รับสั่งใช้พระราชอำนาจตาม ม.7 ไม่ได้ ทรงให้ศาลฎีกา-ศาลปกครองแก้วิกฤติ
วันนี้ (25 เม.ย.) เวลา 17.42 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำหนักเปี่ยม
สุขวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้
นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด นำ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่
โอกาสนี้ได้มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยขอร้อง
อย่าไปทอดทิ้งการปกครองระบอบประชาธิปไตย และอย่าไปคอยขอนายกพระ
ราชทาน เพราะนายกพระราชทานไม่ใช่เป็นเรื่องของการปกครองแบบประชา
ธิปไตย เป็นการปกครองแบบมั่ว ไม่มีเหตุมีผล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีกระแสพระราชดำรัสต่อว่า การปกครองประเทศต้อง
มีสภา สภาต้องครบถ้วน ถ้าไม่ครบถ้วนก็ถือว่าไม่ได้ การหาวิธีที่ตั้งสภาไม่ครบถ้วน มาทำงาน
รู้สึกว่ามั่ว ขอโทษที่ใช้คำว่ามั่ว ปกครองประเทศมั่วไม่ได้ ปัดๆไปให้เสร็จ ถ้าไม่ได้ก็โยนให้
พระมหากษัตริย์ทำ ซึ่งยิ่งร้ายกว่า เพราะพระมหากษัตริย์ไม่มีหน้าที่จะไปมั่ว ขอร้องฝ่ายศาล
ให้คิด ช่วยกันคิด ประชาชนหวัง ถ้าไม่ทำตามหลักกฎหมาย หลักศาลปกครองสูงสุดประเทศ
ชาติไปไม่รอด อย่างที่เป็นอยู่อย่างนี้คือไม่มีสภา สมาชิก ส.ส. รัฐสภา ไม่มีสภา ทำงานไม่ได้
ต้องคิดทำอย่างไรให้ทำงานได้
อย่ามาขอให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ตัดสิน ในมาตรา 7 ไม่ได้บอกว่าพระมหากษัตริย์สั่งได้
ไม่มี ดังนั้น จึงขอให้ประธานศาลปกครองสูงสุดไปหารือกับศาลอื่นๆ เพื่อหาทางออกในเรื่องนี้
หากไม่สามารถทำได้ ก็ขอให้ไปลาออกเสีย เพราะไม่สามารถทำให้ระบอบประชิปไตยเดินหน้า
ไปได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระบรมราช
วโรกาสให้นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา นำผู้พิพากษาใหม่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลี
พระบาทเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ โดยทรงมีพระราชดำรัสย้ำอีกครั้ง
ให้ประธานศาลฎีกาไปหารือกับประธานศาลปกครองสูงสุดและศาลอื่นๆ
เพื่อร่วมกันทางทางออกให้กับวิกฤติของประเทศชาติในขณะนี้
ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แก่คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุด
"... จริงๆ กว้างขวางมาก ในเวลานี้ เมื่อเช้านี้เอง การเลือกตั้ง และโดยเฉพาะ ผู้ที่ได้คะแนน
ไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็เลือกตั้งคนเดียว ซึ่งมีความสำคัญที่ว่า ไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์
แล้วก็คนเดียว ในที่สุดการเลือกตั้งไม่ครบสมบูรณ์ ไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับท่านหรือเปล่า
แต่ความจริงน่าจะเกี่ยวข้องเหมือนกัน เพราะว่าถ้าไม่มีจำนวนผู้ที่ได้รับเลือกตั้ง ก็็กลาย
เป็นว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยดำเนินการไม่ได้ แล้วถ้าดำเนินการไม่ได้ ที่ท่าน
ได้ปฏิญาณตนเองก็เป็นหมัน
ถึงบอกว่าจะต้องทำเพื่อให้การปกครองแบบประชาธิปไตยต้องดำเนินการไปได้ ท่านก็เลย
