หัวซ้าย
นกน้อยทำรังแต่พอตัว   ไม่อยากจนจงอย่าเป็นหนี้  ( อย่าคิดมีบัตรเครดิต ถ้ายังไม่พร้อม  จะเจอดอกเบี้ยมหาโหด )
กลับหน้าแรก   ขอคำปรึกษาเป็นการส่วนตัว โดยตรงกับนักกฏหมาย
เมนต์หลัก
หัวซ้าย

Language
สมาชิก VIP Login ที่นี่ค่ะ
User login
user
pwd

คุณเข้ามา ครั้ง(25/02/55)
ทีวีปลดทุกข์จากหนี้
วิทยุปลดหนี้

maps.google.com
พันธมิตร & ผู้สนับสนุน
หางาน ตำแหน่งงาน Jobs Online  

อุปกรณ์นักสืบ
(ขาย-ให้เช่า)

เจ้ากรรมนายเวร
เจ้ากรรมนายเวร
เวรกรรมแก้ไม่ได้
แต่หยุดเวรกรรมได้

 
Welcome To  S Detective & lawyer Online
เปิดเผยความจริง  เพื่อให้เกิดความยุติธรรม
 


( ธุรกิจ ธุรโกง )

  เรื่องของธุรกิจ - ธุรโกง จากประสบการณ์ของเราขอแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ
๑ . ธุรกิจ - ธุรโกงภายนอก
๒ . ธุรกิจ - ธุรโกงภายใน

ธุรกิจ - ธุรโกงภายนอก

  โดยทั่วไปคนทำธุรกิจ - กิจการต่างต้องพึ่งเงินกู้ เพื่อเอามาขยายกิจการ แหล่งเงินที่สำคัญ
และกู้ยืมได้ง่าย คือ
๑ . แหล่งเงินกู้นอกระบบ
๒ . ธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่กฎหมายรับรอง

 ๑ . เงินกู้นอกระบบ ส่วนใหญ่ผู้กู้มักจะให้กู้ง่าย เพียงแต่ลงชื่อในใบสัญญากู้ยืนก็รับเงินไปได้เลย
แต่พอถึงเวลาที่ผู้กู้ไม่ชำระเงิน ก็อาจถูกทวงถามแบบโหดๆ บ้าง แบบกึ่งโหดบ้าง ถ้าทวงแล้วไม่ได้
จริงๆ ก็จะให้ทนายความคู่ใจฟ้อง  โดยเอาใบสัญญากู้ยืมมากรอกตัวเลขเข้าไปใหม่ เช่น กู้ยืมกัน
จริงๆ ๑๐,๐๐๐ บาท แต่มากรอกตัวเลขเป็น ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือมากว่านั้นไปฟ้องต่อศาล แบบนี้ใน
ทางกฎหมายถือว่าสัญญากู้ยืมนั้นปลอม ตามประมวกฎหมายอาญามาตรา ๒๖๔ มีโทษจำคุก ไม่เกิน
๓ ปี ( แบบนี้เรียกว่า เจ้าหนี้โกงลูกหนี้ แบบผิดกฎหมาย ) ( ลองฟังเสียงเจ้าหนี้หน้าด้านๆ ดู) >>>

  แต่ส่วนใหญ่แล้วลูกหนี้ที่ไปกู้ยืมเงินมักจะไม่ต้อสู้กับเจ้าหนี้ ทั้งๆ ที่รู้ว่าเจ้าหนี้โกงแบบหน้าด้านๆ
เหตุผลเพราะว่า
๑ . ลูกหนี้ไม่มีเงินที่จะไปว่าจ้างทนายความ จะไปแจ้งความกับตำรวจๆ อาจไม่รับแจ้งก็ได้
๒ . ไม่อยากขึ้นโรงขึ้นศาล เพราะคิดว่า ถึงจ้างทนายความไปต่อสู้ก็ต้องใช้หนี้เหมือนเดิม
๓ . อาจเพราะกลัวอิธิพลของนายทุนเงินกู้ และอื่นๆ
ด้วยเหตุผลทั้ง ๓ ข้อ ในที่สุดก็ต้องตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา และถูกเจ้าหนี้ ทนายความคู่ใจ
บังคับคดี ยึดทรัพย์สิน อายัดเงินเดือน

  ถ้าลูกหนี้คิดจะเอาเจ้าหนี้หรือนายทุนที่เอาสัญญากู้ยืมเงินมากรอกตัวเลขให้สูงจากความเป็น
จริงเข้าคุก และสามารถ จะต่อรองกับเจ้าหนี้ได้อีกด้วย ซึ่งอาจทำให้ไม่ต้องใช้หนี้ หรืออาจจะใด้เงิน
จากเจ้าหนี้ใช้อีกฐานยอมความไม่เอาเจ้าหนี้เข้าคุก ( ลองฟังเสียงเจ้าหนี้หน้าด้านๆ ดู) >>>

  เรื่องแบบนี้มีให้เห็นอยู่มากมาย ขึ้นอยู่ว่า ลูกหนี้จะลุกขึ้นต่อสู้ทางคดีอาญาหรือไม่เท่านั้น เพราะ
กฎหมายเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ทำได้ ไม่ถือว่าโกงเจ้าหนี้ และไม่ผิกกฎหมายด้วย นี่เป็นเพียงส่วน
หนึ่งของลูกหนี้ที่ไม่ต้องใช้หนี้เพราะมีกฎหมาย รับรอง ยังมีวิธีอื่นๆ อีกมากที่ไม่ต้องใช้หนี้เจ้าหนี้
ถึงแม้จะเป็นสถาบันการเงินหรือธนาคารก็ตาม ( แบบนี้เรียกว่า ลูกหนี้โกงเจ้าหนี้ แบบถูกกฎหมาย )

