ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ |
ย้อนกลับ
|
ถัดไป
|
|
|
บุคคลภายนอกขอรับชำระหนี้หรือบุริมสิทธิ ในทางแพ่งเจ้าหนี้มี 2 ประเภทคือ 1) เจ้าหนี้สามัญ 2) เจ้าหนี้บุริมสิทธิ
|
บุคคลภายนอกขอรับชำระหนี้หรือบุริมสิทธิ
ในทางแพ่งเจ้าหนี้มี 2 ประเภทคือ
1) เจ้าหนี้สามัญ
2) เจ้าหนี้บุริมสิทธิ
-เจ้าหนี้สามัญ ถ้าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ก็จะมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเสมอภาคกัน ถ้าไม่พอชำระหนี้ก็ต้องเฉลี่ยกันตามมาตรา 290
-เจ้าหนี้บุริมสิทธิตามกม.จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญตามมาตรา 289
ปวิพ.มาตรา 289 ถ้าบุคคลใดชอบที่จะบังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ หรือชอบที่จะได้เงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินเหล่านั้นได้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองที่อาจบังคับได้ก็ดี หรืออาศัยอำนาจแห่งบุริมสิทธิก็ดี บุคคลนั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้เอาเงินที่ได้มานั้นชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในกรณีที่อาจบังคับเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองหลุด ผู้รับจำนองจะมีคำขอดังกล่าวข้างต้นให้เอาทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นหลุดก็ได้
ในกรณีจำนองอสังหาริมทรัพย์ หรือบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์อันได้ไปจดทะเบียนไว้นั้น ให้ยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด ส่วนในกรณีอื่นๆ ให้ยื่นคำร้องขอเสียก่อนส่งคำบอกกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 319
ถ้าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เอาทรัพย์ที่จำนองหลุดการยึดทรัพย์ที่จำนองนั้นเป็นอันเพิกถอนไปในตัว ในกรณีอื่นๆ
ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะได้รับแต่เงินที่เหลือ ถ้าหากมี ภายหลังที่หักชำระค่าธรรมเนียมการบังคับจำนองและชำระหนี้ผู้รับจำนอง หรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิแล้ว
ปวิพ.มาตรา 289 เป็นกรณีที่เจ้าหนี้จำนองหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิขอใช้สิทธิของตนให้ได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญ
ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญได้แก่
1) ผู้จำนอง
2) ผู้ทรงบุริมสิทธิ
ซึ่งทั้งสองประเภทกม.ส่วนสาระบัญญัติกำหนดให้ได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญ
1) ผู้รับจำนองดู ปพพ.มาตรา 702 วรรคท้าย ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญเช่น
ก.เป็นหนี้ค่าสินค้า ข. จำนวน 500,000 บาท ก.เป็นหนี้เงินกู้ ค. จำนวน 500,000 บาท โดยมีที่ดินจำนองเป็นประกัน ข.ฟ้อง ก.ให้ชำระหนี้ค่าสินค้า ศาลได้พิพากษาแล้ว ข.นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินจำนอง ค.มีสิทธิยื่นคำร้องขออว่าถ้าขายทอดตลาดที่ดินได้ต้องนำเงินมาชำระหนี้ ค.ก่อน ถ้าขายได้ 500,000 บาท ต้องชำระหนี้ให้ ค.ทั้ง 500,000 บาท จะเห็นได้ว่าผู้รับจำนองจะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญ
ผู้รับจำนองจะมายื่นคำร้อขอให้ชำระหนี้ก่อน
ถามว่า ผู้รับจำนองจะขอตามมาตรา 289 ได้ทุกกรณีหรอไม่
ตอบ ไม่ได้ทุกกรณีเพราะตามมาตรา 289 เขียนคำหนึ่งว่า โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองที่อาจบังคับได้ คือหนี้ที่จำนองต้องถึงกำหนดชำระก่อน ถ้าไม่ถึงกำหนด จะร้องขอตามมาตรา 289 ไม่ได้
