TV Online ทุกวันเวลา ๑๐.๐๐-๒๒.๐๐ น.

 ชมรมคนปลดหนี้ & ล้มบนกองฟูก
- ต้องการให้ช่วยแก้ปัญหาหนี้ ถูกทวงหนี้ นายจ้างเอาเปรียบ ถูกให้ออกจากงาน อยากล้มบนกองฟูก
- เราจะช่วยท่านปลดหนี้(ชักดาบ)ตามวิธีทางกฎหมาย

หนี้ บัตรเครดิต แก้ปัญหาหนี้ ชมรมปลดหนี้ ถูกทวงหนี้
  หน้าเว็บหลัก      หน้าหลักบอร์ด      ตั้งคำถาม      ค้นหา      สมัครเข้าชมรมคนปลดหนี้   
สมาชิกบอร์ด ออนไลน์ 23 ท่าน  
:: สมาชิกเข้าระบบ | ชื่อเข้าระบบ :: รหัสผ่าน :
:: ผู้ดูแลระบบ เฉพาะเจ้าหน้าที่ดูแลระบบเท่านั้น
ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ ย้อนกลับ | ถัดไป
  • ปวิพ.มาตรา ๒๘๙ การร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิ์ ตามปพพ.251
    การร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิ์ มาตรา ๒๘๙ ถ้าบุคคลใดชอบที่จะบังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ หรือชอบที่จะได้เงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินเหล่านั้นได้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองที่อาจบังคับได้ก็ดี หรืออาศัยอำนาจแห่งบุริมสิทธิก็ดี บุคคลนั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้เอาเงินที่ได้มานั้นชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในกรณีที่อาจบังคับเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองหลุด ผู้รับจำนองจะมีคำขอดังกล่าวข้างต้นให้เอาทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นหลุดก็ได้ ในกรณีจำนองอสังหาริมทรัพย์ หรือบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์อันได้ไปจดทะเบียนไว้นั้น ให้ยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด ส่วนในกรณีอื่น ๆ ให้ยื่นคำร้องขอเสียก่อนส่งคำบอกกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๑๙ ถ้าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เอาทรัพย์ที่จำนองหลุด การยึดทรัพย์ที่จำนองนั้นเป็นอันเพิกถอนไปในตัว ในกรณีอื่น ๆ ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะได้รับแต่เงินที่เหลือถ้าหากมี ภายหลังที่หักชำระค่าธรรมเนียมการบังคับจำนองและชำระหนี้ผู้รับจำนอง หรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2551 เจ้าหนี้จำนองยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองให้เอา เงินที่ได้มานั้นชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวบังคับจำนองก่อน เพราะไม่ใช่เรื่องฟ้องบังคับจำนองโดยตรงที่จะต้องบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2551 ป.วิ.พ. มาตรา 289 ไม่มีข้อจำกัดสิทธิของผู้รับจำนองว่าจะต้องฟ้องร้องบังคับจำนองก่อนหรือจะ ต้องเป็นเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาจึงจะขอรับชำระหนี้ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองแล้วผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนอง ย่อมยื่นคำร้องขอต่อศาลรับชำระหนี้จำนองตามมาตรา 289 ได้ การบอกกล่าวบังคับจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 ใช้สำหรับกรณีที่ผู้รับจำนองฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้ยึด ทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ในกรณีการยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ไม่ใช่การฟ้องคดีบังคับจำนองที่จะต้องยึดทรัพย์นั้นอีก ผู้ร้องอีกยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองได้โดยไม่จำต้องมีจดหมายบอกกล่าวไป ยังจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ก่อน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6116 - 6117/2550 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 734 วรรคสอง เป็นกรณีที่มีการจำนองทรัพย์หลายสิ่งเพื่อประกันหนี้รายหนึ่งรายเดียวโดยมิ ได้ระบุลำดับไว้ เมื่อผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับแก่ทรัพย์สินทั้งหมดพร้อมกันจึงแบ่งกระจาย ภาระแห่งหนี้ไปตามจำนวนเงินจำนองที่ระบุไว้เฉพาะทรัพย์สินนั้นๆ แต่ผู้ร้องมิใช่ผู้รับจำนองที่ใช้สิทธิดังกล่าว เมื่อโจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ต่อเมื่อชำระหนี้ จำนองให้แก่ผู้ร้องแล้วยังคงมีเงินเหลือจากการขายทอดตลาดเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิยกเหตุตามมาตราดังกล่าวขึ้นอ้างได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2550 ผู้ร้องอ้างว่าผู้คัดค้านมีสิทธิอยู่กึ่งหนึ่งของทรัพย์ที่โจทก์นำยึดไว้ในคดี นี้ เนื่องจากผู้คัดค้านเป็นเจ้าของรวมในที่ดินดังกล่าวร่วมกับจำเลย ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้จำนองของผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองใน กึ่งหนึ่งของทรัพย์ดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 แม้ผู้คัดค้านจะไม่ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วย แต่ก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่ผู้ร้องในฐานะเป็นบุคคลภายนอกจะใช้สิทธิของเจ้า หนี้จำนองซึ่งถือว่าเป็นบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ที่อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมายเพื่อรับชำระหนี้จำนอง ในกึ่งหนึ่งของทรัพย์ที่โจทก์นำยึดไว้ในคดีนี้ได้ ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างว่าผู้คัดค้านมีสิทธิอยู่กึ่งหนึ่งของทรัพย์ที่ โจทก์นำยึดไว้ในคดีนี้ ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้ผู้รับจำนองของผู้คัดค้านจึงขอใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 เห็นได้ว่าผู้ร้องตั้งเรื่องมาในคำร้องและระบุท้ายคำร้องชัดเจนว่าเป็นการขอ ใช้สิทธิตามมาตรา 287 เพื่อขอรับชำระหนี้จำนองในกึ่งหนึ่งของทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งสิทธิของผู้ร้องในคดีนี้ถือได้ว่าเป็นบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ที่อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์นั้นได้ตามมาตรา 287 กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตามกำหนดเวลาของมาตรา 289 วรรคสอง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3070/2550 ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองยื่นคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ขอให้เอาเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้มาชำระหนี้ผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้อื่น ถือเสมือนหนึ่งว่าผู้ร้องได้ฟ้องบังคับจำนองจำเลยนั่นเอง แม้โจทก์คัดค้านก็ไม่ถือว่าผู้ร้องฟ้องบังคับจำนองต่อโจทก์ จำเลยมีหน้าที่จะต้องใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้แทนผู้ร้อง หรือนัยหนึ่งให้ไปเรียกเอาจากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกขายทอดตลาดได้ ไม่ใช่โจทก์ต้องรับผิดเพราะโจทก์เป็นฝ่ายคัดค้านเสมอไป คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7569/2549 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพื่อใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ซึ่งวรรคสองได้กำหนดระยะเวลาไว้ให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอได้ก่อนเอาทรัพย์สิน นั้นออกขายทอด เมื่อการขายทอดตลาดครั้งแรกไม่มีผู้สนใจเข้าประมูลราคา เจ้าพนักงานบังคับคดีได้งดการขายและประกาศขายทอดตลาดใหม่ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนวันที่ประกาศขายทอดตลาดใหม่ จึงเป็นการยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์จำนองนั้นออกขายทอดตลาดตามที่กฎหมาย กำหนด การยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 มีผลเป็นการฟ้องขอให้บังคับจำนองและตาม ป.พ.พ. มาตรา 715 (1) ได้บัญญัติให้ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับดอกเบี้ย ทั้งสัญญาจำนองที่ดินก็ระบุให้ดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้ง ดังนี้ วงเงินจำนองตามที่ระบุในสัญญาจำนองหมายถึงเฉพาะหนี้เงินต้นไม่รวมถึงหนี้ ดอกเบี้ย ผู้รับจำนองมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนดอกเบี้ยที่เกินวงเงินจำนองได้แต่ หนี้จำนองเป็นเพียงอุปกรณ์ การบังคับจำนองได้เพียงใดต้องพิจารณาจากหนี้ประธานว่ามีจำนวนเท่าใด ถึงกำหนดชำระแล้วหรือไม่ และกำหนดอัตราดอกเบี้ยเท่าใด ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามที่ผู้ร้องมีสิทธิได้รับ ตามสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธาน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7569/2549 การขายทอดตลาดครั้งแรกไม่มีผู้สนใจเข้าประมูลราคา เจ้าพนักงานบังคับคดีได้งดการขายและประกาศขายทอดตลาดใหม่เป็นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544 ดังนั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองคดีนี้ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์จำนองนั้นออกขายทอดตลาดแล้ว ส่วนวันที่ 18 สิงหาคม 2543 เป็นวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศให้มีการขายทอดตลาดครั้งแรกเท่านั้น โดยไม่มีการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวจริง จะถือว่าผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคสอง หาได้ไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7050/2549 ป.พ.พ. มาตรา 251 บัญญัติว่า "ผู้ทรงบุริมสิทธิย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในการที่จะ ได้รับชำระหนี้อันค้างชำระแก่ตนจากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ โดยนัยดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้หรือบทกฎหมายอื่น" ซึ่งมีความหมายชัดเจนว่าสิทธิของผู้ทรงบุริมสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้อัน ค้างชำระแก่ตนจากทรัพย์สินนั้นได้ก่อนจะต้องอยู่ในกรอบแห่งบทบัญญัติของ กฎหมายด้วย ดังนี้ เมื่อบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ทั้งสามแปลงตามคำร้องของผู้ร้องมี บัญญัติหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะในมาตรา 288 ว่า "บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้นหากว่าเมื่อไปลงทะเบียนสัญญา ซื้อขายนั้น บอกลงทะเบียนไว้ด้วยว่าราคาหรือดอกเบี้ยในราคานั้นยังมิได้ชำระไซร้ บุริมสิทธินั้นก็คงให้ผลต่อไป" บทบัญญัติแห่งมาตรานี้จึงชี้ชัดถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งประสงค์ให้ความ เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ของผู้ร้องในกรณีนี้จะพึง ใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้นั้น ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามข้อกำหนดของกฎหมาย คือ ผู้ร้องจะต้องลงทะเบียนในขณะจดทะเบียนสัญญาซื้อขายด้วยว่า ราคาหรือดอกเบี้ยในราคาที่ยังมิได้ชำระมีเพียงใดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม แก่บุคคลภายนอกที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินประเภทนี้ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่าผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด ผู้ร้องจึงหามีสิทธิยกความเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิอันพึงจะได้รับชำระหนี้ที่ ค้างชำระแก่ตนจากที่ดินทั้งสามแปลงก่อนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ของจำเลย และได้ใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ประกอบมาตรา 278 บังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยได้ไม่ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 56597, 68579 และ 81546 ของจำเลยให้แก่ผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 คำร้องของผู้ร้องจึงเป็น "คำร้องขอ" และถือเป็น "คำฟ้อง" ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ที่ผู้ร้องอ้างว่าได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นเพื่อเรียกราคาที่ยังมิได้ รับชำระพร้อมดอกเบี้ย ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องชนะคดีได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนี้ เมื่อ "คำร้องขอ" ของผู้ร้องเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (1) (ก) ที่ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (1) (ก) ชอบแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7565/2548 คำร้องที่ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 เป็นคำร้องที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามมาตรา 7 (2) ต้องเสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302 คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น ดังนั้น ศาลที่ออกหมายบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ย่อมหมายถึงศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น ส่วนมาตรา 15 วรรคสอง มิได้บัญญัติให้ถือเสมือนหนึ่งว่าศาลที่บังคับคดีแทนเป็นศาลที่ออกหมาย บังคับคดี ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นศาลที่ออกหมาย บังคับคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องและให้ผู้ร้องไปดำเนินการที่ศาลที่มี อำนาจต่อไป มีผลเท่ากับเป็นการสั่งไม่รับหรือคืนคำร้องนั้นไปเพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขต อำนาจ จึงต้องคืนค่าคำร้องแก่ผู้ร้อง ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ค่าคำร้องเป็นพับเป็นการไม่ชอบ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4662/2548 ผู้ร้องกับโจทก์เป็นนิติบุคคลเดียวกัน แต่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งและเป็นเจ้าหนี้ต่าง รายกับโจทก์ในคดีนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ขายหรือจำหน่าย ที่ดินพิพาทที่เจ้าหนี้บังคับคดีได้ยึดไว้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 วรรคสอง และเมื่อเป็นการจำนองโดยหนังสือสัญญาฉบับเดียวกันบุริมสิทธิของผู้ร้องและ บุริมสิทธิของโจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะได้รับชำระหนี้จากที่ดิน พิพาทตามคำพิพากษาของตนรวมกันได้ไม่เกินวงเงินจำนอง แม้สิทธิของผู้ร้องมิใช่เป็นสิทธิที่จะขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายหรือ จำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาชำระหนี้ตนก่อนโจทก์ในคดีนี้ตาม มาตรา 289 วรรคหนึ่ง แต่ผู้ร้องไม่อาจยึดที่ดินจำนองพิพาทได้อีกเพราะที่ดินพิพาทของจำเลยตกอยู่ ในบังคับข้อห้ามมิให้ยึดซ้ำตามมาตรา 290 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีหนึ่งจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษา ของตนในคดีอื่นซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จะต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายสนับสนุนให้กระทำได้ดังเช่นการขอเฉลี่ยทรัพย์ หรือการขอรับชำระหนี้จำนองหรือบุริมสิทธิโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมาย บังคับคดี ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองตามคำพิพากษาเข้ามาในคดีนี้ ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4661/2548 การที่โจทก์และผู้ร้องได้ฟ้องบังคับชำระหนี้ต่างรายกันและขอให้บังคับจำนองโดย อาศัยหนังสือสัญญาจำนองฉบับเดียวกันแก่ที่ดินพิพาทเป็นคนละคดีกัน แม้ผู้ร้องกับโจทก์เป็นนิติบุคคลเดียวกัน แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งและเป็นเจ้า หนี้ต่างรายกับโจทก์ในคดีนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ขายหรือ จำหน่ายที่ดินจำนองพิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้โดยอาศัยอำนาจแห่ง การจำนองตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคสอง และเมื่อเป็นการจำนองโดยอาศัยหนังสือสัญญาฉบับเดียวกันบุริมสิทธิของผู้ร้อง และบุริมสิทธิของโจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะได้รับชำระหนี้จาก ที่ดินจำนองพิพาทตามคำพิพากษาของตนรวมกันได้ไม่เกินวงเงินจำนอง ผู้ร้องไม่อาจยึดที่ดินจำนองพิพาทได้อีกเพราะตกอยู่ในบังคับข้อห้ามมิให้ยึด ซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง และเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ของตนในคดีอื่นได้จะต้องมี บทบัญญัติของกฎหมายสนับสนุน เช่น การขอเฉลี่ยทรัพย์ หรือการขอรับชำระหนี้จำนองหรือบุริมสิทธิ โดยการยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองตามคำพิพากษาจากเงินที่ขายหรือจำหน่าย ที่ดินจำนองพิพาทร่วมกับโจทก์ในคดีนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2548 ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองยื่นคำร้องต่อศาลก่อนเอาทรัยพ์สินจำนองออกขายทอดตลาด ขอให้กันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองไว้เท่ากับภาระหนี้จำนอง ที่จำเลยมีต่อผู้ร้อง แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ร้องว่าประสงค์จะให้นำทรัพย์สินจำนองออกขายทอดตลาด โดยปลอดจำนองและนำเงินที่ได้จากการขายมาชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้องก่อน อันถือได้ว่าเป็นการขอรับชำระหนี้จำนองจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองโดยอาศัย อำนาจแห่งการจำนองซึ่งผู้ร้องมีบุริมสิทธิในการที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้า หนี้รายอื่น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าเป็นการขอกันส่วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 แต่เมื่อคำร้องของผู้ร้องต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 289 ก็ไม่ทำให้คำร้องของผู้ร้องเสียไป ศาลมีอำนาจรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7966/2547 หนี้ตามคำพิพากษาซึ่งผู้ร้องในฐานะโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดคดีนี้เมื่อมีการ จำนองเป็นประกัน แต่ผู้ร้องได้เลือกใช้สิทธิฟ้องจำเลยให้รับผิดในหนี้ที่มีประกันอย่างเจ้า หนี้สามัญ มิได้ใช้สิทธิบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินอันเป็น หลักประกันที่จำเลยจำนองไว้แก่ผู้ร้องด้วย แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องก็เพียงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้สามัญตามคำพิพากษาเท่านั้น การที่ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้จากที่ดินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ได้ยึดไว้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 289 จึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องประสงค์ จะให้ตนได้รับชำระหนี้จากที่ดินจำนองของจำเลยอันเป็นหลักประกันนอกเหนือไป จากการใช้สิทธิบังคับคดีตาม คำพิพากษาของศาลอย่างเจ้าหนี้สามัญ คำร้องที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้จำนองย่อมมีผลเป็นคำฟ้องขอให้บังคับจำนอง ซึ่งผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (1) (ค) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2547 ผู้ร้องรับสินค้าเหล็กพิพาทลงเรือลำเลียงและลากเรือลำเลียงไปลอยลำไว้ในความ ดูแลเพื่อรอคำสั่งจากโจทก์และจำเลยให้ทำการขนส่งต่อไป จึงย่อมมีสิทธิยึดหน่วงเหล็กพิพาทไว้จนกว่าจะได้รับชำระค่าระวางพาหนะและ อุปกรณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่รับสินค้าไว้ในความดูแล โดยสามารถใช้สิทธินี้ยันต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งตามใบตราส่งที่ออกไว้ สำหรับการขนส่งเหล็กพิพาทครั้งนี้ได้ การที่สินค้าเหล็กพิพาทได้ถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรอายัดและตกอยู่ภายใต้ อารักขาของเจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้มีสิทธิที่จะได้รับ เนื่องจากเป็นสินค้าที่ยังไม่ได้ดำเนินการตามพิธีการศุลกากรให้เสร็จสิ้น ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีเจตนาสละการครอบครองหรือเจตนาไม่ยึดถือเหล็กพิพาทไว้ ต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 และ มาตรา 250 เมื่อผู้ร้องยังมีสิทธิยึดหน่วงสินค้าอยู่ แม้ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีนี้ยึดเหล็กพิพาทนั้นไว้เพื่อเอาชำระหนี้ ตามคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ไม่ทำให้ สิทธิยึดหน่วงของผู้ร้องสูญสิ้นไปเช่นกัน นอกจากผู้ร้องมีสิทธิยึดหน่วงดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องยังมีบุริมสิทธิเหนือสินค้าเหล็กนี้ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 259 และมาตรา 267 สำหรับเอาค่าระวางพาหนะในการรับขน กับทั้งค่าใช้จ่ายอันเป็นอุปกรณ์และเป็นบุริมสิทธิมีอยู่เหนือของอันอยู่ใน มือของผู้ขนส่ง ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิในมูลรับขนก่อน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในมูลหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7409/2546 คำร้องขอให้บังคับจำนองของผู้ร้องซึ่งเป็นคำฟ้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลในอัตรา ร้อยละเท่าใดนั้น เป็นปัญหา ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ร้องจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้ ซึ่งเท่ากับว่าผู้ร้องมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น ผู้ร้องก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นในอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง อันเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 226 (2) และแม้ว่าผู้ร้องจะอุทธรณ์ในเรื่องค่าขึ้นศาลเพียงอย่างเดียวแต่ก็เป็นการ อุทธรณ์โดยยกเหตุว่าศาลชั้นต้นมิได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้ถูกต้องตาม กฎหมาย จึงไม่ต้องห้ามผู้ร้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 168 ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองได้ยื่นคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ซึ่งถือได้ว่าเป็นคำฟ้องบังคับจำนองแก่จำเลยนั่นเอง คดีนี้จำเลยผู้จำนองไม่ได้ให้การต่อสู้คดีหรือคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 1 (ค) ท้าย ป.