  ๒ . ธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่กฎหมายรับรอง ก็เป็นแหล่งเงินกู้ขนาดใหญ่ที่ใครรู้จัก เพราะ
ดอกเบี้ยกู้ยืมถูกมาก ส่วนใหญ่แล้วเจ้าของธุรกิจและกิจการต่างใช้การกู้ยืมเงินจากธนาคารเป็นหลัก

ตอนไปขอกู้ยืมเงิน ก็ไม่มีอะไรยุ่งยากมาก เพียงเขียนโครงการเข้าไป และปฎิบัติตามระเบียบที่
ธนาคาร แต่และที่กำหนด (ทั้งบนดิน และใต้ดิน) ก็สามารถได้เงินมาบริหารหรือขยายกิจการแล้ว
( ส่วนใหญ่ธนาคารก็มักจะให้มีการจำนองที่ดิน จำนำทรัพย์สิน และมีผู้ค้ำประกัน พิจารณาประกอบกับ
ธุรกิจหรือกิจการที่ทำอยู่เป็นหลัก )

ทำไม่ถึงเป็นธุรโกงได้

  เมื่อธนาคารตกลงให้เงินกู้แล้ว ลูกหนี้ก็ต้องผ่อนชำระตามสัญญา เช่นกู้ยืมกัน ๑๐๐ ล้าน
ผ่อนคืนธนาคารเดือนละ ๒ ล้าน พร้อมดอกเบี้ย   พอลูกหนี้ผ่อนไปได้สักระยะ ธุรกิจหรือกิจการ
ประสบปัญหา ไม่สามารถจ่ายเงินให้ได้เดือนละ ๒ ล้าน แต่สามารถจ่ายได้เดือนละ ๑ ล้าน ทาง
ธนาคาร ก็จะเริ่มมีปฏิกิริยากับลูกหนี้ เช่น จะคิดเบี้ยปรับ เบี้ยผิดนัด เบี้ยผิดสัญญา และอื่นๆ
อีกมากมาย  เมื่อรวมๆแล้วก็เป็นเงินจำนวนมาก และที่สำคัญเงินที่ส่งไปเดือนละ ๑ ล้าน ธนาคาร
หรือสถาบันการเงินก็จะเอาไปหักดอกเบี้ย เบี้ยปรับ เบี้ยผิดนัด และอื่นๆ จนหมดก่อนแล้วจึงจะเอา
ส่วนที่เหลือมาหักกับเงินต้น ถ้าไม่เหลือหรือหักไม่พอก็จะเอาไปทบกับ เดือนๆ ต่อๆ ไป เงินที่ส่งไป
ทุกเดือนอาจไปถูกหักกับส่วนอื่นๆ หมด ในที่สุดเงินต้นไม่เคยลดลงเลย    พอไปสักระยะหนี้เมือ
เห็นว่ามี ยอดคิดเบี้ยปรับ เบี้ยผิดนัด เบี้ยผิดสัญญา และอื่นๆ สูงขึ้น ก็จะเรียกลูกหนี้เข้ามาปรับ
โครงสร้างหนี้ โดยเสนอให้เอายอดหนี้เดิมรวมเข้ากับเบี้ยปรับ เบี้ยผิดนัด เบี้ยผิดสัญญา และอื่นๆ
เอามาเป็นต้นเงินใหม่ตามกฎหมาย เรียกวิธีนี้ว่า รับสภาพหนี้ หรือแปลงหนี้ ที่สุดลูกหนี้ก็จะได้หนี้
ใหม่มาเช่น เดิมกู้ ๑๐๐ ล้าน ใช้ไปได้ ๒๐ ล้าน ขาดส่งรายเดือนรวม ๒๐ ล้าน ส่วนที่ขาดส่งคิดเบี้ยปรับ
เบี้ยผิดนัด เบี้ยผิดสัญญา และอื่นๆ ๑๐ ล้าน ในการปรับโครงสร้าง หนี้ก็จะเป็น ๙๐ ล้าน แต่ ๙๐ ล้าน
ส่วนนี้ธนาคารอาจจะเสนอให้พักดอกเบี้ยไว้ก่อน โดยให้ส่งเฉพาะเงินต้น ๙๐ ล้าน ดอกเบี้ยคิดที่หลัง