แต่สิทธิของผู้รับจำนองก็ไม่กระทบกระเทือนแต่อย่างใดเพราะจำนองเป็นทรัพยสิทธิติดไปกับทรัพย์ การบังคับคดีจึงไม่กระทบต่อสิทธิของบุคคลภายนอกตามมาตรา 287 จำนองยังติดไปกับทรัพย์ ผู้ซื้อต้องรับจำนองไปด้วย
กลุ่มคำพิพากษาที่ตัดสินว่า ผู้รับจำนองจะมีสิทธิตามมาตรา 289 ได้ต่อเมื่อหนี้จำนองต้องถึงกำหนดแล้วเท่านั้น (ฎ.1597/2542,3575/2534,1759/2530)
2) ผู้ทรงบุริมสิทธิ
ปพพ.มาตรา 251 ผู้ทรงบุริมสิทธิย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้อันค้างชำระแก่ตน จากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ โดยนัยดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ หรือบทกฎหมายอื่น
ผู้ทรงบุริมสิทธิมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา คำพิพากษาบังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้ ถ้าบุคคลภายนอกมีบุริมสิทธิ ก็มีสิทธิยื่นคำร้อง เมื่อขายทอดตลาดได้เงินก็นำมาชำระแก่ผู้จำนองหรือผู้ทรงบุริมสิทธิ
ปัญหา มาตรา 289 เขียนไว้เฉพาะเรื่องจำนอง แต่ไม่ได้พูดถึงการจำนำเลยถามว่าผู้รับจำนำ จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญหรือไม่ กม.เรื่องจำนำไม่ได้เขียนเรื่องนี้ไว้ แต่ให้ดูปพพ.มาตรา 282 ประกอบ
มาตรา 282 เมื่อมีบุริมสิทธิแย้งกับสิทธิจำนำสังหาริมทรัพย์ ท่านว่าผู้รับจำนำย่อมมีสิทธิเป็นอย่างเดียวกันกับผู้ทรงบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งดังที่เรียงไว้ในมาตรา 278 นั้น
มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2526 วินิจฉัยไว้ว่า ผู้รับจำนำมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญ
กรณีผู้รับจำนอง/ผู้ทรงบุริมสิทธิ จะยื่นคำร้องขอตามมาตรา 289 เพื่อให้ได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญ
ถามว่า จำเป็นหรือไม่ว่า ผู้รับจำนอง/ผู้ทรงบุริมสิทธิ ต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ตอบ ไม่จำเป็น เพราะกรณีใดต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา กม.ต้องกำหนดไว้เช่นการขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290 แต่มาตรา 289 ไม่ได้บัญญัติ
ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ก็สามารถยื่นคำขอตามมาตรา 289 ได้ แต่ถ้าเป็นหนี้จำนอง หนี้จำนองต้องถึงกำหนดแล้ว ให้ดูฎ.1767/2527,4740/2538,7063/2541
บุคคลที่มีสิทธิตามมาตรา 289 จะดำเนินการอย่างไร ตัวบทให้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องขอ (เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง)
ปวิพ.มาตรา 289 ขออะไร มี 2 เรื่องคือ
1) ขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด/ทรัพย์สินที่จำนองชำระหนี้ตนก่อนคนอื่น
2) ขอให้เอาทรัพย์สินที่จำนองหลุด
เป็นสิทธิเฉพาะผู้รับจำนองเท่านั้น ผู้ทรงบุริมสิทธิอื่นๆไม่มีสิทธินี้
ผู้รับจำนองมีสิทธิ 2 อย่างคือ
1) ให้เอาเงินที่ขายได้จากการขายทอดตลาดชำระหนี้ตน
2) (เงินไม่เอา) แต่เอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นของตนตามปพพ.มาตรา 729
แต่การเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นสิทธิมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญเช่น ผู้รับจำนองต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าหนี้จำนองท่วม(มูลค่าของ) ทรัพย์สินที่จำนอง อย่างนี้ จึงจะสามารถเอาทรัพย์จำนองหลุดได้
