วนใหญแล้วมักจะเกิดกับลูกจ้างที่ไม่มีความรู้ เรียกว่า " แรงงานขั้นต่ำ "
ปัญหาการทำงานสำหรับลูกจ้างมีให้เห็นในปัจจุบัน มีหลากหลายมากมายแต่ที่สำคัญๆ คือ
๑ . นายจ้างไม่จ่ายเงิน ตามกฎหมายแรงงานกำหนด
๒ . ถูกบิบให้ออก ให้ทำงานที่หนักเกิน งานเสี่ยงอันตราย
๓ . ไม่ได้รับเงินค่าทดแทน ( หลังออกจากงาน )
๔ . นายจ้าง หรือหัวหน้างาน ใช้อุบายหลอกล่อ ร่วมเพศ ( ข่มขืน ) ลูกจ้าง
ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่บางคนต้องยอมรับจากนายจ้าง ด้วยเหตุที่ว่ากลัวตกงาน หรืออาจไม่ได้
ทำงาน แต่แท้ที่จริงแล้วเมื่อเกิดปัญหาขึ้น นายจ้างต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้กับลูกจ้างที่ถูก
กระทำทั้งทางคดีแพ่งและคดีอาญาไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น เพราะถือว่าผู้ว่าจ้างมีอำนาจที่จะเอา
เปรียบลูกจ้าง ถ้าลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกเลิกจ้าง ถูกบีบให้ออก ถูกรังแกทางเพศ
ไม่ต้องกลัวอีกแล้ว เพราะเดี๋ยวนี้มีศาลแรงงานโดยเฉพาะ สำหรับช่วยเหลือลูกจ้างที่ไม่ได้รับความ
เป็นธรรมจริงๆ ไม่ต้องไปว่าจ้างทนายความให้เสียเงินเสียทองมากมาย ที่ศาลจะมีนิติกรประจำ
เพื่อสอบมูลเหตุเบื้องต้น ร่างคำฟ้องนายจ้างให้เสร็จ แต่ข้อสำคัญก็คือต้องมีหลักฐานหรือพยาน
บุคคล หรือต้องมั่นใจว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้างจริงๆ ( แต่ระวังพวกหน้าม้า ตีนโรงตีน
ศาลด้วยมีจริงๆ นะ )
๑ . สัญญาจ้างแรงงาน เป็นสัญญาต่างตอบแทน
- ลูกจ้างมาทำงาน นายจ้างต้องตอบแทนโดยการจ่ายค่าจ้างให้ เป็นเรื่องเข้าใจง่าย
- แต่ลูกจ้างหยุดงาน ลูกจ้างลางาน ทำไมนายจ้างต้องตอบแทน โดยการจ่ายค่าจ้างให้
- ทำไมลูกจ้างขาดงาน ละทิ้งหน้าที่ ศาลฎีกายังให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างอีก
- มีเหตุสุดวิสัย น้ำท่วมหนัก ไฟไหม้ ลูกจ้างไม่มาทำงาน ทำไมนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้
- ทำไมลูกจ้างตกลงรับค่าจ้าง 50% ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ จึงมีผลใช้บังคับได้ (คดีของ บริษัท
ยูเนียนเท็คซ์ นิตติ้ง จำกัด)
- ทำไมนายจ้างเลิกกิจการ โดยจ่ายค่าชดเชยให้แล้ว ยังต้องจ่ายค่าจ้างต่ออีก 6 เดือน
(คดีของ องค์การอาหารสำเร็จรูป)
- สั่งพักงานกรรมการลูกจ้างโดยไม่ขออนุญาตศาลแรงงาน มีทางทำได้อย่างไรที่ชอบ(คดีของบริษัท
ไซมอนแอนด์แอสโซิเอทส์ จำกัด)
๒ . สัญญาจ้างแรงงาน เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ
- ทำสัญญาจ้างด้วยวาจา สัญญาจ้างแรงงานก็สมบูรณ์
- ไม่ได้ตกลงจ้าง ทำไมจึงกลายเป็นสัญญาจ้างโดยปริยาย มีองค์ประกอบอะไร
- ถ้าต้องการจ้างชั่วคราว แต่ไม่ทำเป็นหนังสือ กลับกลายเป็นลูกจ้างประจำได้อย่างไร
- สัญญาจ้างชั่วคราว กับจ้างเป็นประจำต่างกันที่ใด
๓ . สัญญาจ้างที่มีระยะเวลาการจ้างแน่นอน เลิกจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย มีองค์ประกอบอย่างไร
๔ . เหตุใดนายจ้างจึงมีสิทธิ์นำเอางานประจำ มาทำสัญญาจ้างเป็นช่วงๆ ได้โดยชอบ
๕ . ประโยชน์ของการทำสัญญาจ้างชั่วคราวเป็นช่วงๆ 7 ประการ มีอะไรบ้าง
๖ . สัญญาจ้างที่มีเวลาการจ้างแน่นอน ที่ถูกศาลฎีกาตัดสินว่า เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีระยะเวลา
การจ้างแน่นอน มีลักษณะข้อความในสัญญาอย่างไร
๗ . หลักในการทำสัญญาจ้างแรงงาน