อันที่จริงดอกเบี้ย ที่พักเอาไว้นั้น ตัวดอกเบี้ยยังคงเดินไปอยู่ตลอดเวลาไม่มีการหยุดแต่อย่างใด
หรือถ้าอาจจะ หยุดจริงๆ ก็เพราะธนาคารได้คิดรวบยอดรวมเอาไว้ล่วงหนี้แล้วในเวลาปรับโครง
สร้างหนี้    แต่ธนาคารไม่ได้บอกให้ลูกหนี้ทราบเท่านั้น จะบอกแต่เพียงว่าปรับโครงสร้างหนี้แล้ว
จะหยุดดอกเบี้ยให้ " เพียงเท่านี้ลูกหนี้ก็ดีใจจนเนื้อเต้น คิดว่าธนาคารชั่งใจดีอะไร อย่างนี้ "
ลูกหนี้ก็ลงชื่อในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้โดยที่ไม่ได้ดูว่า ในสัญญานั้นระบุข้อความตามที่ได้พูดคุย
กันก่อนลงชื่อหรือไม่    เมื่อลูกหนี้เอามาอ่านภายหลักก็จะรู้ว่าถูกหลอก เมื่อโทรไปถามที่ธนาคาร
เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบก็จะอ้างว่าเป็น นโยบายของสำนักงานใหญ่ สาขาไม่มีอำนาจแก้ไข  ถ้าลูกหนี้
ไม่ตกลง ทางสำนักงานใหญ่ก็จะฟ้องยึดทรัพย์ทันที่ ( แถมขู่ จะฟ้องอีก ) เมื่อเป็นเช่นนี้ลูกหนี้ก็ถูก
มัดมือชก ต้องกัดฟันหาเงินมาใช้หนี้ตามสัญญใหม่ ซึ่งมากกว่าเดิมอีก ( ที่ส่งๆ ไป ไม่มีความหมาย
อะไรเลย ต้องมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ และผู้จัดการที่เคยรู้จักกินข้าว เที่ยวด้วยกัน ก็จะทำเป็นไม่รู้จัก
กันมาก่อน )

  ดังนั้นเมื่อเป็นหนี้ธนาคารและถูกเรียกให้เข้าไปปรับโครงสร้างหนี้ ท่านรองขอให้ธนาคาร
สำเนาสัญญาปรับโครงสร้างหนี้มาดูก่อน รับรองได้ว่าท่านจะไม่มีโอกาสที่จะเอาสัญญานั้นหรือขอ
ถ่ายสัญญานั้นออกนอกเขตธนาคารได้เลย ให้ท่านสันนิฐานไว้ก่อนว่าท่านอาจจะถูกกลฉ้อฉลได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือการจะเจอกับสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติ
ว่า ด้วยข้อสัญญที่ไม่เป็นธรรมกฎหมาย พ.ศ.๒๕๔๐  ( นี้ละที่เรียกว่า " ธุรโกง " )

  มีลูกหนี้หลายท่านโดนแบบนี้มามากแล้ว โดยคิดว่าตัวเองตั้งใจที่จะไม่โกงธนาคาร และธนาคาร
ก็จะไม่โกงตัวเอง และให้โอกาสให้หาเงินผ่อนใช้หนี้ ในที่สุดถ้าลูกหนี้ไม่สามารถหาเงินมาชำระตาม
สัญญาปรับโครงสร้างใหม่ได้ ก็จะต้องถูกฟ้องอย่างเดียวเท่านั้น จะไปร้องให้ผู้จัดการธนาคารช่วย
ก็ทำไม่ได้แล้ว เพราะเขาไม่ยอม เอาตำแหน่งมาเสี่ยงกับการถูกออกฐานทุจริต

  เรื่องธุรโกง ของฝ่ายสินเชื่อธนาคาร หรือสถาบันการเงินแบบนี้เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีในเรื่อง
ของบัตรเคดิต ซื้อสินค้าเงินผ่อนตามห้างต่างๆ ก็เข้าในลัษณะเดียวกันหรือคล้ายๆกัน ผมเคยบอกกับ
หลายท่านว่า ถ้าจะปรับโครงสร้างหนี้ ขอให้ถ่ายสำเนาสัญญามาด้วย หรือให้มีทนายความหรือนัก
กฎหมายไปด้วยจะดีมาก จะได้ไม่ต้องถูกหลอก หรือมีเพื่อนคอยปรึกษาเพื่อให้มั่นใจจริงๆ ก่อนทำ
สัญญา

  แต่ถ้าใครหลวมตัวไปทำปรับโครงสร้างหนี้แล้วและกำลังจะถูกฟ้อง หรือรู้ว่าจะไม่มีเงินใช้หนี้
ท่านยังมีทางออกอีกมากที่จะไม่ให้ธนาคารชนะคดี หรือยึดทรัพย์สินได้ หรืออาจจะไม่ต้องใช้หนี้เลย
" กฎหมายถ้ารู้และใช้ให้ถูกที่ถูกทางย่อมเป็นประโยชน์แก้ผู้ใช้ " เตือนแล้วนะไม่ใช่ไม่ว่ากัน
" ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา "

