ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ |
ย้อนกลับ
|
ถัดไป
|
|
|
รัฐบาลจะออกกฎหมายใหม่จากกฎหมายเก่า ปอ.309 มาเอาใจคนเป็นหนี้ ปราบพวกทวงหนี้ ทั้งที่ไม่ต้องรอออกกฎหมายใหม่สั่งตำรวจไปจับพวกมันได้เลย
|
ผ่านร่างก.ม.สกัดทวงหนี้ถ่อย วันพุธ ที่ 15 กันยายน 2553 เวลา 9:53 น
ตีกรอบวิธีปฏิบัติชัด เกินสองทุ่มห้ามกวน
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังประชุมครม.ว่า ที่ประชุมเห็นชอบร่างกฎหมายการติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังได้รายงานครม.ว่า ปัจจุบันมีการทวงหนี้อย่างไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นมาก ในหลายลักษณะ ทั้ง การส่งเอกสารทวงหนี้ไปที่ทำงานเพื่อให้เกิดความอับอาย ข่มขู่ ใช้คำพูดไม่สุภาพหยาบคาย ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรมต่อลูกหนี้หรือผู้บริโภค รวมทั้งสร้างความรำคาญให้แก่บุคคลที่สามที่ไม่ใช่ลูกหนี้ ส่งผลกระทบต่อสังคมและสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนโดยรวมเป็นจำนวนมาก ส่วนกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันและกำกับดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นั้นจะครอบคลุมถึงเฉพาะสถาบันการเงินเท่านั้น ขณะที่ผู้ประกอบการทั่วไปไม่มีกฎหมายควบคุมดูแล กระทรวงการคลังจึงได้เสนอกฎหมายฉบับนี้ขึ้น ทั้งนี้สาระสำคัญของกฎหมายได้กำหนดให้บริษัทที่ดำเนินธุรกิจติดตามทวงถามหนี้ไม่ว่าจะเป็นองค์กร เป็นนิติบุคคล หรือเป็นบุคคลธรรมดา ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายฉบับนี้และต้องจดทะเบียนประกอบธุรกิจกับกระทรวงการคลังให้ถูกต้อง และกำหนดโทษสูงสุดกรณีที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคือจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้กฎหมายยังได้กำหนดการติดตามทวงถามหนี้ไว้อย่างชัดเจน เช่น ต้องแจ้งให้ทราบถึงชื่อ นามสกุล ชื่อหน่วยงานและแสดงเจตนาว่าต้องการมาติดตามหนี้ กรณีติดต่อโดยโทรศัพท์ โทรสาร หรือบุคคลต้องติดต่อภายในเวลา 08.00-20.00 น.ยกเว้น วันหยุดราชการให้ติดต่อได้ตั้งแต่ 08.00-18.00 น.เท่านั้น ห้ามไม่ให้ข่มขู่ ใช้ความรุนแรง หรือกระทบอื่นใดที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อร่างกาย ชื่อเสียงและทรัพย์สินของผู้บริโภค ห้ามใช้วาจาหรือภาษาที่ดูหมิ่น ถากถาง เสียดสี ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้บริโภค เป็นต้น นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า รัฐบาลและกระทรวงการคลังตั้งใจดูแลประชาชนให้ครอบคลุมทุกมิติโดยเฉพาะด้านการเงินภาคประชาชนจึงจะเร่งผลักดันกฎหมายฉบับนี้ให้ผ่านที่ประชุมสภาโดยเร็วเพื่อให้มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการต่อไป นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ ยังได้จัดตั้ง คณะกรรมการติดตามหนี้สิน โดยมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน รวมทั้งปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขา ธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และผู้ว่าการธปท. ร่วมเป็นคณะกรรมการ นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า เพื่อให้เป็นการสอดคล้องกับการแก้ปัญหาอย่างบูรณาการ รมว.คลังได้สั่งการให้จัดตั้งสำนักงานจัดการทางการเงินภาคประชาชน ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง โดยเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ภาคประชาชน 4 ด้าน ทั้งหนี้สินนอกระบบ การฉ้อโกง การติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรมและการเงินระดับฐานราก (ไมโครไฟ แนนซ์) ขณะนี้กำลังร่างคำสั่ง เพื่อส่งเป็นหนังสือเวียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงการคลัง และเสนอขอเพิ่ม กำลังเจ้าหน้าที่ไปยังสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ซึ่งที่ผ่านมา มีการจัดตั้งหน่วยงานด้านหนี้สินและฉ้อโกงขึ้นมาแต่ไม่มีความต่อเนื่อง จึงได้บูรณาการหน่วยงานนี้ขึ้นมาใหม่ และให้สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการคลังเพราะหากการเมืองเปลี่ยนแปลงไป แต่หน่วยงานนี้ยังคงทำงานต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเสมอภาคด้านการเงินแก่ประชาชนต่อไป เพื่อให้เกิดผลสำเร็จด้านนโยบายจึงจำเป็นที่ต้องให้มีหน่วยงานหนึ่งขึ้นมาดูแลอย่างจริงจังและขับเคลื่อนนโยบายได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นมิติใหม่ของกระทรวงการคลังที่ต้องทำภารกิจในการสร้างความเป็นธรรมและ ความเสมอภาคทางการเงินให้กับประชาชนทุกคน จากเดิมที่กระทรวงการคลังไม่ได้ให้น้ำหนักในการทำภารกิจด้านนี้ขึ้นมาเพื่อขับเคลื่อนนโยบายที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและคดี ธนาคารแห่ง ประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีออกร่างพ.ร.บ.การติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม พ.ศ.ว่า ปัจจุบันกฎหมายที่ธปท. กำหนดครอบคลุมเฉพาะสถาบันการเงิน แต่การทวงหนี้โดยบริษัทภายนอกไม่ใช่สถาบันการเงินไปทวงหนี้อยู่นอกเหนือกฎหมายของธปท. จึงต้องมีกฎหมายกำกับดูแลอย่างทั่วถึง ซึ่ง ธปท.คงต้องเข้าไปดูในรายละเอียดอีกครั้งว่าในการกำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับติดตามทวงหนี้จะมีผู้แทนจากธปท.ด้วยหรือไม่.
-------------------------------------
ดูกฎหมายเก่าที่มีอยู่แล้วและเอาไปใช้ได้เลย
หมวด 1 ความผิดต่อเสรีภาพ มาตรา 309 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใดหรือ จำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเอง หรือของผู้อื่น หรือโดยใช้ กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้น หรือจำยอมต่อสิ่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน หกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าความผิดตามวรรคแรกได้กระทำโดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำ ความผิดด้วยกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป หรือได้กระทำเพื่อให้ผู้ถูกข่มขืนใจทำ ถอน ทำให้เสียหาย หรือทำลายเอกสารสิทธิอย่างใดผู้กระทำต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้ากระทำโดยอ้างอำนาจอั้งยี่หรือซ่องโจร ไม่ว่าอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้นจะ มีอยู่หรือไม่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปีและปรับ ตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
|
|
โดย : Administrator วัน-เวลา : 15 กันยายน 2553 | 11:41:31 From ip : 183.89.62.134 |