- เงื่อนไขในการจ้าง การทดลองงาน ระยะเวลาการจ้าง ลักษณะงานที่ทำ ค่าจ้าง วันเวลาทำงานปกติ
๘ . สิทธิของนายจ้าง
- มอบงานให้ลูกจ้างทำ โอนความเป็นนายจ้างให้กิจการอื่น เลิกสัญญาจ้าง เมื่อลูกจ้างไร้ฝีมือ เรียกค่า
เสียหายเมื่อออกจากงานโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า สั่งให้ทำงานและมอบหมายงาน การโยกย้ายสับ
เปลี่ยนหน้าที่ การให้ความดีความชอบ การลงโทษลูกจ้าง
๙ . หน้าที่ของนายจ้าง
- จ่ายค่าจ้าง บอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกสัญญาจ้าง เหตุที่ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า 5 ประการ
ออกใบสำคัญแสดงการทำ งาน (แม้ลูกจ้างถูกไล่ออก นายจ้างก็ต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้)
จ่ายค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้าง
๑๐ . สัญญาห้ามลูกจ้างไปทำงานกับธุรกิจคู่แข่งขันหลังออกจากงาน ศาลฎีกาให้มีผลใช้บังคับได้
๑๑ . การจ่ายค่าจ้างตามผลงานศาลฎีกาให้เป็นจ้างแรงงาน
๑๒ . บรรณาธิการข่าว ศาลฎีกาให้เป็นจ้างทำของ
๑๓ . ทำงานอิสระ แต่อยู่ภายใต้ระเบียบของนายจ้าง ศาลฎีกาตัดสินให้เป็นจ้างแรงงาน
๑๔ . นายจ้างมอบให้ตัวแทนไปว่าจ้างคนงาน ตัวแทนไม่จ่ายค่าจ้าง ศาลฎีกาตัดสินให้
นายจ้างต้องจ่ายซ้ำ
๑๕ . สัญญาจ้าง ทำขัดกฎหมายว่าด้วยศาลแรงงานได้ แต่ขัดกับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง
แรงงานไม่ได้
๑๖ . ตัวแทนขายประกันชีวิต ศาลฎีกาตัดสินไม่ใช่ลูกจ้าง
๑๗ . แม้จ่ายค่าจ้างตามผลสำเร็จของงาน แต่อยู่ภายใต้บังคับบัญชา เป็นจ้างแรงงาน
๑๘ . กรรมการบริษัท ศาลฎีกาตัดสินว่ามิใช่ลูกจ้างบริษัท
๑๙ . ผู้ว่าจ้าง มิใช่นายจ้างของลูกจ้างผู้รับเหมา
๒๐. ว่าจ้างปลูกสร้างบ้าน ศาลฎีกาตัดสินเป็นการจ้างแรงงานได้ ถ้าตกลงจ้างกันไม่ดี
๒๑. ช่างตัดผม ศาลฎีกาตัดสินมิใช่ลูกจ้าง
๒๒. สัญญาจ้างสิ้นสุด โดยลูกจ้างทำงานต่อมา ศาลฎีกาถือว่าเป็นลูกจ้างประจำ
๒๓. นายจ้างเสนอสัญญาใหม่ให้ลูกจ้างลงนาม ลูกจ้างไม่ลงนาม ศาลฎีกาถือว่าลูกจ้าง
สละสิทธิ์ที่จะทำงานมีผลเท่ากับลาออก
๒๔. นายจ้างเดิม โอนลูกจ้างไปทำงานบริษัทอื่น ลูกจ้างไม่ยินยอม ศาลฎีกาถือว่า
เป็นการเลิกจ้างที่ต้องจ่ายค่าชดเชย
๒๕ . นายจ้างรายแรก โอนลูกจ้างไปให้นายจ้างรายที่สอง ลูกจ้างต้องลง ต่อมานายจ้าง
ที่สอง ขอโอนกลับไปให้นายจ้างแรก ลูกจ้างไม่ตกลง ศาลฎีกาถือเป็นการเลิกจ้าง
ที่ต้องจ่ายค่าชดเชย เช่นเดียวกัน
๒๖ . การไม่ขึ้นเงินเดือนให้ลูกจ้าง ศาลฎีกาไม่ถือเป็นการละเมิดต่อลูกจ้าง
๒๗ . ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้ค่าจ้างในระหว่างนัดหยุดงาน
๒๘ . ลูกจ้างทำงานไม่ได้ตามเป้าหมาย ศาลฎีกาตัดสินให้มีสิทธิได้ค่าจ้างเต็ม
๒๙ . สิทธิประโยชน์อื่นที่เกินกฎหมาย ศาลฎีกาตัดสินให้นายจ้างกำหนดหลักเกณฑ์จ่าย
หรือไม่จ่ายอย่างไรก็ได้
๓๐ . แม้ลูกจ้างทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ และได้ชำระบางส่วนแล้ว ศาลฎีกาก็อาจตัดสิน
ให้ไม่ต้องชำระหนี้ได้ ถ้ามีเหตุผลที่ปราศจากมูลหนี้เดิม
๓๑ . ประเด็นที่ทำให้สัญญาจ้างทำของ กลายเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ศาลฎีกาว่ามีปัจจัย
ใดเป็นเครื่องบ่งชี้
จะทำอะไรขอให้ปรึกษาผู้รู้กฎหมายหรือทนายความปลอดภัยที่สุด
ยินดีให้คำปรึกษากับทุกคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม เขียนข้อความได้ที่นี่ >>> |