  ในการทำธุรกิจ - บริษัท เป็นที่รู้ๆ กับว่าทุกคนจะต้องมีเงินมาลง  หรือลงด้วยแรงงานเข้าหุ้นด้วย
ก็ได้ โดยเพราะการทำธุรกิจสมัยนี้    ผู้เป็นหุ้นส่วนที่เป็นผู้จัดการ หรือกรรมการผู้จัดการมักจะหา
ทางทำทุก วิถีทางที่จะให้ได้เงินมามากที่สุดเท่าจะทำได้   ไม่ว่าจะใช้วิธีถูกกฏหมายหรือผิดกฏหมาย
ก็ตาม ผลประโยชน์ที่จะได้คือเงิน เช่น ยัดเงิน ให้ค่าคอมมิชั่น เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง   ฮั่วประมูล
สั่งฆ่าคู่แข่งที่ไม่ยอมฮั่วประมูล
..
  แต่ถึงกระนั้นก็ตาม  เมื่อหาเงินมาได้แล้ว ผู้ที่บริหารกิจการมักจะมีความโลภมาก  โดยที่ไม่อยาก
จะแบ่งส่วนแบ่ง..ให้กับหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นตามที่กฎหมายกำหนด .. พวกนี้มักจะหาทางหลีกเลี่ยงต่างๆ
ที่จะไม่จ่ายเงินหรือจ่ายก็จะจ่ายให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ .. โดยอาศัยกฏหมายที่เปิดช่องให้ทำได้
เรียกง่ายๆว่า " โกงกับเอง ". ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนฝูง  พี่น้อง  คนทั่วๆไป ไม่เว้นแม้คนใกล้ตัว ( มีให้
เห็นเป็นข่าวอยู่บ่อยๆ ลูกฆ่าพ่อ , ฆ่าพี่ , ฆ่าน้อง , ฆ่าเมีย , ฆ่าลูก , ฆ่า.. หุ้นส่วน , เพื่อรับเอาหรือจัด
การผลประโยชน์ในส่วนแบ่ง )

  ถ้าเข้าหุ้นส่วนลงทุน. จะรู้ได้อย่างไรว่าไม่ถูกหลอกหรือถูกโกงได้   พวกที่จะโกงนี้มักจะดูได้ไม่ยาก
เพราะจะมีพฤติกรรมให้เห็นผิดสังเกตุได้
  ๑ . จะอ้างว่าขาดทุน , มีกำไรน้อย , ถูกโกง , เศาษฐกิจไม่ดี   ทั้งๆ ที่เห็นว่าไม่น่าขาดทุน
  ๒ . จ้างพนักงานระดับหัวหน้างาน . มักจะเป็นญาติพี่น้อง หรือภริยาน้อย , หรือผู้สอบบัญชีอาจเป็น
        ญาติหรือผู้ที่รู้จักเป็นพิเศษ โดยให้เงินเดือนสูงเป็นพิเศษ
  ๓ . ในหนังสือบริคณ์สนธิ   จะกำหนดว่า " ผู้ถือหุ้นมีสิทธิออกเสียงตามจำนวนที่ถือหุ้น คือ ๑ หุ้นต่อ
        ๑ เสียง"
  จะไม่กำหนดตัวผู้ถือหุ้น คือ ๑ คนต่อ ๑ เสียง เพื่อลงมติในเรื่องสำคัญๆ
  ๔ . แต่ในกรณีที่มีผู้ถือหุ้นที่เป็นญาติถือหุ้นรวมแล้วมากกว่าผู้ถือหุ้นที่เป็นคนภายนอก ก็อาจใช้
        หุ้นส่วน ๑ คน.ต่อ ๑ เสียง เพื่อลงมติในเรื่องสำคัญๆ ( ถือพวกตัวเองมากออกเสียงชนะทุกที่ )
  ๕ . จัดทำบัญชี ๒ - ๓ บัญชี โดยอ้าวว่าเพื่อเลี่ยงภาษี . หรือเป็นเทคนิคในการสั่งสินค้า หรือจ่ายเงิน
         ชำระค่าสินค้า
   ๖ . อ้างขยายกิจการ   หรือสั่งสินค้าเข้าเกินความจำเป็น
  ๗ . มีอำนาจสิทธิพิเศษต่างๆ ในการแต่งตั้งกรรมการหรือกรรมผู้จัดการ  ที่จะดำเนินการได้เองโดย
        ไม่ต้องขอมติจากกรรมการหรือที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น
  ๘ . โกงภาษีที่ต้องจ่ายให้กับรัฐ   โดยอ้าวว่าเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย หรือเพื่อให้กิจการมีผลกำไรมากๆ
   ๙ . เวลาไปขอตรวจดูหรือตรวจสอบบัญชี .. ก็มักจะอ้างว่า " บัญชียังทำไม่เสร็จ , ต้องรอให้ผู้สอบบัญชี
         ตรวจรับรองก่อน  หรือแสดงความไม่พอใจ "

..๑๐ . เงินค่าตอบแทน กรรมการผู้จัดการ หรือผู้บริหารที่เป็นญาติพี่น้อง สูงมากกว่าที่ควรได้
..๑๑ . ถ้าไมีพอใจผู้ถือหุ้นก็บีบให้ขายหุ้นราคาถูกๆ .. หรือจะถอนหุ้นเอาเงินคืนก็ไม่ได้ " อาจถูกขู่
          อาฆาตด้วย "

  ที่สำคัญก่อนเริ่มทำธุรกิจ หรือบริษัท จะพูดชักชวนในทำนองว่า " กิจการดีแน่ กำไรเห็นๆ ไม่ต้อง
กลัวว่าโกงเพราะจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย  เพื่อนฝูงไม่โกงกันอยู่แล้ว  ดูบัญชีได้ตลอดเวลา
กำไรหรือขาดทุนหรือเป็นหนี้ก็ไม่ต้องรับผิดชอบ   จะแสดงว่าตัวเองทำมาแล้วกำไรเท่านั้นเท่านี้
ไม่มีปัญหาใดๆ ทั้งสิ้น เพียงต้องการขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น  หรือถ้าไม่เข้าหุ้นก็ขอยืมเงินลงทุนก่อน
จะให้ ดอกเบี้ยแพงๆ "
   คำหวานๆ เหล่านี้มักจะกล่าวอ้างเพื่อจูงใจเท่านั้น  ถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนที่พ่อแม่
โอนให้ลูกๆ หลานๆ ยิ่งโกงกันง่ายมาก และก็ฆ่ากันตายก็มากเช่นกัน