ศาลที่จะยื่นคำขอตามมาตรา 289 ต้องยื่นต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี
มีฎีกาที่น่าสนใจฉบับหนึ่ง(*****)
ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้ตัดสินชี้ขาด แล้วออกหมายบังคับคดีส่งไปให้ศาลนครราชสีมา บังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลนครราชสีมายึดที่ดินโฉดนของจำเลยออกขายทอดตลาด ปรากฏว่ามีบุคคลภายนอกขอต่อศาลชั้นต้นว่าที่ดินติดจำนองตน และเป็นหนี้ตามคำพิพากษา ขอให้ศาลนำเงินมาชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น
ปัญหา ผู้รับจำนองแทนที่จะยื่นต่อศาลเชียงใหม่ แต่ยื่นคำขอที่ศาลนครราชสีมาซึ่งเป็นศาลที่บังคับคดีแทน อย่างนี้จะยื่นได้ไหม
ศาลต้นยกคำร้องไม่ให้ยื่นต่อศาลนครราชสีมา มีการอุทธรณ์ในปัญหาข้อกม.ขึ้นมาว่าผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ต่อศาลนครราชสีมาที่บังคับคดีแทนศาลเชียงใหม่เพื่อให้ไต่สวนและมีคำสั่งได้หรือไม่ เพราะว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับป.วิ.แพ่งมาตรา 15 ด้วย
แต่มาตรา 289 ระบุชัดว่าให้ยื่นต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี
ดูมาตรา 7(2) โยงมาตรา 302 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มาตรา 302 วรรคสามหาได้บัญญัติให้ถือว่าศาลที่ออกหมายบังคับคดีแทนเป็นศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดี(ฎ.7565/2548 ให้ดูไว้ด้วย)
ประเด็นต่อไป
มาตรา 289 วรรคสอง กำหนดระยะเวลาในการยื่นขอ ต้องยื่นภายในกำหนดใด แยกได้ 2 กรณี
1) กรณีจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์อันได้จดทะเบียนไว้ ต้องยื่นก่อนนำทรัพย์สินขายทอดตลาด
เช่น ผู้รับจำนองจะยื่นคำร้องขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนอง/เอาทรัพย์สินหลุดเป็นของตนเอง ต้องยื่นก่อนเอาทรัพย์สินออกขายทอดตลาด
ฎ.7569/2549 ขายทอดตลาดครั้งแรก ไม่มีใครสนใจ
ผู้จำนองขอก่อนขายครั้งหใม่ ถามว่าชอบหรือไม่
ตอบ ชอบเพราะก่อนเอาขายทอดตลาด (ครั้งแรกยังขายไม่ได้ นั่นเอง)
ถาม สมมติว่ามีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไปแล้ว ผู้รับจำนองเพิ่งมาขอ
ถามว่า ได้หรือไม่
โดยหลัก ต้องขอก่อนขายทอดตลาด ถ้ายื่นหลังจากนั้น ศาลต้องยกคำร้อง
แต่ทางปฏิบัติ กรมบังคับคดีอาจมีการขายทอดตลาดโดยปลอดจำนอง ต้องกันเงินไว้ให้แก่ผู้รับจำนอง แม้ผู้รับจำนองจะยื่นหลังขายทอดตลาด ก็ต้องนำเงินมาชำระหนี้ผู้รับจำนอง
ศาลฎีกาเห็นว่าแม้จะยื่นภายหลังขายทอดตลาด แต่เป็นการขายโดยปลอดจำนอง เงินก็ต้องชำระหนี้ผู้รับจำนอง(ฎ.3655/2538,1551/2543,2698/2546)
2) กรณีอื่นๆ มาตรา 289 วรรคสอง
.......ส่วนในกรณีอื่นๆ ให้ยื่นคำร้องขอเสียก่อนส่งคำบอกกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 319
หมายความว่าถ่าไม่ใช่เรื่องการจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์อันได้จดทะเบียนไว้ ต้องยื่นคำขอก่อนส่งคำบอกกล่าวตามมาตรา 319
ดูตัวอย่าง ศาลพิพากษาใหชำระหนี้เงินแก่โจทก์ โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์เครื่องจักรในโรงงาน(มิใช่อสังหาริมทรัพย์หรือบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์อันได้จดทะเบียนไว้) บุคคลภายนอกยื่นคำร้องขอเข้ามาว่าเครื่องจักรนั้นจำเลยจำนองกับผู้ร้อง ผู้ร้องจึงร้องขอว่าผู้ร้องเป็นผู้รับจำนอง(สมมติว่าเครื่องจักรขายทอดตลาดได้เงิน 100,000 บาท) จึงขอให้นำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้อื่น โจทก์คัดค้านว่าผู้ร้องไม่ได้ยื่นภายในกำหนดตามกม.