ทำงานไม่ได้ และถ้าท่านทำงานไม่ได้ ท่านอาจจะต้องลาออก ถ้าไม่มีการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่
ต้องหาทางแก้ไขได้
บอกว่าต้องไปทางศาลรัฐธรรมนูญ แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็บอกไม่ใช่เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญ
บอกว่าเป็นการร่างรัฐธรรมนูญ ร่างเสร็จแล้วก็ไม่เกี่ยว เราเลยขอร้องว่าท่านอย่าไปทอดทิ้ง
การปกครองแบบประชาธิปไตย การปกครองแบบที่จะทำให้บ้านเมืองดำเนินการผ่านไปได้
และอีกข้อหนึ่ง การที่จะ ที่บอกว่ามีการยุบสภาฯ และต้องเลือกตั้งภายใน 30 วัน
ถูกต้องหรือไม่ ไม่พูดถึง ถ้าไม่ถูก ก็จะต้องแก้ไข ก็อาจจะให้การเลือกตั้งนี้เป็น
โมฆะหรือไม่ ซึ่งท่านก็จะมีสิทธิที่จะบอกว่า อะไรที่ควร ที่ไม่ควร ไม่ได้ว่าบอกว่า
รัฐบาลไม่ดี แต่ว่าเท่าที่เราดู มันเป็นไปไม่ได้ คือการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย
เลือกตั้งพรรคเดียว เบอร์เดียว ไม่ใช่ทั่วไป มีคนที่สมัครเลือกตั้งคนเดียว มัน
เป็นไปไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องประชาธิปไตย ไม่เป็นประชาธิปไตย ท่านต้องดูเกี่ยวกับว่า
เรื่องของการปกครอง ตรงนี้ขอฝาก อย่างดีที่สุดถ้าท่านทำไม่ได้ ท่านลาออก ท่านเอง ไม่ใช่
รัฐบาลลาออก ท่านเองต้องลาออก ทำไม่ได้ เมื่อกี้ที่ปฏิญาณ นึกดูดีๆ จะเป็นการไม่ได้ทำตาม
ที่ปฏิญาณ
ตั้งแต่วิทยุเมื่อเช้านี้ กรณีที่นพพิตำ กรณีที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช นั่นไม่ใช่
แห่งเดียว ไม่ใช่ ที่อื่นมีอีกหลายแห่ง ที่จะทำให้บ้านเมืองล่มจม บ้านเมืองไม่สามารถที่จะรอดพ้น
จากสถานการณ์ที่ไม่ถูกต้อง ก็ขอให้ท่านไปศึกษาว่าเกี่ยวข้องอย่างไร ท่านเกี่ยวข้องอย่างไร
แต่ถ้าท่านไม่เกี่ยวข้อง ท่านลาออกดีกว่า ท่านไม่ได้เป็นผู้ที่ได้รับหน้าที่ ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้
เป็นผู้ที่ต้องทำให้บ้านเมืองดำเนินไป หรือมิฉะนั้นก็ต้องไปปรึกษากัน ท่านก็เกี่ยวข้องเหมือน
กัน ก็ปรึกษากัน 4 คน ก็ท่านปรึกษากับผู้พิพากษาศาลฎีกาที่จะเข้ามาใหม่ ปรึกษากับท่าน
ก็เป็นจำนวนหลายคนที่มีความรู้ ที่ซื่อสัตย์สุจริต ที่มีหน้าที่ที่จะทำให้บ้านเมืองมีขื่อมีแป ฉะนั้น
ขอฝาก ก็ต้องไปพูดกับสมาชิกอื่นๆ ด้วย ก็จะเข้าใจ
เรื่องนี้ยุ่ง เพราะว่าถ้าไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีทางจะปกครองแบบประชาธิป
ไตยของเรามีศาลหลายชนิดมากมาย และมีสภาหลายแบบ และทุกแบบนี่จะต้อง
เข้ากันปรองดองกัน และคิดทางที่จะแก้ไขได้ พูดเรื่องนี้ค่อนข้างจะประหลาดหน่อย
จึงขอร้องอย่างนี้
ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวเขาก็บอกว่าต้องตั้งมาตรา 7
มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งขอยืนยันว่า มาตรา 7 นั้น ไม่ได้หมายถึงมอบให้
พระมหากษัตริย์มีอำนาจที่จะทำอะไรตามใจ ไม่ใช่ มาตรา 7 นั้น พูดถึงการปก
ครองแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ได้บอกว่าให้พระมหากษัตริย์ตัดสินทำ
ได้ทุกอย่าง ถ้าทำเขา จะนึกว่าพระมหากษัตริย์ทำเกินหน้าที่ ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยพูด
ไม่เคยทำเกินหน้าที่ ถ้าทำเกินหน้าที่ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย
อ้างถึงครั้งก่อนนี้ เมื่อรัฐบาลของ อ.สัญญา ธรรมศักดิ์ ตอนนั้นไม่ได้ทำเกินอำนาจ
ของพระมหากษัตริย์ ตอนนั้นมีสภา สภามีอยู่ ประธานสภา รองประธานสภามีอยู่
รองประธานสภาทำหน้าที่ และมีนายกฯ ที่สนองพระบรมราชโองการได้ตามรัฐ
ธรรมนูญในครั้งนั้น ไม่ได้หมายความว่าที่ทำครั้งนั้นผิดรัฐธรรมนูญ ตอนนั้น
ไม่ใช่นายกฯ พระราชทาน นายกฯ พระราชทานหมายความว่า ตั้งนายกฯโดยไม่มี
กฎเกณฑ์อะไรเลย ตอนนั้นมีกฎเกณฑ์ เมื่อครั้ง อ.สัญญา ได้รับตั้งเป็นนายกฯ เป็นนายกฯ
ที่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คือ รองประธานสภานิติบัญญัติ
อันนั้นไปทบทวนประวัติศาสตร์หน่อย ท่านก็เป็นผู้ใหญ่ ท่านก็ทราบ มีกฎเกณฑ์ที่รองรับ
แล้วก็งานอื่นๆ ก็มี แม้จะ ที่เรียกว่าสภาสนามม้า สภาสนามม้า แต่ไม่ผิดกฎหมาย เพราะว่า
นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองฯ นายกรัฐมนตรี อ.สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับสนองพระบรม
ราชโองการ ก็สบายใจว่าทำอะไรแบบถูกต้องตามครรลองของรัฐธรรมนูญ แต่ครั้งนี้ก็จะให้
ทำอะไรผิดรัฐธรรมนูญ ใครเป็นคนบอกก็ไม่ทราบนะ ฉะนั้นก็ขอให้ช่วยปฏิบัติอะไร คิดอะไร
ไม่ให้ผิดกฎเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นสิ่งที่เป็นอุปสรรค และมีความ
เจริญรุ่งเรืองต่อไป"
ต่อจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายชาญชัย
ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา นำผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม เฝ้าทูลละออง
ธุลีพระบาท เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ โอกาสนี้ได้มีพระราชดำรัสแก่ผู้เข้า
เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ดังต่อไปนี้
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แก่คณะผู้พิพากษาศาลฏีกา
" เมื่อก่อนนี้มีศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ ศาลอาญา เดี๋ยวนี้มีศาลหลายอย่าง ก็เรื่องนี้ก็ต้องให้
ดำเนินการไป ศาลจะเป็นผู้ทำให้บ้านเมืองปกครองแบบประชาธิปไตยได้ อย่าไปคอยที่จะ
ให้ขอนายกฯ พระราชทาน เพราะขอนายกฯ พระราชทาน ไม่ได้เป็นการปกครองแบบประ
ชาธิปไตย ข้าพเจ้ามีความเดือดร้อนมากที่เอะอะอะไรก็ขอพระราชทาน นายกฯ พระราชทาน
ซึ่งไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย ถ้าไปอ้างมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ เป็นการ
อ้างที่ผิด มันอ้างไม่ได้ มาตรา 7 ว่าอะไรที่ไม่มีในรัฐธรรมนูญ ก็ให้ปฏิบัติตามประเพณีตาม
ที่ควรทำไป ไม่มี
เขาอยากจะได้นายกฯ พระราชทานกัน ขอนายกฯ พระราชทาน ไม่ใช่เป็นเรื่องของ
นายกฯ ที่เป็นประชาธิปไตย เป็นการปกครองแบบ ขอโทษ แบบมั่ว คือแบบไม่มี
เหตุมีผล การที่ท่านเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา มีสมองที่จะใส่ สามารถที่จะไปคิดวิธี
ที่จะปฏิบัติ คือปกครองต้องมีสภาให้ครบถ้วน ถ้าไม่ครบถ้วนก็ไม่ได้ อาจจะหาวิธีที่
จะทำสภาที่มีครบถ้วน และทำงาน ก็รู้สึกว่ามั่ว ไม่ทราบ ใครจะทำมั่ว ปกครองประเทศมั่ว
ไม่ได้ คิดอะไร แบบ ทำปัดๆ ไป ให้มันเสร็จๆ ไป ถ้าไม่ได้เขาก็โยนให้พระมหากษัตริย์ทำ