วิ.พ. ในอัตราร้อยละ 1 ของจำนวนหนี้ที่เรียกร้อง แม้โจทก์จะได้ยื่นคำคัดค้านก็ถือว่าเป็นเพียงการ โต้แย้งในชั้นบังคับคดีของโจทก์เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าคำคัดค้านของโจทก์เป็นคำให้การต่อสู้คดีแทนจำเลยตามความหมาย ของตาราง 1 ข้อ 1 (ค) ท้าย ป.วิ.พ. หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2546 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2740/2546 ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นคดีนี้ โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของ จำเลยที่ถูกโจทก์ในคดีดังกล่าวยึดไว้ มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่น เพราะจำเลยจดทะเบียนจำนองประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีคดี นี้ในวงเงิน 7,000,000 บาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 คดีดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้วโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงิน เกินบัญชีเลิกเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม2529 ให้โจทก์ในฐานะผู้ร้องในคดีดังกล่าวได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญในต้น เงินไม่เกิน 7,000,000 บาท เมื่อโจทก์และจำเลยต่างเป็นคู่ความเดียวกัน คำวินิจฉัยของศาลในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันคดีนี้ตามมาตรา 145 วรรคหนึ่ง จึงต้องฟังว่า สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเลิกกันตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2529 การที่โจทก์ยื่นคำร้องในคดีก่อนขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระ หนี้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญหากมีการขายทอด ตลาดทรัพย์ที่จำนองได้เท่านั้น ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินจากการขายทอดตลาด จะนำวงเงินดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนหนี้ทั้งหมดแล้วพิพากษาในคดีนี้ให้ใน ส่วนที่คงเหลือไม่ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2715/2545 แม้เจ้าหนี้บุริมสิทธิมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เอาเงินจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้มาชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้สามัญ และมีสิทธิยื่นคำร้องให้ตนเข้าเฉลี่ยในเงินดังกล่าวในฐานะเจ้าหนี้สามัญได้ อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 และ 290 แต่ทั้งสองกรณีนี้เป็นการใช้สิทธิคนละมาตรา คนละเรื่อง และคนละประเด็นกัน เมื่อได้ความว่าหนี้ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่ผู้ร้องเป็นเพียงหนี้สามัญมิใช่หนี้บุริมสิทธิ ฉะนั้น การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลย ที่ 1 มาชำระหนี้ตนก่อนนั้น ศาลจะสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยในเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินดัง กล่าวแทนการอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ก่อนโจทก์หาได้ไม่ เพราะเป็นการพิจารณาสั่งนอกฟ้องนอกประเด็นในคดี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2545 สิทธิของผู้ร้องเป็นการได้ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 อันเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แต่สิทธิอันยังมิได้ จดทะเบียนของผู้ร้อง ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้รับจำนองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นบุคคลภาย นอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง การที่ผู้ร้องจะอ้างการได้มาของผู้ร้องขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ รับจำนอง ป.วิ.พ. มาตรา 288 ได้นั้น เมื่อบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้อยู่ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 55 เช่นนี้ ผู้ร้องจึงต้องบรรยายมาในคำร้องขอโดยชัดแจ้งให้เห็นว่ามีข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง อันเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น แต่ผู้ร้องมิได้บรรยายในคำร้องขอว่าโจทก์รับจำนองโดยไม่สุจริต จึงไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะนำพยานเข้ามาสืบเป็น ข้อต่อสู้โจทก์ในประเด็นดังกล่าวได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8900/2544 โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของจำเลยทั้งสิบสองแปลงโจทก์จึงมีหน้าที่ ต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตามมาตรา 149 