27 ธ.ค.2528 ขายทอดตลาด
9 ม.ค.2529 ผู้ร้องขอให้นำเงินที่ขายมาชำระหนี้ตามผู้รับจำนองเครื่องจักร
ศาลฎีกาแปลความว่ามาตรา 289 ใช้ได้เฉพาะ 2 กรณีคือ 1)ผู้จำนอง 2 ) บุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ฯ จึงจะให้ยื่นก่อน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดียังไม่ได้ทำบัญชีส่วนแล่งทรัพย์สินแจ้งเจ้าหนี้ตามมาตรา 319 ผู้ร้องเป็นผู้รับจำนองสังหาริมทรัพย์ จึงยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น (ฎ.698/2532)
ต่อไปมาตรา 289 วรรคท้าย
ถ้าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เอาทรัพย์ที่จำนองหลุด การยึดทรัพย์ที่จำนองนั้นเป็นอันเพิกถอนไปในตัว........
หมายความว่าผู้รับจำนองยื่นคำร้องขอให้เอาทรัพย์จำนองหลุด(ดูปพพ.729) ศาลอนุญาตให้จำนองหลุดเป็นทรัพย์ของผู้รับจำนอง อย่างนี้ก็ถือว่าการยึดทรัพย์นั้นเป็นอันเพิกถอน เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่นำยึดจะไปขายทอดตลาดไม่ได้
มาตรา 289 ต่อ
ในกรณีอื่นๆที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะได้รับแต่เงินที่เหลือ ถ้าหากมี ภายหลังที่หักชำระ ค่าธรรมเนียมการบังคับจำนองและชำระหนี้ผู้รับจำนอง หรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
หมายความว่า ในกรณีร้องขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็จะได้เฉพาะส่วนที่เหลือจากให้เจ้าหนี้จำนอง
- ผู้รับจำนองที่ยังไม่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มายื่นคำขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ต้องเสียค่าขึ้นศาลร้อยละ 1
- ถ้าผู้รับจำนองเคบฟ้องคดีจนเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา สมมติว่ามีบุคคลภายนอกยึด การยื่นคำร้องขอตามมาตรา 289 ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล
(ฎ.7966/2547,7409/2546)
ประเด็นต่อไป
เคยมีปัญหาว่าบุคคลภายนอกมายื่นคำร้องขอชำระหนี้ แต่เนื้อหาไปเขียนว่าขอกันส่วนเช่นที่ดินติดจำนองกับ ก. ก.เขียนว่าขอกันส่วนตามมาตรา 287 (ได้เงินจากการขายทอดตลาดได้เท่าใดขอกันเงินให้ ก.) ตามรูปเรื่องต้องเป็นเรื่องของมาตรา 289 (ดูฎ.2117/2548)
คำถาม เมื่อมีบุคคลภายนอกยื่นคำขอเข้าม ศาลมีอำนาจอนุญาตได้เลยหรือไม่ หรือว่าต้องฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อน
จำไว้เลยว่า ในวิ.แพ่ง คำร้อง/คำขอ ถ้าศาลไม่ต้องฟังคู่ความอีกฝ่าย กม.จะเขียนว่าให้ทำเป็นคำร้อง/คำขอฝ่ายเดียวเช่นมาตรา 254 ยื่นคำขอฝ่ายเดียว ศาลอนุญาตได้เลยก่อนหมดชั่วโมง อาจารย์บอกว่าเรื่องคือการกันส่วนมีฎีกาที่น่าสนใจคือ ฏ.8171/2549
(แต่ผมยังหาฎีกาไม่ได้)
|
|
โดย : Administrator วัน-เวลา : 26 มีนาคม 2557 | 12:41:29 From ip : 58.8.9.187 |