ผู้เสียหาย หรือถูกจับ หรือถูกฟ้อง รัฐจ่ายก่อน
ผู้เสียหายที่ถูกทำร่ายร่างการหรือจิตใจ จะถึงตายหรือไม่ๆ สำคัญ หรือผู้ที่ถูกจับเป็นผู้ต้องหา
หรือถูกฟ้องเป็นจำเลย ถ้าข้อเท็จจริงฟ้งได้ว่าจำเลยไม่ผิดหรือไม่มีส่วนในการกระทำผิด
พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.
๒๕๔๔ กำหนดให้ผู้เสียหายในคดีอาญาอันเนื่องมาจากการกระทำผิดของผู้อื่น หรือผู้ต้องหาหรือ
จำเลยในคดีอาญามีสิทธิได้รับค่าทดแทนเป็นเงินในสิ่งที่ตัวเองมิได้เป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้น
ตัวอย่าง ๑ (ผู้เสียหาย มาตรา ๑๗ )
นาย ก. ถูก นาย ข. ตีหัว นาย ก. เป็นผู้เสียหาย นาย ข. เป็นผู้กระทำละเมิดให้นาย ก. ได้รับบาด
เจ็บ นาย ข. ต้องรับผิดทางอาญาฐานทำร้ายร่างกาย และต้องรับผิดทางแพ่งฐานกระทำละเมิด
ต้องใช้ค่าเสียหายให้นาย ก. และนาย ก. ไปแจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดีกับนาย ข. นาย ก.
เรียกค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายเป็นเงินได้จากรัฐ และยังฟ้องนาย ข. เรียกค่าเสียหายทางแพ่ง
ได้อีกต่างหาก ( หรือจะไม่ฟ้องนาย ข. ทางแพ่งก็ได้ ถ้ากลัวเสียเงินค่าทนาย )
ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค ๒ ความผิด ลักษณะ ๙ ความผิดเกี่ยวกับเพศ มาตรา ๒๗๖ ถึง
๒๘๗ เช่น ข่มขืนกระทำชำเรา อานาจาร เป็นธุระจัดหาฯ หรือใช้กำลังประทุษร้าย ครูอาจารย์
ผู้สืบสันดาน กระทำต่อศิษย์หรือผู้อยู่ในปกครอง ทำผลิตฯ สิ่งอันลามก ลักษณะ ๑๐ ความผิดเกี่ยว
กับชีวิตและร่างกาย มาตรา ๒๘๘ ถึง ๓๐๘ เช่น ต่อชีวิต ร่างกาย ทำให้ แท้งลูก ทอดทิ้งเด็ก
คนป่วยเจ็บ หรือคนชรา
ตัวอย่าง ๒ ( ผู้ต้องหาหรือจำเลย มาตรา ๒๐ )
นาย ก. ถูก ตีหัว นาย ก. ไม่รู้ว่าใครเป็นคนตีหัว แต่นาย ก. คิดว่านาย ข. เป็นผู้กระทำนาย ก.
ได้รับบาดเจ็บ นาย ก. จึงไปแจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดีกับนาย ข. ทางอาญาฐานทำร้ายร่างกาย
นาย ข. ติดคุก ถูกฟ้องต่อศาล ต่อมาพยานหลักฐานที่ศาลรับฟังได้ว่า นาย ข. ไม่ใช่ผู้ทำร้ายร่างกาย
นาย ก. จึงพิพากษาว่า นาย ข ไม่มีความผิด แต่นาย ข. ติดคุกไป ๑๐๐ วัน และไม่ได้ทำงานอีก ๑๐๐
วัน หรือถูกออกจากงาน นาย ข. เรียกค่าทดแทน และค่าใช่จ่ายเป็นเงินได้จากรัฐก่อนได้เลย แล้ว
จึงมาฟ้อง นาย ก. ผู้ที่ทำให้นาย ข. ต้องเสียหายได้อีกต่างหาก
ผู้ต้องหรือจำเลยต้องมีเหตุดังนี้ถึงจะมีสิทธรับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายได้
๑ . เป็นจำเลยที่ถูกดำเนินคดีโดยพนักงานอัยการ
๒ . ถูกขังในระหว่างพิจารณาคดี
๓ . ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า .. จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิดและมีการถอนฟ้องในระหว่างการ
ดำเนินคดี .. หรือปรากฎตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลย
มิได้เป็นผู้กระทำความผิด
หมายความว่า จำเลยจะถูกฟ้องด้วยข้อหาใดก็ตามที่เป็นความผิดต่อส่วนตัว หรือความผิดอาญาต่อ
แผ่นดินสามารถขอรับค่าทดแทนได้ทั้งสิ้นถ้าสุดท้ายแล้วตัวเองไม่มีความผิดตามที่กฎหมายกำหนด
จากตัวอย่างทั้งสองคงรู้แล้วว่าจะเรียกค่าทดแทนจากรัฐได้อย่างไร ต่อไปก็ต้องรู้ว่าจะใช้มีสิทธิ
เรียกร้องได้เมื่อใด มาตรา ๒๒ ให้สิทธิเรียกร้องได้ภายใน ๑ ปี ดังนี้
๑ . ผู้เสียหายภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รู้ถึงการกระทำความผิด
๒ . จำเลยภายใน ๑ ปี วันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องเพราะปรากฎหลักฐานชัดเจนว่า
จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด หรือวันที่มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟัง
เป็นยุติว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด และการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดแล้วแต่กรณี
ค่าตอบแทนได้แก่ มาตรา ๑๘
๑ . ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล ( ตามที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท ) รวมทั้ง
ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างการและจิตใจ ( ตามที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท )
๒ . ค่าตอบแทนในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย จำนวนไม่เกินที่กำหนดในกฎกระทรวง
( ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ค่าจัดการศพอีกไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกไม่เกิน
๓๐,๐๐๐ บาท .. ค่าเสียหายอื่นอีกไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท )
๓ . ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ประกอบการงานไม่ได้ตามปกติ( ไม่เกินวันละ ๒๐๐
บาท ไม่เกิน ๑ ปี ถ้าผู้เสียหายเป็นจำเลยจ่ายตามวันที่ถูกขังจริง )
๔ . ค่าตอบแทนความเสียหายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง คณะกรรมการจะกำหนดให้ผู้เสียหาย
ได้รับค่าตอบแทนเพียงใดหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ และความร้ายแรงของการ
กระทำความผิดและสภาพความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับ รวมทั้งโอกาศที่ผู้เสียหาย จะได้รับการ
บรรเทาความเสียหายโดยทางอื่นด้วย |