ซึ่งยิ่งร้ายกว่าทำมั่ว "
" ต้องขอร้องให้ศาลคิด เดี๋ยวนี้ประชาชนประชาธิปไตยเขาหวังในศาล โดยเฉพาะศาลฎีกา
ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต มีเหตุมีผล ท่านมีความรู้ ท่านได้เรียนรู้กฎหมายมาก และพิจารณา
กฎหมายที่ ศึกษาดีๆ ถ้าไม่ทำตามหลักกฎหมาย หลักการปกครองประเทศชาติไปไม่รอด
อย่างที่บอกว่า ไม่มีสภา สมาชิกสภา 500 คน ทำงานไม่ได้ ก็ต้องเป็นปัญหา จะทำอย่างไรให้
ทำงานได้ อย่ามาขอให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ตัดสิน เพราะอาจจะว่า ต้องเดือดร้อน
แต่ว่า ในมาตรา 7 นั้น ไม่ได้บอกว่าพระมหากษัตริย์สั่งได้ ไม่มี ลองไปดู
มาตรา 7 เขาเขียนว่า ไม่มีในบทบัญญัติแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหา
กษัตริย์เป็นประมุข ไม่ได้บอกว่ามีพระมหากษัตริย์มาสั่งการได้ และก็ขอ
ยืนยันว่า ไม่เคยสั่งการอะไรที่ไม่มีกฎเกณฑ์ บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
กฎหมายซึ่งบัญญัติไว้ ทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญทุกอย่าง อย่างที่ขอให้มี
พระราชทานนายกฯ ไม่เคยมีข้อนี้ มีคนบอกว่า พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 ทำ
ตามใจชอบ มีรัฐธรรมนูญหลายฉบับ แล้วก็ทำมาหลายสิบปี ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบ
ถ้าทำตามใจชอบก็คง บ้านเมืองล่มจมไปนานแล้ว แต่ตอนนี้เขาขอให้ทำตามใจ ถ้าเขาให้
ทำตามที่เขาขอ เขาก็จะต้องด่าว่านินทาพระมหากษัตริย์ว่าทำตามใจชอบ ไม่ใช่ "
" ผู้พิพากษาศาลฎีกาเป็นสำคัญ เรามีศาลอื่นๆ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลอะไร
ไม่มีความ ข้อที่จะสำคัญมากกว่าศาลฎีกา ที่จะมีสิทธิ ที่จะตัดสิน ฉะนั้นก็ขอให้ท่านได้
เอาไปพิจารณา ไปปรึกษากับผู้พิพากษาศาลอะไรก็ดี ศาลปกครอง ศาลรัฐ
ธรรมนูญ ว่าควรจะทำอะไร และต้องรีบทำ ไม่งั้นบ้านเมืองจะต้องล่มจม กรณี
ญี่ปุ่น ที่มีเรือโดนพายุจมลงไป 4,000 เมตร ในทะเล เมืองไทยจะจมลงไปลึก
กว่า 4,000 เมตร แล้วกู้ไม่ได้ กู้ไม่ขึ้น ฉะนั้นท่านเองก็จะจมลงไป ประชาชน
ทั่วไปที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ก็จะจมลงไปในมหาสมุทร
เวลานี้เป็นเวลาที่วิกฤตที่สุดในโลก ท่านก็มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติ ปรึกษากับผู้มีความรู้ เขา
เรียกว่า กู้ชาติ เวลานี้เอะอะอะไรก็กู้ชาติ กู้อะไร เดี๋ยวนี้ชาติไม่ได้จม ฉะนั้นป้องกันไม่ให้
จม แล้วจะได้ไม่ต้องกู้ชาติ เพราะฉะนั้นต้องพิจารณาดูดีๆ ว่าจะทำอะไร ถ้าทำได้ปรึกษาหา
รือกัน จริงๆ แล้วประชาชนทั้งประเทศและประชาชนทั่วโลกจะอนุโมทนา และจะเห็นว่า
ผู้พิพากาษศาลฎีกายังมีน้ำยา เป็นคนมีความรู้ ตั้งใจที่จะกู้ชาติจริงๆ ถ้าถึงเวลา
ก็ขอขอบใจที่ทุกท่านตั้งใจจะทำหน้าที่ที่ดี บ้านเมืองก็รอดพ้น ไม่ต้องกู้ ขอบใจที่ท่านพยายาม
ปฏิบัติด้วยดี และประชาชนจะขออนุโมทนา ขอบใจแทนประชาชนทุกคนทั้งประเทศที่มีผู้
พิพากษาศาลฎีกาที่เข้มแข็ง ขอบใจที่ท่านสามารถปฏิบัติงานได้ดี มีพลานามัยแข็งแรง
ต่อสู้เพื่อความดี ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมในประเทศ ขอบใจ"