แต่ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมย่อมตกอยู่แก่คู่ความที่แพ้ คดีซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วยตามมาตรา 161 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมชั้นบังคับคดีย่อมตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระ แม้โจทก์ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้วก็ตาม การบังคับคดีจึงต้องดำเนินต่อไป โจทก์มิใช่เจ้าหนี้จำนองของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่งมาตรา 289 ได้ ส่วนหากคำร้องดังกล่าวจะถือเป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290 ได้นั้น โจทก์ต้องแสดงให้ศาลเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลย แต่ตามคำร้องของโจทก์ไม่ได้ความเช่นนั้น จึงถือไม่ได้ว่าคำร้องของโจทก์เป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5378/2544 โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินของจำเลยได้จากการขายทอดตลาด และโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้งเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ด้วย การที่โจทก์ขอหักส่วนได้ใช้แทน หมายถึงการที่โจทก์มีหน้าที่ต้องวางเงินชำระ ราคาค่าซื้อที่ดินในฐานะผู้ซื้อ และโจทก์มีสิทธิรับเงินจากการขายทอดตลาดที่โจทก์นำมาวางชำระค่าที่ดินในฐานะ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์ขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาที่ต้องชำระ และศาลอนุญาต โจทก์จึงไม่ต้องนำเงินค่าที่ดินที่ต้องชำระมาวางและโจทก์ก็ไม่ต้องรับเงิน จากการขายทอดตลาดไป แต่ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ซื้อและได้ใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้ รับเงินไปแล้วนับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์หักส่วนได้ใช้แทน แม้จำเลยจะร้องคัดค้านการขายทอดตลาด โจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ แล้วไม่ได้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำบัญชีแสดง รายการรับ - จ่ายเงินก็เพื่อจะได้แบ่งเงินให้เจ้าหนี้แต่ละคน ได้รับตามส่วนโดยถูกต้อง บทบัญญัติในมาตรา 318 ถึง 322 แห่ง ป.วิ.พ. เป็นแต่เพียงวิธีการที่กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการในการจ่ายเงิน ให้เจ้าหนี้เท่านั้น ซึ่งเมื่อจ่ายเงินไปครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว ก็ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง โจทก์นำยึดที่ดินของจำเลยเพิ่ม เนื่องจากบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน ของเจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณ ไม่ถูกต้อง ส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลย เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้จ่ายให้โจทก์รับไปตามหนี้จำนองที่โจทก์มีอยู่ เหนือที่ดินที่ขายทอดตลาดดังกล่าวครบถ้วนตามหนี้จำนองและเงินส่วนที่เหลือ ได้คืนให้จำเลย รับไปแล้ว เมื่อกรณียังไม่เป็นการแน่ชัดว่า เมื่อขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ยังมีหนี้เหลือ ที่โจทก์จะได้รับชำระอีกหรือไม่ เพียงใด ศาลฎีกาเห็นควรให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินใหม่ทั้งหมดและคำนวณดอกเบี้ยใหม่ให้ถูกต้อง หากปรากฏว่ามีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกก็ให้โจทก์บังคับคดีจาก ที่ดินของจำเลยที่ยึดไว้เท่าที่พอจะชำระหนี้ต่อไป แต่ถ้าการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยพอชำระหนี้โจทก์พร้อม ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีแล้ว ก็ให้จ่ายเงินให้โจทก์และจำเลยตามสิทธิของแต่ละฝ่าย และเพิกถอนการยึดที่ดินของจำเลยที่โจทก์นำยึดเพิ่มต่อไป คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2543 ศาลพิพากษากำหนดให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมโดย จำกัดความผิดของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไว้ โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลย คนใดคนหนึ่งชำระหนี้โดยสิ้นเชิงภายในวงเงินที่ต้องรับผิดหรือแต่โดยส่วน ก็ได้ตามแต่จะเลือก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 เมื่อจำเลยทั้งเจ็ดไม่ชำระหนี้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะ ร้องขอให้บังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งเจ็ดให้เพียงพอที่ จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดี และ ค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 284 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ขอยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 เพิ่มเติม ซึ่งไม่ติดจำนองโจทก์ แต่ติดจำนองผู้ร้อง และศาลชั้นต้นอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องดำเนินการขายทรัพย์ที่ติดจำนอง ให้ครบถ้วนก่อน หากได้เงินจำนวนเพียงพอที่จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อีกต่อไป โจทก์ต้องถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 โดยเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขาย จึงไม่เป็นการนำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชา ธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2543 แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองไม่ได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์พิพาทออกขายทอดตลาด ก็หาเป็นเหตุให้ผู้ร้องหมดสิทธิในฐานะผู้รับจำนองไปไม่เพราะการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนอง ซึ่งอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์พิพาทได้ ฉะนั้น เมื่อเอาทรัพย์พิพาทขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองตามความประสงค์ของผู้ร้อง และผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อจากขายทอดตลาดได้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นรวมทั้งโจทก์ด้วย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1597/2542 ในวันที่จำเลยจดทะเบียนจำนองทรัพย์พิพาทไว้แก่ผู้ร้อง ส. มีหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีกับผู้ร้องอยู่ก่อนแล้ว ดังนี้แม้ ส. จะขอต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีออกไปโดยมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดก็ตาม แต่หลังจากครบกำหนดดังกล่าวแล้วผู้ร้องและ ส. ยังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ทั้งปรากฏว่าผู้ร้องยังมิได้บอกเลิกสัญญาและยังให้บัญชีเดินสะพัดเดินต่อไป จึงเห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัดเมื่อหนี้ตามสัญญาเบิกเงิน เกินบัญชีระหว่าง ส. กับผู้ร้องยังไม่ถึงกำหนดชำระ ผู้ร้องจึงไม่อาจอาศัยอำนาจแห่งการจำนอง บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5881/2541 หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ผู้ร้องได้จดทะเบียนรับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันเงิน ที่จำเลยกู้ไปจาก ผู้ร้อง โดยก่อนที่ผู้ร้องจะมีการรับจำนองที่ดินพิพาท พร้อมสิ่งปลูกสร้างจำเลยแจ้งผู้ร้องให้ทราบเรื่องที่จำเลยถูกโจทก์ ฟ้องเรียกเงินกู้ และศาลมีคำสั่งบังคับคดีแล้ว เมื่อการจำนอง ระหว่างจำเลยกับผู้ร้องได้ร่วมกันกระทำขึ้นทั้งที่รู้อยู่ว่า จะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลย เสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ผู้ร้อง จึงไม่อาจที่จะขอรับชำระหนี้ก่อนโจทก์ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7772/2540 โฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อ ท. ภริยาจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ในเบื้องต้น ท. ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว เมื่อโจทก์คัดค้านว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. โจทก์จึงต้องมีหน้าที่นำสืบให้เห็นตามข้อกล่าวอ้าง ท.ภริยาจำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดพิพาทไว้แก่ผู้ร้อง โดยผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองไม่ทราบว่า จำเลยมี ส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทอยู่ครึ่งหนึ่งผู้ร้องจึงมิได้ให้ท.นำจำเลยมาให้ ความยินยอมในการทำนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทตามระเบียบ และเมื่อโจทก์มิได้สืบพิสูจน์ให้เห็นว่า ผู้ร้องรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยไม่สุจริตจึงต้องถือว่าผู้ร้องรับจำนองโดย สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ดังนี้ การจำนองดังกล่าวจึงสมบูรณ์และมีผลผูกพันที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์จำนอง ทั้งหมดทุกส่วน ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้จำนองจากที่ดินโฉนดพิพาททั้งหมดก่อนเจ้าหนี้อื่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3475/2540 โจทก์และผู้ร้องต่างก็เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอันถึงที่สุด โดยศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ ส.ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างที่ ส.ทำไว้กับโจทก์ และชำระหนี้ที่ ส.กู้ยืมไปจากผู้ร้องให้แก่ผู้ร้อง หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์ที่ ส.จำนองไว้เป็นประกันหนี้ผู้ร้องออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้ร้อง ได้ จำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์และผู้ร้อง โจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ที่ ส.จำนองไว้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นมรดกของ ส.เพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์ ผู้ร้องเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาจ้างที่ส.ทำไว้กับโจทก์บางส่วน แต่ได้ชำระให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนี้ เมื่อผู้ร้องเป็นผู้รับจำนองและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่อาจบังคับคดีได้ ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนโจทก์ซึ่งเป็น เจ้าหนี้สามัญ ตาม ป.พ.พ.มาตรา702 วรรคสอง และ ป.วิ.พ.มาตรา 289 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองตามคำพิพากษาก่อนโจทก์ แม้ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับ ส.อันเป็นมูลหนี้ในคดีนี้จะมีผู้ร้องเป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งผู้ร้องทราบดีว่า หาก ส.ผิดสัญญาต่อโจทก์ โจทก์ต้องบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของ ส.