TV Online ทุกวันเวลา ๑๐.๐๐-๒๒.๐๐ น.

 ชมรมคนปลดหนี้ & ล้มบนกองฟูก
- ต้องการให้ช่วยแก้ปัญหาหนี้ ถูกทวงหนี้ นายจ้างเอาเปรียบ ถูกให้ออกจากงาน อยากล้มบนกองฟูก
- เราจะช่วยท่านปลดหนี้(ชักดาบ)ตามวิธีทางกฎหมาย

หนี้ บัตรเครดิต แก้ปัญหาหนี้ ชมรมปลดหนี้ ถูกทวงหนี้
  หน้าเว็บหลัก      หน้าหลักบอร์ด      ตั้งคำถาม      ค้นหา      สมัครเข้าชมรมคนปลดหนี้   
สมาชิกบอร์ด ออนไลน์ 23 ท่าน  
:: สมาชิกเข้าระบบ | ชื่อเข้าระบบ :: รหัสผ่าน :
:: ผู้ดูแลระบบ เฉพาะเจ้าหน้าที่ดูแลระบบเท่านั้น
ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ ย้อนกลับ | ถัดไป
  • โทรทวงหนี้ข่มขู่ “หากผู้เสียหายไม่ยอมชำระหนี้ให้ ผู้เสียหายกับบุตรภรรยาจะเดือดร้อนเพราะอายุยังน้อย” ฎีกา 1199/2553 ผิดฐานกรรโชค
    ฎีกา 1199/2553..... ถ้อยคำที่กลุ่มจำเลยทั้ง 5 โทรศัพท์มาทวงหนี้จากผู้เสียหายที่ว่า “หากผู้เสียหายไม่ยอมชำระหนี้ให้ ผู้เสียหายกับบุตรภรรยาจะเดือดร้อนเพราะอายุยังน้อย” เป็นถ้อยคำที่สามัญชนทั่วไปย่อมทราบและตีความได้ว่าเป็นคำพูดข่มขู่ว่าหากไม่ชำระหนี้ให้แล้วผู้เสียหายกับครอบครัวอาจถูกทำร้ายให้ได้รับความเดือดร้อนและเป็นอันตรายได้ถือได้ว่าเป็นการขู่เข็ญผู้เสียหายให้ต้องยินยอมชำระหนี้ให้แก่กลุ่มจำเลยทั้งห้า ตามที่เรียกร้อง ผู้เสียหายเดินไปสถานที่นัดหมายตามคำขู่มิได้ไปด้วยความสมัครใจการที่ผู้เสียหายแวะปรึกษาหรือแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ทราบถึงเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นแก่ตนและครอบครัวเป็นการแจ้งเพื่อขอความคุ้มครองจากเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ประชาชนพึงกระทำกันตามปกติไม่ใช่ผู้เสียหายไม่เกิดความกลัวและไม่ยอมทำตามการขู่เข็ญ การกระทำของจำเลยทั้ง 5 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันกรรโชกสำเร็จแล้วไม่ใช่อยู่ในขั้นพยายาม

    โดย : Administrator วัน-เวลา : 2 กันยายน 2557 | 15:52:40   From ip : 171.6.154.50

     ความคิดเห็นที่ : 1
  • คสช.เร่งคลอด‘ก.ม.ทวงหนี้’ห้ามประจาน คสช.เร่งคลอด‘ก.ม.ทวงหนี้’...ห้ามประจาน : โดยข่าวรายงานพิเศษ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สั่งให้เตรียมนำร่างกฎหมายเร่งด่วน 10 ฉบับ เข้าที่ประชุมตามคำสั่งของ คสช. โดยหนึ่งในนั้นคือ "ก.ม.ทวงถามหนี้" หรือ "ร่างพระราชบัญญัติ การติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม พ.ศ...." สร้างความดีใจให้แก่ลูกหนี้จำนวนมาก โดยเฉพาะลูกหนี้บัตรเครดิตซึ่งถูกแก๊งทวงหนี้ข่มขู่คุกคามเช้า เที่ยง เย็น ! ข้อมูลจาก "ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน" (ศคง.) ระบุว่า ปี 2556 ปัญหาที่ประชาชนร้องเรียนเข้ามามากถึงร้อยละ 20 คือ พฤติกรรมทวงหนี้ไม่เหมาะสม โดยร้องเรียนเพิ่มขึ้นทุกไตรมาส เช่น พูดจาข่มขู่ โทรศัพท์ทวงในเวลาส่วนตัว เปิดเผยชื่อให้ลูกหนี้ให้คนอื่นทราบ ใช้คำพูดดูหมิ่น เสียดสี ฯลฯ พฤติกรรมการทวงหนี้แบบนี้สร้างความทุกข์ใจให้แก่ลูกหนี้อย่างมาก บางรายถึงกับตัดสินใจปลิดชีวิตตัวเองหรือคนในครอบครัว เช่น กรณีของหญิงรายหนึ่งที่อ่างทอง เกิดความเครียดจากภาวะหนี้บัตรเครดิตจนเกิดอารมณ์ชั่ววูบ ใช้ปืนยิงลูกสาวของตัวเองจนเสียชีวิต และพยายามจะยิงตัวเองด้วยแต่กระสุนพลาดเป้า เมื่อเจ้าหน้าที่สอบสวนรายละเอียดถึงรู้ว่า ลูกสาวก่อหนี้บัตรเครดิตไว้กว่า 5 แสนบาท หญิงรายนี้พยายามไปกู้เงินมาใช้หนี้จนหมด แต่สุดท้ายก็พบว่ายังมีหนี้เหลืออีกเกือบ 5 แสนบาท จึงเกิดอารมณ์แค้นและเครียดเพราะหนี้สินเหล่านี้... "ชูชาติ บุญยงยศ" ประธานชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล วิเคราะห์ให้ฟังว่า บัตรเครดิตนั้นมีหลายรูปแบบ แต่แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มบัตรเครดิตของธนาคาร และกลุ่มไม่ใช่ธนาคาร หรือที่เรียกกันว่า บัตรสินเชื่อ เช่น บัตรอีออน บัตรเฟิร์สช้อยส์ หรือบัตรที่บริษัทต่างๆ ออกมาเพื่อให้ผ่อนซื้อสินค้าโดยเฉพาะ เมื่อเจ้าของบัตรไม่สามารถชำระหนี้ได้ ขบวนการทวงหนี้บัตรเครดิตจะเข้ามาจัดการ โดยวางแผนทำงานอย่างเป็นขั้นตอน เริ่มจากขั้นที่ 1 ผู้ทวงหนี้คือ "พนักงานทวงหนี้" ในสังกัดของธนาคารหรือบริษัทเจ้าของบัตรเครดิต จะกำหนดเวลาให้ประมาณ 2 เดือน หากโทรศัพท์ทวง ส่งจดหมายทวงหนี้แล้วไม่สำเร็จ ขั้นต่อไปจะส่งต่อให้เครือข่าย "สำนักงานทนายความ" แบบที่เห็นประกาศทั่วไปในหนังสือพิมพ์ มีข้อความว่า รับจ้างทวงหนี้ค้าง ติดตามลูกหนี้ ฯลฯ วิธีการที่ใช้คือส่งจดหมายจากทนายความไปทวงหนี้ที่บ้านและที่ทำงาน ทำให้อับอาย มีการใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ ทำให้เข้าใจว่าเป็นการกระทำของศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยไม่เป็นความจริง หรือมีข้อความทำให้เชื่อว่าอาจจะถูกยึดทรัพย์หรืออายัดเงินเดือน โดยขั้น 2 จะมีเวลากำหนดให้ไม่เกิน 2-3 เดือนเช่นกัน หากยังไม่สามารถตามหนี้ได้ครบ ต้องส่งต่อให้ขั้นตอนสุดท้าย นั่นคือ "แก๊งเร่งรัดหนี้สิน" "แก๊งสุดท้ายจะโหดสุด เพราะผู้จ้างให้ค่าตอบแทนสูงถึงร้อยละ 20 ของเงินที่ทวงมาได้ พวกนี้จ้างนักเลงมาทวงหนี้ ไม่ได้ทวงแค่เจ้าตัวเท่านั้น แต่ทวงไปถึงพ่อแม่พี่น้อง คนในครอบครัว รวมถึงเพื่อนร่วมงานด้วย เหมือนเป็นการแฉลูกหนี้ บางครั้งโทรเข้าที่ทำงานขอสายผู้จัดการฝ่ายบุคคล บางรายใช้คำพูดหยาบคาย หรือโทรทุกๆ 5 นาที 10 นาที โทรเข้าเบอร์บ้านตีสอง ตีสาม ไม่ต้องหลับต้องนอนกันทั้งบ้าน" "ชูชาติ" เห็นด้วยที่กฎหมายฉบับนี้ต้องรีบประกาศใช้ เพราะเนื้อหาหลักมี 3 ส่วนจะช่วยคุ้มครองลูกหนี้มากขึ้น คือ ห้ามไม่ให้ข่มขู่-คุกคาม หรือดูหมิ่นเสียดสี ใครทำผิดมีโทษปรับสูงถึง 3 แสนบาท จำคุก 3 ปี ส่วนที่ 2 ห้ามไม่ให้โทรศัพท์ทวงหนี้วันธรรมดาในเวลาดึกๆ กำหนดให้โทรได้แค่ 8 โมงเช้าถึง 2 ทุ่ม และในวันหยุดราชการห้ามโทรหลัง 6 โมงเย็น พร้อมระบุโทษปรับ 1 แสนบาท จำคุก 1 ปี และส่วนสุดท้าย คือ ให้บริษัทหรือผู้ทำธุรกิจติดตามทวงหนี้ต้องขึ้นทะเบียน "อยากเสนอให้เพิ่มเติม คือ ต้องมีการลงโทษเอาผิดไปถึงผู้ว่าจ้างด้วย หมายถึงสถาบันการเงิน ธนาคาร หรือ บริษัทเจ้าของบัตรเครดิตต่างๆ ที่ว่าจ้างแก๊งทวงหนี้เหล่านี้ ไม่เช่นนั้น สุดท้ายตำรวจจะจับได้แต่พวกนักเลงหัวไม้ ที่จ้างมาวันละไม่กี่พันบาท การลงโทษธนาคารเหล่านี้ อาจใช้วิธีออกใบเหลืองก่อนเพื่อเตือน และถ้ายังทำผิดอีกค่อยออกใบแดง และใครที่ไปทวงหนี้ต้องมีหลักฐานแสดงให้ลูกหนี้เห็นชัดเจนเลยว่า เป็นทีมทวงหนี้มาจากบริษัทไหน ใครในธนาคารเป็นผู้ลงนามให้ทวงหนี้" ประธานชมรมหนี้บัตรเครดิตฯ กล่าว ทั้งนี้ ข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ปัจจุบันลูกหนี้บัตรเครดิตยังไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากยอดเงินบริษัทบัตรเครดิตนั้น จะคิดดอกเบี้ยจากยอดเงินกู้ทั้งหมด ไม่ได้คิดจากยอดเงินที่เหลือค้างจ่าย นอกจากนี้ตลาดธุรกิจบัตรเครดิตแข่งขันสูง ต้องการลูกค้าจำนวนมาก ทำให้คนหนึ่งมีบัตรเครดิตได้หลายใบ เมื่อรูดบัตรจ่ายเต็มยอดวงเงิน ก็จะรูดใบอื่นแทนทำให้ไม่สามารถผ่อนจ่ายได้ เกิดปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนสูง จึงมีข้อเสนอให้กำหนดการถือครองบัตรเครดิตไม่เกิน 3 ใบ ปัจจุบันยอดหนี้บัตรเครดิตไตรมาสแรก 2557 มีประมาณ 2.7 แสนล้านบาท จากจำนวนบัญชี 19 ล้านบัญชี