ผู้เสียหายได้ทรัพย์คืนแต่ชำรุดบกพร่อง อัยการเรียกราคาทรัพย์นั้นอีกไม่ได้
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานรับของโจรรถกระบะของกลาง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำเลยทั้งสองคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืน 80,100 บาท แก่ผู้เสียหาย ซึ่งรวมถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ราคา 3,900 บาท สินค้าอุปโภคบริโภคราคา 40,000 บาท กล้องถ่ายรูปราคา 9,000 บาท ซึ่งมิใช่ทรัพย์ที่จำเลยทั้งสองรับของโจรและรถกระบะของกลางนั้นผู้เสียหายก็ได้รับคืนไปแล้ว แม้ได้รับคืนในสภาพที่ถูกถอดชิ้นส่วนบางส่วนซึ่งคิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 27,200 บาท พนักงานอัยการโจทก์ก็ขอให้คืนหรือใช้ราคาไม่ได้ เพราะ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ไม่ได้ให้อำนาจไว้ เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องไปว่ากล่าวเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเอาเองเป็นคดีใหม่ จะให้จำเลยทั้งสองคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่มิได้รับของโจร กับมูลค่าความเสียหายของรถกระบะของกลางที่ถูกถอดชิ้นส่วนบางส่วนนั้นย่อมไม่ถูกต้อง (ฎ 8886/2549)
· วิ.อาญา เรียกทรัพย์สินหรือราคาคืน
เงินค่าไถ่ทรัพย์ ไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียเนื่องจากการกระทำความผิด
ในคดีเรื่องรับของโจร อัยการไม่มีอำนาจฟ้องผู้รับของโจรให้คืนเงินค่าไถ่ทรัพย์แทนผู้เสียหาย เพราะมิใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดฐานรับของโจร (ฎ 442/2507)
· รับของโจรค่าไถ่ อาญา
· , เรียกทรัพย์สินหรือราคาคืน
อัยการมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่มีทุนทรัพย์เกินอำนาจศาลแขวงได้
คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงในความผิดฐานยักยอก และมีคำขอในส่วนแพ่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เกินกว่า 10,000 บาทแก่ผู้เสียหายได้ เมื่อผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมไม่อาจถือเอาคำขอในส่วนแพ่งของพนักงานอัยการเป็นคำขอของตนได้ เพราะหากผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองแล้วย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำขอในส่วนแพ่งอันมีทุนทรัพย์เกินกว่า 10,000 บาท ต่อศาลแขวงได้เนื่องจากเกินอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา และเมื่อโจทก์ร่วมอุทธรณ์ฝ่ายเดียวย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาที่จะให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ และศาลอุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำขอในส่วนนี้ด้วย (ฎ 4419/2528)
· วิ.อาญาเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืน
,
พนักงานอัยการศาลแขวง
พนักงานอัยการไม่มีอำนาจเรียกทรัพย์คืนฐานโกงเจ้าหนี้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 มิได้บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนแทนผู้เสียหายในคดีอาญาฐานโกงเจ้าหนี้ (ฎ 392/2506)
· วิ.อาญาพนักงานอัยการเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืน, โกงเจ้าหนี้
ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ อัยการไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 265, 353 ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมขอถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) และโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยคืนหรือใช้เงินที่ขาดแก่โจทก์ร่วม ส่วนข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 265 ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้ สิทธิฟ้องของอัยการยังไม่ระงับ (ฎ 2567/2506)
วิ.อาญาถอนคำร้องทุกข์ผู้เสียหายเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
,
หลอกให้จำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 ให้อำนาจโจทก์ขอเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนต่อเมื่อผู้เสียหายได้สูญเสียทรัพย์สินหรือราคาเพราะเหตุเกิดจากการฉ้อโกงนั้นแล้วเท่านั้น ส่วนการที่ผู้เสียหายถูกฉ้อโกงหลอกลวงให้นำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจำเลย โดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้สูญเสียทรัพย์สินเป็นจำนวนเงินตามที่โจทก์ขอเรียกคืน โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเรียกให้จำเลยใช้เงินจำนวนนี้ (ฎ 2392/2541)
วิ.อาญา ฉ้อโกงเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืน แพ่ง จำนอง
อัยการเรียกค่าแรงงานในความผิดฐานฉ้อโกงแรงงานไม่ได้
ในคดีฉ้อโกงให้ประกอบการงานนั้น ค่าแรงงานหรือค่าจ้างที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจะจ่ายให้ ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลย พนักงานอัยการไม่มีอำนาจที่จะขอให้จำเลยใช้ค่าแรงงานหรือค่าจ้างที่จำเลยยังไม่จ่ายแก่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 (ฎ 163/2532)