  ผู้ที่จะเข้าหุ้นมักจะมองข้างสิ่งนี้ เพราะเห็นว่ากิจการที่ดำเนินการอยู่นั้นเห็นว่าดีมีกำไรจริงๆ
จึงยอมร่วมลงทุนด้วย นี้แหละที่เรียกว่า " ธุรโกง "     ธุรโกงมีหลายรูปแบบ มีอยู่แทบทุกวงการธุรกิจ
ตราบเท่าที่มีผลประโยชน์ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง.

ทำอย่างไรจะต่อสู้หรือหาทางแก้ไขได้

   ตามกฏหมายแพ่งและพานิชย์ การจัดตั้งหุ้นส่วนบริษัทสามารถทำได้ตามกฏหมาย และกฏหมายก็
กำหนดวิธีเข้าถือหุ้น  การตรวจสอบบัญชี   การตั้งกรรมการบริษัทหรือผู้จัดการ   ความรับผิดของกรรม
การบริหาร   การประชุมผู้ถือหุ้น   การขอมติที่ประชุมผู้หุ้น การเลิกหุ้นส่วนบริษัท  กฎหมายแพ่งก็
บัญญัติเอาไว้รัดกุมพอสมควร  แต่ด้วยเหตุที่กฎหมายเห็นว่าเป็นเรื่องของเอกชนกับ เอกชนด้วยกัน
จึงไม่สามารถ ที่จะออกกฎหมายมาในเชิงบังคับแบบเด็ดขาดอย่างกฎหมายอาญาได้

  เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้พวกที่ตั้งบริษัทขึ้นมาแล้วโกงกันได้   ช่องว่างของกฎหมายในบางส่วนที่เปิด
ให้ทำได้     แต่ถึงกระนั้นกฎหมายก็ยังคุ้มครองผู้สุจริตอยู่ดี .. เพราะจะมีกฎหมายอาญาเข้ามาเกี่ยวข้อง
ในบางกรณี  และในส่วนของกฎหมายแพ่งก็มีเช่นกัน . คือให้ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการบริหาร
ที่ไม่สุจริต

  ถ้าจะต้องสู้กับพวกนี้สิ่งที่สำคัญคือ  เมื่อรู้หรือสงสัยว่าถูกโกงต้องใจเย็นๆ เอาไว้ หาพยานหลักฐาน
ที่จำเป็นที่จะเอาผิด   ให้ปรึกษาพวกนักสืบนักกฎหมายจะดีที่สุด จะได้รู้วิธีหาพยานหลักฐานที่ถูกต้อง
ได้ หรือถ้าว่าจ้างให้ดำเนินการก็สามารถทำได้ และเงินที่ว่าจ้างนั้น ก็สามารถที่จะขอรับคืนจากห้างหุ้น
ส่วนบริษัทได้ .. หลังที่ได้ดำเนินคดีกับพวกที่โกงหน้างหุ้นส่วน - บริษัทถึงที่สุดแล้ว

  คำเตือน อย่าให้พวกที่โกงรู้ตัวว่ากำลังหาพยานหลักฐานเพื่อเอาผิด   มิฉะนั้นอาจโดนอุ้มได้
มีตัวอย่างให้เห็นอยู่บ่อยๆ เช่น คดี สส ฆ่าตัวตายปริศนา   เจ้าของน้ำซอลถูกฆ่าพร้อมคนขับ

   ถ้าไม่อยากเสียเวลาจะใช้วิธีลงโทษพวกโกงโดยวิธีอื่นๆ ที่ผิดกฎหมาย ก็ไม่ว่ากัน แล้วแต่วิธีใคร
จะคิดหาทางแก้กันอย่างไร

  วิธีนอกกฎหมายมีทั้งข้อดีข้อเสีย   ขอให้คดิถึงวิธีอื่นๆ ก่อน ขอให้เป็นวิธีสุดท้ายเพื่อป้องกันตัว
ครองครัว ทรัพย์สิน เท่านั้นจะดีที่สุด ( ถ้าแค้นมากๆ ก็ไม่ว่าอะไรกัน )

ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งที่ใครๆ อยากทำธุรกิจ และธุรกิจนั้นต้องมีแต่ได้ ไม่มีคำว่าขาดทุน ยังมีธุรโกง
อีกมาก มีกลยุทธโกงกันแบบหน้าด้าน ผู้ที่ถูกโกงมารู้อีกครั้งก็หมดตัวแล้ว

ธุรโกงบนควมทุกข์ชาวบ้าน

   เดียวนี้มีธุรโกงรูปแบบใหม่ ( ผมรู้ว่ามีมานานแล้ว )    ธุรโกงแบบใหม่นี้เป็นรูปแบบที่หากิน
บนความทุกข์ของชาบบ้าน   โดยอาศัยช่องว่างของกฎหมาย  พูดง่ายๆ โกงแบบถูกกฎหมายตามสาย
ตาของชาวบ้านทั่วๆไป  แต่ในสายตาของนักกฎหมายเรียกว่า " กระทำผิดกฎหมาย "

