ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ |
ย้อนกลับ
|
ถัดไป
|
|
|
ความไม่สมบูรณ์ ๑๒๙๙ ใช้ยันบุคคลภายนอกมิได้ แต่ใช้ยังบุคคลสิทธิซึ่งคู่กรณีได้
|
จากมาตรา1299 บัญญัติว่า "การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่บริบูรณ์ " คำว่าไม่บริบูรณ์ต่างกับคำว่าโมฆะ หรือไม่ อย่างไร
--------------------------------
"ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคแรก กำหนดให้การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิที่มิได้ทำหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจใช้ยันและไม่อาจบังคับบุคคลภายนอกที่มิได้เป็นคู่สัญญาเท่านั้น มิได้เป็นการกำหนดให้นิติกรรมนั้นในส่วนที่เป็นบุคคลสิทธิตกเป็นโมฆะเสียเปล่าไป นิติกรรมดังกล่าวจึงยังคงมีผลผูกพันบังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา ดังนั้น แม้จะได้ความว่า ข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นข้อตกลงที่มิได้จดทะเบียนไว้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับกันได้ในระหว่างโจทก์กับจำเลย" ผลทางกฎหมายก็คือ ถ้ายังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ยังไม่ครบถ้วน แต่ก็ใช้บังคับระหว่างคู่สัญญาได้ ) คำพิพากษาศาลฎีกา 2539/2549
-------------------------------
-โมฆะกรรม คือการแสดงเจตนาทำนิติกรรมที่เมื่อทำขึ้นแล้วเสียเปล่าไม่มีผลในกฎหมายที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในสิทะหรือนิติสัมพันธ์ผูกพันกันแต่อย่างใด(มาตรา 172) -ไม่บริบูรณ์ คือ ไม่ครบถ้วน **โมฆียะกรรมนั้น หากมีการทำนิติกรรมกันแล้วเป็นโมฆียะนั้น นิติกรรมนั้นมีผลสูญเปล่า บังคับไม่ได้ ฟ้องร้องคดีกันไม่ได้ ****ไม่บริบูรณ์นั้น เพียงแต่ใช้อ้างกับบุคคลทั่วไปไม่ได้ ไม่เป็นทรัพยสิทธิแต่เป็นเพียงบุคคลสิทธิที่ใช้ยันได้ในระหว่างคู่กรณีเท่านั้น
-------------------------------
ไม่บริบูรณ์ หมายความว่า ไม่สามารถใช้บังคับในฐานะทรัพยสิทธิหรือไม่สามารถยันกับบุคคลภายนอกได้ แต่สามารถบังคับในฐานะบุคคลสิทธิ คือระหว่างคู่สัญญาได้ ส่วนโมฆะ หมายถึง ความเสียเปล่ามาตั้งแต่เริ่มแรกคือไม่มีผลผูกพันใดๆ ในนิติกรรมนั้น
|
|
โดย : Administrator วัน-เวลา : 19 กุมภาพันธ์ 2553 | 12:13:42 From ip : 58.8.141.85 |