วิธีว่าความในศาล " ไม่รู้อย่าคิดจ้างทนายความ "
โดยทั่วไปแล้วเมื่อมีคดี หรือมีเหตุที่จะฟ้องหรือต่อสู้คดีกัน เจ้าของเรื่องก็มักจะไปว่าจ้างทนาย
หรือนักกฎหมายให้ดำเนินการฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดี
หลักที่สำคัญในการดำเนินกระบวนการฟ้อง หรือต่อสู้คดี มีอยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่ง และอาญา ในการฟ้องคดี หรือเข้าต้อสู้คดีความ จะมีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติดังนี้
๑ . การสอบคดี. หมายความว่า การตรวจสอบลูกความถึงมูลเหตุ หรือต้นเหตุแห่งคดีว่า คดีที่จะ
ฟ้องร้องต้อสู้นั้นมีมูลคดี และพยานหลักฐานมากน้อยแค่ไหน .. ผู้ว่าจ้างมีความประสงค์อย่างไร
ถ้าพยานหลักฐานนั้นไม่พอที่จะฟ้อง หรือต่อสู้คดี ต้องหาเพิ่มเติมอย่างไร วิธีการหาจะทำอย่างไร
ถ้าได้พยานหลักฐานมาแล้ว ต้องมาพิเคราะห์ว่าถูกต้องหรือไม่เพียงพอที่ศาลจะรับได้พิเคราะห์
ชั่งน้ำหนักหรือไม่ และคาดการณ์ไว้ด้วยว่า ถ้าศาลชั้นต้นไม่พิเคราะห์พยานหลักฐานนำสืบเสนอ
ต่อศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา จะรับพิเคราะห์หรือพิจารณาหรือไม่ด้วย
๒ . เมื่อสอบคดีเสร็จ ถ้าพยานหลักฐานยังไม่เพียงพอก็ต้องสืบสวนหาพยานต่างๆ ที่ต้องการมา
ให้ได้ โดยต้องมีผู้ที่ชำนาญการด้านสืบคดีก่อนฟ้อง คือ " นักสืบ " ( ดูรายละเอียดเรื่องนักสืบ )
เมื่อได้พยานหลักฐานที่เพียงพอแล้ว จึงมาสู่ขั้นตอนการฟ้องคดี
๓ . การฟ้องคดี เป็นเรื่องที่ทนายต้องร่างคำฟ้องให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
แพ่ง หรืออาญา รายละเอียดการร่างคำฟ้องมีความสำคัญรองลงมาจากการสืบหาพยานหลักฐานคือ
ต้องสัมพันกับข้อกฎหมายที่อ้างมาฟ้อง และต้องสัมพันกับพยานหลักฐานที่มีอยู่และหามาได้หรืออาจ
คาดว่าจะหามาเพิ่มเติมระหว่างฟ้อง (การสืบหาพยานหลักฐานจึงมีความสำคัญมากว่าตัวทนายความ)
เมื่อร่างคำฟ้องเสร็จ มาสู่ขั้นตอน การยื่นฟ้อง
๔ . การยื่นคำฟ้องหรือคำให้การ. วันที่ยื่นต่อศาล มีความสำคัญรองลงมาอีกคือ ยื่นฟ้องถูกศาลหรือไม่
อายุความฟ้องขาดหรือยัง .บัญชีระบุพยาน ควบตามจำนวนพยานหลักฐานที่มีหรือไม่ และต้องติดตาม
ว่าศาลจะมีคำสั่งรับ หรือไม่รับ หรือไม่อย่างไร. จะได้หาทางแก้ไขได้ทันตามที่กฎหมายกำหนด
๕ . เมื่อศาลรับคำฟ้องหรือคำให้การแก้ฟ้อง หรือฟ้องแย้งแล้ว ก็ตามที่การติดตามคือส่งหมายเรียก
ส่งคำฟ้อง หรือคำฟ้องแย้ง ให้คู่ความได้หรือไม่อย่างไร แล้วก็ต้องติดตามว่าถูกต้องตามกระบวนการ
ฟ้องคดีหรือไม่
กระบวนวิธีพิจารณาความในศาลนั้น เป็นวิธีการว่าความที่ทนายความและนักกฏหมายทุกคน
ต้องจำให้ขึ้นใจ เพราะการแพ้หรือชนะคดีก็อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ถ้าไม่ปฏิบัติตามกระบวนวิธีการ
ตามที่กฎหมายกำหนด เรียกกันในหมู่นักกฎหมายว่า " ปลาตายน้ำตื้น หรือ ตกม้าตาย "
ถ้าจะว่าจ้างทนายความให้ทำคดีสักเรื่อง ถ้าไม่รู้กระบวนวิธีพิจารณาในศาลนี้แล้ว อย่าไว้ใจ
ทนายความที่ว่าจ้างมากนัก เพราะถ้าแพ้คดีความจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่า แพ้เพราะอะไร พยาน
หลักฐานไม่ดี หรือการนำสืบไม่ดี หรือปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญบัติไว้หรือไม่
ดังนั้นต้องมีทั้งนักสืบที่ดีรู้กฎหมาย และทนายความที่มีประสบการณ์มานาน ถึงจะทำให้คดี
ประสบความสำเร็จ
เพียงเท่านี้หลายท่านก็รู้แล้วว่า กระบวนการที่ทนายความดำเนินการในศาลมีอย่างไร หากต้อง
การข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเจาะลึกถึงวิธีการ และเทคนิคการแพ้ชนะ พร้อมมาตรากฎหมายและคำพิพาก
ฎีกา ดูได้ในข้อมูล VIP จะได้บรรลุถึงแก่นของการว่าความในศาล
คำเตือน
ถ้าไม่มีประสบการณ์ทางกฎหมายแล้ววิธีว่าความในศาลแล้ว อย่าคิดทำด้วยตัวเอง พาทมาแล้ว
จะเสียใจภายหลัง
ทุกเรื่องทุกคดีต้องมีหลักฐาน ถ้าหลักฐานไม่พร้อมควรให้นักสืบที่เรียนจบมาโดยตรงดำเนินการ
เมื่อได้พยานหลักฐานพร้อมแล้วจึงจะคิดฟ็องหรือต่อสู้คดี จงอย่าฟังอย่างเดียวเดี๋ยวจะเสียเงินฟรี
ทนายความหาง่าย นักสืบเก่งๆหายาก ( สนง.กฎหมายอื่น ยังมาจ้างเราสืบคดีเลย ) ไปอ่านสองเรื่อง
นี้ก่อนแล้วจะรู้ถึงคำเตือนของเรา ๑. detective ๒. lawyer |