   ที่เรียกว่าธุรโกงบนความทุกข์ของชาบบ้าน คือ พวกเหล่านักกฎหมาย  ข้าราชการ พนักงาน
เอกชนคิดหาเงินโดยตั้งบริษัทรับจ้างทวงหนี้ ( โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต )   เพราะสถาบันการเงิน
จะมีลูกหนี้ที่ค้างชำระจำนวนมาก  ภาษาธนาคารเรียกว่า " หนี้ด้วยคุณภาพ , หนี้สงสัยจะสูญ ,
หนี้สูญ ชาวบ้านเรียกว่า " หนี้เน่า "   ภาษากฎหมายเรียกหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ "
  หนี้เหล่านี้
มีเป็นจำนวนมากรวมๆทุกสถาบันการเงินเป็นหมื่นล้าน   ส่วนใหญ่เมื่อก่อนจะมีการส่งฟ้องศาลเพื่อ
ให้ศาลมีคำพิพากษาและยึดทรัพย์ของลูกหนี้  แต่มาระยะหลังหนี้พวกนี้ถูกใช้โดยหลักบริหารการ
เงินการธนาคารของกระทรวงการคลังคือ " สำรองหนี้ "   หลายสถาบันการเงินบางที่มีการจ่ายเป็น
หนี้สูญไปแล้วโดยเอาเงินผลกำไรไปตัดหนี้จำนวนดังกล่าว

  ปัญหาหนี้เน่าๆ เหล่านี้ จึงทำให้มีนักกฎหมายหัวใส่ของสถาบันการเงินหาช่องว่างกฎหมายเพื่อ
เอาใจเจ้านาย ( นายจ้างเงิน )   โดยให้มีการจัดให้สำนักกฎหมายดำเนินการติดตามทวงหนี้เอง
แต่จะมีสัญญาผูกมัดเพื่อที่จะไม่ต้องรับผิดชอบในการกระทำของสำนักกฎหมายที่อาจเกิดความเสีย
หายกับสถาบันการเงิน  โดยแบ่งออกเป็น ๒ ระบบการทวงหนี้

  • ทำสัญญาให้ทวงหนี้อย่างเดียว ไม่มีการฟ้องคดี
  • ทำสัญญาให้ฟ้องคดีและประนีประนอมยอมความ

แต่สำนักกฎหมายที่จะมาขอรับงานทวงหนี้ต้องมีหลักเกฑณ์ว่า ต้องเป็นนิติบุคคลเท่านั้น

  หลักเกฑณ์นี้จึงทำให้มีการจัดรวมตัวกันต้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายกันมาก  เพื่อจุดประสงค์
จะรับงานทวงหนี้จากสถาบันการเงินที่มีจำนวนหนี้เน่าเป็นหมื่นล้าน ( เงินทั้งนั้นใครก็อยากได้ )

  แต่ก่อนที่จะรู้ว่าธุรโกงบนความทุกข์ของชาวบ้านมีขั้นตอนอย่างไร   ขออธิบายย่อยเกี่ยวกันการ
ตามที่ที่ถูกต้องตามกฎหมายเสียก่อน เพื่อท่านจะได้เข้าใจที่มาที่ไปของพวกเห็นความทุกข์ของเป็น
ขนมหวาน    เมื่อเกิดหนี้ขึ้นไม่ว่าลูกหนี้จะชำระให้ได้หรือไม่ก็ตาม เจ้าหนี้จะต้องเตือนลูกหนี้ก่อน
เมื่อเตือนแล้วลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ก็บอกกล่าวให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์มาตรา ๒๐๔ และคำบอกกล่าวนั้นต้องทำเป็นหนังสือถึงลูกหนี้จึงจะเป็นหลักฐานว่าได้มีการ
เตือนและบอกกล่าวถูกต้องตามกฎหมายแล้ว   จากนั้นถ้าลูกหนี้ไม่ชำนะหนี้ตามหนังสือดังกล่าว
เจ้าหนี้ต้องฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้   นี้คือหลักการที่กฎหมายกำหนด
ให้เจ้าหนี้ผู้ได้รับความเสียหายจากการไม่ชำระหนี้ของลูกหนี้ ( ไม่เว้นแม้สถาบันการเงิน )

  เมื่อรู้หลักที่กฎหมายให้เจ้าหนี้ปฏิบัติแล้วมาดูกันว่าธุรโกงบนความทุกข์ของชาวบ้านทำกัน
อย่างไร    เมื่อ กฎหมายกำหนดหลักไว้ว่า  ๑ . ต้องเตือนก่อน   ๒ . เมื่อเตือนแล้วต้องบอกกล่าว
ให้ชำระหนี้   " ขอให้ท่านดูคำสองคำ   เตือน ,  บอกกล่าว "

  • คำเตือน หมายความว่าให้ลูกหนี้รู้ว่าใกล้ถึงหรือถึงกำหนดต้องชำระหนี้แล้ว
  • คำบอกกล่าว หมายความว่า   เมื่อถึงกำหนดชำระหนี้แล้วลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้อีก เจ้าหนี้
    ต้องส่งคำบอกกล่าวให้ชำระหนี้ และในคำบอกกล่าวนั้นต้องกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้