เฉพาะธนาคารกรุงไทยมีบัตรเครดิตจำนวน 1.57 ล้านบัตร ยอดลูกหนี้บัตรเครดิตสุทธิ 3.3 หมื่นล้านบาท ช่วงที่ผ่านมามีข้อร้องเรียนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวนมาก ส่วนใหญ่ผู้บริโภคเดือดร้อนอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตที่คิดอัตราสูง และมีวิธีการคำนวณดอกเบี้ยไม่เป็นธรรม หรือบางรายใช้บัตรเครดิตในต่างประเทศแล้วเจออัตราแลกเปลี่ยนสูง ยิ่งไปกว่านั้นยังโดนคิดค่าธรรมเนียมติดตามหนี้สินด้วย "ทัศนีย์ ใจการุณ" อดีตประธานชมรมปฏิรูปสิทธิลูกหนี้ เล่าว่า ลูกหนี้บัตรเครดิตจ่ายเงินไม่ไหวเพราะส่วนใหญ่เป็นค่าดอกเบี้ยที่สูงมาก บางรายค้างหนี้เพียงแค่ 3 เดือน เจอดอกเบี้ยเกือบจะเท่าเงินต้นแล้ว เพราะการคิดดอกเบี้ยจะนับย้อนหลังไปยังวันที่กู้วันแรก ถือว่าไม่ยุติธรรม ควรนับแค่วันค้างจ่ายหนี้เท่านั้น "ทุกอย่างแบงก์ชาติเป็นคนกำหนด แต่สถาบันการเงินทำตามหรือไม่ ไม่มีใครไปตรวจสอบ พวกนี้ในสัญญาชอบเขียนเป็นตัวอักษรเล็กๆ ไม่ยอมอธิบายให้ลูกหนี้เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น บางแห่งเอาผิดไปถึงคนค้ำประกัน พวกนี้อยากให้เราเป็นหนี้นานๆ จะได้ดอกเบี้ยเยอะๆ ต้องแก้ไขให้ระบบทวงหนี้เหมือนต่างประเทศ เขากำหนดไปเลยว่าหากผิดชำระหนี้กี่เดือนต้องรีบเร่งรัดให้จ่าย หรือฟ้องศาลตามกติกา ไม่ใช่ปล่อยไว้จนดอกเบี้ยเยอะๆ โดยเฉพาะคนกู้เงินแล้วมีหลักทรัพย์ไปค้ำประกัน ธนาคารต้องรีบฟ้องคดีหรือขายหลักทรัพย์จ่ายหนี้ ก่อนมูลค่าหนี้จะเกิน หลายคนขายทุกอย่างแล้วจ่ายได้แค่ดอกเบี้ย" ทัศนีย์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ตนกำลังจะไปสมัครเป็น "สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ" ด้านเศรษฐกิจ เพื่อช่วยผลักดันปัญหาเรื่องหนี้สินของผู้บริโภค ซึ่งไม่เคยได้รับความเป็นธรรม เหมือนร่าง พ.ร.บ.ทวงหนี้ ฉบับนี้ก็ยังไม่สมบูรณ์หลายจุด เนื่องจากคนร่างเป็นเจ้าหนี้ไม่ใช่ลูกหนี้... ------------------------ (หมายเหตุ : คสช.เร่งคลอด‘ก.ม.ทวงหนี้’...ห้ามประจานทีม โดยข่าวรายงานพิเศษ) http://www.komchadluek.net/detail/20140827/190900.html

    โดย : Administrator  วัน - เวลา : ศุกร์ 19 ธันวาคม 2557 | 13:36:57   From ip : 171.7.70.72

    ร่วมแสดงความคิดเห็น
    ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
    อีเมลล์ (E-mail) :
    แสดงความคิดเห็น :
    ภาพประกอบ :




    ** สูงสุด 6 ภาพ ต่อการโพส 1 ครั้งคะ ใช้ภาพที่เป็นสกุล .jpg, .gif, .png นะคะ ชื่อไฟล์ขอเป็นภาษาอังกฤษนะคะ

    รหัสอ้างอิง :

      


    http://www.thailawyer.net/ ให้คุณมากกว่าที่คุณคิด