ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๖๕๓ . การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนัง
สืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้
เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว
ที่กฎหมายกำหนดไว้เช่นนี้เพราะว่า การกู้ยืมเงินเกินกว่าสองพัน บาทต้องทำเป็นหนังสือเท่านั้น
ถึงจะฟ้องให้ยึดทรัพย์ของผู้กู้มาใช้หนี้ได้ ถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้กู้สามารถปฏิเสธการใช้เงิน
ได้ ผู้ให้กู้ก็มีสิทธิฟ้องคดีได้แต่ต้องแพ้แน่นอน ๑๐๐ %
ผู้กู้เงินอย่าลืมอยู่อย่างว่า นายทุนผู้ให้กู้เงินคงไม่โงที่จะไม่ทำสัญญากู้ยืมเงินเอาไว้ แต่ในทาง
กลับกันนายทุนเงินกู้ก็ไม่อาจที่จะฟ้องร้องให้ผู้กู้เงินชำระหนี้ตามสัญญาเงินกู้นั้นได้ ถ้าเข้าลักษณะ
ต้องห้ามที่กฎหมายกำหนด เช่น นายทุนเอาสัญญากู้มาให้ผู้กู้ลงชื่อกู้ยืมเงิน แต่ไม่ได้กรอกข้อความ
ใดๆ หรือ สัญญากู้ยืมเงินอำพรางสัญญาอื่นๆ ที่ชอบ หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ( นิติกรรมอำพราง )
ก็ตามกฎหายถือว่าการกู้ยืมนั้นยังไม่สมบูรณ์ ฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
เพียงเท่านี้หลายท่านคงรู้วิธีที่จะกู้ยืมเงินโดยไม่ต้องใช้หนี้ได้แล้ว ถึงอย่างไรก็ดีนายทุนก็ยังคง
มีชั้นเชิงต่างๆ นาๆ ที่จะหาทางเอาเปรียบผู้กู้อยู่ดี เรียกง่ายๆว่า " ถ้าไม่ได้ด้วยเล่ห์ ก็ต้องเอาด้วยกล
ถ้าไม่ได้ด้วยมนต์ ก็ต้องเอาด้วยคาถา ถ้าไม่ได้จริงๆ ก็ใช้อิธิพล " แต่ถ้าลูกหนี้รู้กฎหมายและชั้น
เชิงเทคนิคพอสมควร เจ้าหนี้พวกนี้จะติดคุกกันเป็นแถวๆ แถมถูก ป.ป.ง ยึดทรัพย์อีก ไม่ว่าจะมี
" สีใดๆ " อยู่เบื้องหลังก็ตาม และถ้าพวกนี้ใช้อิทธิพลมืดต่างๆ มาข่มขู่ ก็ต้องเจอเกลือจิ้มเกลือ
ต่อไปนี้มาดูกันว่า กู้ยืมเงินแบบไหนสมบูรณ์ ฟ้องร้องให้ศาลพิพากษาให้ผู้กู้ใช้หนี้ตามสัญญาได้
และแบบไหนไม่ สมบูรณ์ ฟ้องร้องให้ศาลพิพากษาให้ผู้กู้ใช้หนี้ตามสัญญาไม่ได้ตามกฎหมายและ
การออกเช็คใช้หนี้เงินกู้ แบบไหนที่นายทุนไม่สามารถที่จะแจ้งความตำรวจ หรือฟ้องต่อศาลให้ลง
โทษติดคุกได้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ..พ.ศ. ๒๕๓๔