   เมื่อถึงกำหนดตามหนังสือคำบอกกล่าวแล้วเจ้าหนี้ต้องฟ้องลูกหนี้ตามกฎหมาย    แต่ที่บอกท่านไว้
แต่แรกว่ามีนักกฎหมายหัวใส่ใช้ช่องว่าของกฎหมาย กำหนดแบ่งระบบการทวงหนี้เป็น ๒ ระบบ
ผู้จะมาทวงหนี้ต้องเป็นนิติบุคคล    ช่องว่างของกฎหมายที่ว่าคือ คำเตือน และคำบอกกล่าว   

   ขอให้ท่านสังเกตว่า   ระบบแรก " ทำสัญญาให้ทวงหนี้อย่างเดียว ไม่มีการฟ้องคดี "  ก็คือให้ไป
เตือนลูกหนี้ว่าถึงเวลาชำระหนี้แล้ว   ดังนั้นที่ท่านทั้งหลายโดนทวงหนี้จากพวกบัตรเครดิตต่างๆ
ที่ส่งหนังสือมานั้น เป็นการเตือนตามตัวอย่างเสียงนี้  แต่พวกที่รับจ้างมาเตือนนี้จะมีข้อตกลงกับ
สถาบันการเงินในลักษณะว่า หากได้หนี้คืนมาถึงจะได้ค่าคอมมิชั่น หรือพวกทวงหนี้อาจเสนอให้
สถาบันการเงินเองก็ได้   ( ส่วนที่สึกๆ กว่าคงอธิบายให้ท่านเข้าใจได้ยากเพราะเป็นเรื่องภายใน
ของสัญญาเป็นสิบๆ ข้อ )

    ดังนั้นหนี้บัตรเครดิตที่พวกท่านถูกตามทวงอยู่ทุกวันนี้ ส่วนใหญ่จะมาจากข้อตกลงแบบแรกนี้
ไม่ว่าจะส่งหนังสือมาให้ชำระหนี้ ถ้าไม่ชำระจะถูกฟ้อง จะถูกยึดเงินเดือน จะถูกยึดทรัพย์ ต้องจ่าย
ค่าฤาชาธรรมเนียมโจทก์ ๓,๐๐๐ บาท  ค่าทนายจำเลย ๘,๐๐๐ บาท และอื่นๆ   ที่พวกรับจ้างทวง
บนความทุกข์ชาวบ้านจะสรรหามาเขียนขู่ให้ลูกหนี้กลัว  และก็จะโทรมาทวงหนี้ลูกหนี้ถึงที่บ้านและ
ที่ทำงานพูดจาก่อกวน ข่มขู่ต่างๆ นานา สารพัดที่พวกนี้จะสรรหามาได้ เพื่อจุดมุ่งหมายอย่างเดียว
คือบีบเอาเงินจากลูกหนี้ให้ได้ทุกวิถีทาง ( ฟังตัวอย่างเสียงพวกทวงหนี้หน้าด้านๆ กัน) >>>


    บางครั้งพวกนี้จะใช้วิธีทวงหนี้ที่เกินเลยโดยไม่กลัวคำว่าผิดกฎหมาย เช่น ไปพบลูกหนี้ที่ทำงาน
แสดงตัวเป็นเจ้าหนี้ พูดจาข่มขู่ และประจานลูกหนี้ด้วยการปิดประกาศที่หน้าที่ทำงานลูกหนี้ว่า
ให้ไปชำระหนี้ด้วย หรือบางครั้งเกินเลยไปพบฝ่ายบุคคลหรือผู้จัดการของลูกหนี้ และฝากเอกสาร
เปิดผนึกเขียนว่าให้ไปชำระหนี้  สิ่งเกินเลยต่างๆเหล่านี้ที่พวกทวงหนี้กล้าทำๆ ให้ลูกหนี้หลายท่าน
ได้รับความอับอายเข้าลักษณะผิดกฎหมายอาญาฐานหมิ่นประมาทและละเมิดสิทธิของผู้อื่น  แต่พวก
นี้คิดว่าไม่มีใครสามารถจับได้หรือหาพยานหลักฐานมาฟ้องคดีได้    แต่ในที่สุดก็ไม่พ้มมือกฎหมาย
อาชีพอย่างผม  พวกนี้ถูกลูกหนี้รายหนึ่งซึ่งสุดทนต่อพฤติกรรมการทวงหนี้และขอให้ผมดำเนินการ
จนได้หลักฐานครบถ้วนทั้งภาพVDOและเสียงที่จะดำเนินการทางคดีได้ ซึ่งลูกหนี้ท่านนี้มีจุกประสงค์
จะดำเนินการให้ถึงที่สุดรวมทั้งตัวสถาบันการเงินที่เป็นตัวการด้วย พร้อมทั้งเรียกค่าเสียหายอีก
จำนวนเจ็ดหลัก    เพื่อเป็นการให้สถาบันการเงินและพวกรับจ้างทวงหนี้รู้ว่าลูกหนี้รายหนี้ไม่ใช่
หมูให้เชือดได้ง่ายๆ  