ก็ตาม ก็มิใช่เหตุที่จะทำให้สิทธิในการขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่นของผู้ ร้องเสียไป คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9722/2539 เงินที่จำเลยฝากตกเป็นของธนาคารผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับฝากแล้ว ผู้ร้องคงมีหน้าที่แต่คืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น การที่จำเลยตกลงมอบเงินฝากพร้อมสมุดบัญชีฝากประจำไว้แก่ผู้ร้องโดยใช้ข้อความว่าเป็นการจำนำ ก็เพียงเพื่อประกันหนี้ที่จำเลยจะพึงมีต่อผู้ร้อง แม้จะตกลงยินยอมให้ผู้ร้องนำเงินจากบัญชีดังกล่าวมาชำระหนี้โดยไม่ ต้องบอกกล่าวหาทำให้ตัวเงินตามจำนวนในบัญชีเงินฝากยังเป็นของจำเลยอันผู้ ร้องจะยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ไม่ และโดยสภาพแล้วสิทธิการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากย่อมไม่อาจส่งมอบแก่กันได้อย่างสิทธิซึ่งมีตราสาร ความตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการจำนำเงินฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747 และการที่จำเลยมอบใบรับฝากประจำให้ผู้ร้องยึดถือไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลย ก็มิใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 750 ผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าหนี้ บุริมสิทธิจากการจำนำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5530/2539 การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอต่อศาลในคดีแพ่งเรื่องอื่นให้เอาเงินที่ได้จากการขาย ทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยซึ่งจดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ก่อนเจ้าหนี้อื่นๆย่อมเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยบุริมสิทธิของ เจ้าหนี้ผู้รับจำนองด้วยวิธีการเป็นพิเศษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา289ดังนั้นคู่ความในคดีดังกล่าวกับคดีนี้จึงเป็น คู่ความรายเดียวกันและเมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ได้รับชำระ หนี้ในคดีดังกล่าวก่อนเจ้าหนี้อื่นนั้นถึงที่สุดแล้วและมูลหนี้กับหลัก ประกันคือสัญญาจำนองที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้ก็เป็นประเด็นที่ศาลจะต้อง วินิจฉัยชี้ขาดโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคำร้องขอของโจทก์ในคดีดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามมาตรา148 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2539 ผู้ร้องเป็นผู้รับจำนองตึกแถวพิพาทไว้จากจำเลยชอบที่จะใช้สิทธิเพื่อให้ตนได้ รับชำระหนี้จากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้สามัญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่งมาตรา 289 วรรคแรก เท่านั้น แต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ตึกแถวพิพาทซึ่งจำเลยปลูกอยู่ใช้ สิทธิบังคับคดีขับไล่จำเลยให้รื้อถอนตึกแถวดังกล่าวออกไปย่อมไม่มีข้อโต้ แย้งเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับผู้ร้องหรือผู้ร้องเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียใน วิธีการบังคับคดีอันเกี่ยวกับตึกแถวพิพาท ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ถอนการยึดและระงับการรื้อถอนตึกแถวพิพาท

    โดย : Administrator วัน-เวลา : 13 พฤษภาคม 2557 | 17:51:40   From ip : 171.7.141.136

     ความคิดเห็นที่ : 1
  • การงดการบังคับคดี ( มาตรา 292 ) หลัก 1. กรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องงดการบังคับคดี 1.1.ลูกหนี้ตามคำพิพากษาขอให้พิจารณาใหม่ 1.2.ศาลมีคำสั่งให้งดการบังคับคดี 1.3.เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตกลงงดการบังคับคดี 1.4.เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่วางเงินค่าใช้จ่าย ตาม ม.154 2. ศาลที่ได้รับมอบหมายให้บังคับคดีแทน ไม่มีอำนาจสั่งให้งดการบังคับคดี 3. การขอให้งดการบังคับคดี - หมายถึง ให้งดการบังคับคดีที่ยังไม่ได้กระทำเท่านั้น จะให้งดการบังคับคดีที่ได้ปฏิบัติมาแล้วไม่ได้ 4. คู่ความจะนำข้อตกลงนอกศาลมาเป็นเหตุให้ศาลงดการบังคับคดีไม่ได้ 5. คำสั่งให้งดการบังคับคดีตาม ม.292 อุทธรณ์ฏีกาได้ และไม่ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา - จำเลยของดการบังคับคดีโดยอ้างว่ามีการชำระหนี้นอกศาลทั้งก่อนฟ้องและหลังจากศาลมีคำพิพากษาคดี ซึ่งศาลไม่รับฟังมาเป็นเหตุแห่งการงดการบังคับคดี แต่เนื่องจากโจทก์ได้ยอมรับว่ามีการชำระหนี้ภายหลังศาลมีคำพิพากษาจริง แต่เป็นเงินบางส่วนไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา อันจะเป็นเหตุให้ศาลงดการบังคับคดีได้ ( ฏ.1652 / 2547 , 1723/2546 ) ดูในลิ้งนี้ http://www.lawsiam.com/?name=webboard&file=read&id=1589http://www.lawsiam.com/?name=webboard&file=read&id=1589

    โดย : Administrator  วัน - เวลา : พุธ 14 พฤษภาคม 2557 | 12:47:58   From ip : 115.87.211.64

    ร่วมแสดงความคิดเห็น
    ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
    อีเมลล์ (E-mail) :
    แสดงความคิดเห็น :
    ภาพประกอบ :




    ** สูงสุด 6 ภาพ ต่อการโพส 1 ครั้งคะ ใช้ภาพที่เป็นสกุล .jpg, .gif, .png นะคะ ชื่อไฟล์ขอเป็นภาษาอังกฤษนะคะ

    รหัสอ้างอิง :

      


    http://www.thailawyer.net/ ให้คุณมากกว่าที่คุณคิด