  VDO และเสียงที่ท่านได้ฟังนั้นเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีอีกมากและพวกรับทวงหนี้ที่คิดว่าตัว
เองยิ่งใหญ่จะไปข่มขู่ใคร หรือโทรไปขู่ใครและคิดว่าลูกหนี้คงไม่มีปัญญาจะจับได้   ตอนนี้มี
สถานบันการเงินหนึ่งถูกแจ๊กพอรต์แล้วและอยู่ระหว่างเจรจากัน   หากเจาจรากันไม่รู้เรื่อง
เชื่อว่าอีกไม่นานพวกท่านจะได้เห็นข่าวทาง ITV หนังสือพิมพ์ และสือต่างๆ   เพราะทางสถาบัน
การเงินพยายามปัดความรับผิดชอบ ( คงคิดว่าตัวเองอยู่เหนือกฎหมายกะมัง ) จะโยนความผิด
ไปให้พวกรับจ้างทวงหนี้  แต่หารู้ไหมว่ากฎหมายให้ถื่อว่าสถาบันการเงินต้องร่วมรับผิดกับตัว
การด้วย   ( มีความคืบหน้าอย่างไรจะมาบอกให้รู้อีก )

    แบบแรกนี้ทำให้ลูกหนี้เดือดร้อนกันมาก และเป็นการทวงหนี้ที่พยายามใช้ช่องว่างกฎหมาย
เอาเปรียบลูกหนี้ที่ไม่รู้กฎหมาย  เราเรียกวิธีแบบนี้ว่า " ธุรโกงบนความทุกข์ชาวบ้าน "  เปิด
นิติบุคคลรวมตัวกันทั้งข้าราชการ ทนายความ พนักงานสถาบันการเงิน มาหากินบนความทุกข์
ของชาวบ้าน  หลีกเลี่ยงกฎหมายจนในที่สุดสวรรคลงโทษพวกนี้ เมื่อลูกหนี้หันหน้ามาสู้จริงๆ
ได้เมื่อเจอมือกฎหมายและนักสืบอาชีพ จะได้เป็นบทเรียนต่อไป ไม่ให้เอากฎหมายไปใช้ใน
ทางที่ผิดๆ

   มาถึงการทางหนี้แบบที่สอง " ทำสัญญาให้ฟ้องคดีและประนีประนอมยอมความ "  พวกนี้
จะเหมือนกับแบบที่แรก  แต่แบบนี้สถาบันการเงินมักจะไม่ค่อยว่าจ้างเพราะจะต้องมีค่าใช้จ่าย
ในการดำเนินการทางคดี  แต่ก็จะมีการตกลงในลักษณะเดียวกันกับแบบแรก   พวกแบบที่
สองทางสำนักก็มักจะใช้วิธีเดียวกับแบบแรกเพราะจะได้เงินไว้กว่าการฟ้องคดี   และพวกนี้
จะใช้ความระมัดระวังมาก  เพราะตัวทนายความจะต้องรับผิดชอบโดยตรง   แต่ยังมีพลาดมา
เหมือนกัน  เราเคยอัดเสียงทนายความคนหนึ่งที่อ้างเป็นตำรวจมาขู่ลูกความว่า เจ้าหนี้มาแจ้ง
ความแล้วให้ลูกหนี้รีบไปจ่ายหนี้มิฉะนั้นจะต้องดำเนินการตามกฎหมาย  แต่พอเราถามว่า
เป็นตำรวจอยู่สถานีไหน กับบอกว่าเป็นจ่าทหารนอกราชการและใช้นามสกุลนักกฎหมายชื่อ
ดัง  ผมจึงอบรมให้รู้ว่าการทวงหนี้แบบที่อ้างกันลูกหนี้นั้นไม่สมควรทำ แต่เป็นถึงทนายความ
อย่าเอาศักดิ์ศรีมาแรกกับเงินไม่กี่บาท และเป็นเงินที่อยู่บนความทุกข์ของชาวบ้าน   มีตั๋ว
ทนายสามารถหากินได้ตลอดชีวิต   และบอกด้วยว่าขณะที่คุยกันนี้ได้อัดเสียงเอาไว้ด้วย ซึ่ง
เสียงช่วงแรกๆ นั้นเป็นคำพูดที่บอกถึงความไร้มารยาทของนักกฎหมาย   จากนั้นทนายท่านนี้
ก้ไม่ได้ติดต่อลูกหนี้อีกเลย

  ธุรกิจ - ธุรโกงทั้งหลายคือการหาผลประโยชน์เงินทองเข้าตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
โดยไม่สนใจว่าลูกหนี้จะมีความทุกข์แสนสาหัสอย่างไร ขอให้ได้เงินมาก็พอ   วิธีที่พวกนี้ใช้หา
เงินก็เป็นวิธีง่ายๆ คือหลอกคนอื่นที่ไม่รู้กฎหมายเท่านั้น แต่พอเจอกับคนที่รู้กฎหมายด้วยกัน
ก็จะกลัวแต่ก็จะแสดงความยิ่งใหญ่แบบเดิมๆ ที่นักกฎหมายด้วยกันเรียกว่า " ตกม้าตาย "

  ยังมีกลเม็ดการทำธุรกิจ - ธุรโกงอีกมาก   จึงขอฝากเตือนเจ้าหนี้และผู้ทำธุรกิจทุกท่าน ขอให้
ทำในทางที่ถูก เมื่อทำถูกแล้วแต่ถูกโกงอีก หรือถูกเอาเปรียบทางกฎหมายอีกปรึกษาเราๆ ช่วย
คลายทุกข์ให้ท่านได้

 
 
เมนต์หลัก

 
 

 

ขณะนี้มีคน online อยู่ 56 ท่าน