ฉ้อโกงแรงงาน วิ.อาญา เรียกทรัพย์สินหรือราคาคืน
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ คำขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ก็ระงับไปด้วย
ก่อนยื่นฎีกา ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ถอนคำร้องทุกข์ของตนเฉพาะในส่วนความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวโดยอ้างว่าได้รับชดใช้เงินจากจำเลยเป็นที่พอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งแก่จำเลยอีกต่อไป ดังนั้นสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวเฉพาะในส่วนของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 จึงระงับไป ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) ย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 คนละ 65,000 บาท รวมเป็นเงิน 130,000 บาท ตกไปด้วย โจทก์ไม่อาจขอให้บังคับจำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้อีก คงขอให้บังคับได้เฉพาะผู้เสียหายที่ 3 เป็นเงิน 70,000 บาท เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 (ฎ 1445/2549)
วิ.อาญา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ เรียกทรัพย์สินหรือราคาคืน ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย
แม้ศาลจะลงโทษในความผิดอื่นๆ อัยการก็ขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ได้
คำฟ้องของโจทก์บรรยายความผิดฐานฉ้อโกงและหลอกลวงคนหางานว่าสามารถหางานในต่างประเทศ ซึ่งตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 บัญญัติให้อำนาจโจทก์ที่จะขอศาลให้สั่งจำเลยคืนเงินที่ฉ้อโกงไปให้แก่ผู้เสียหายทั้งสามได้ และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องทุกข้อหา ซึ่งศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ด้วย แม้จะมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 341 ดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยคืนเงิน 200,000 บาท ที่ฉ้อโกงไปให้แก่ผู้เสียหายทั้งสามตามที่โจทก์ขอมาได้ (ฎ 1445/2549)
วิ.อาญา เรียกทรัพย์สินหรือราคาคืน
อัยการไม่ได้ฟ้องฐานความผิด จะขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ไม่ได้
แม้บทบัญญัติมาตรา 91 ตรี แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ซึ่งระบุให้ผู้ที่หลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานหรือสามารถส่งไปฝึกงานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงนั้น จะมีถ้อยคำว่า "หลอกลวงผู้อื่น" ก็ตาม แต่ก็มิใช่ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ก็มิได้ให้พนักงานอัยการโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหาย โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้ (ฎ 1347/2545)
· วิ.อาญาเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืน ฉ้อโกง
อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์ในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงโจทก์ให้รับซื้อฝากที่ดินของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์หลงเชื่อและเสียเงินให้แก่จำเลยทั้งสองไป 1,500,000 บาท และมีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ 1,500,000 บาท เท่ากับราคาที่ดินที่ซื้อฝากซึ่งโจทก์ได้มอบให้แก่จำเลยทั้งสองไปนั้น มิใช่คำฟ้องในเรื่องละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี เพียงอย่างเดียว แต่มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินของโจทก์คืน จากจำเลยทั้งสองผู้ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ด้วย ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้ ส่วนดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นค่าเสียหายนั้นคำฟ้องของโจทก์ เป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในความผิดฐานฉ้อโกง โจทก์ฟ้องคดีในระหว่างที่คดีอาญายังไม่เด็ดขาด จึงไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสอง (ฎ 4997/2549)
· แพ่ง เรียกทรัพย์สินหรือราคาคืน อายุความ สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินคืน วิ.อาญา
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
ผู้เสียหายยื่นคำร้องว่าได้รับเงินจากจำเลยแล้ว ไม่ติดใจเรียกร้องอีก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ให้จำเลยคืนแหวนทองคำ กำไลทองคำและสร้อยคำทองคำหรือใช้ราคา 37,300 บาท แก่ผู้เสียหาย ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้เสียหายยื่นคำร้องว่าได้รับเงิน 40,000 บาท จากจำเลยเพื่อใช้ค่าเสียหายและค่าทรัพย์สินที่ไม่ได้คืนแล้ว ผู้เสียหายไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายอีก จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดคืนทรัพย์หรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหาย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (4) และให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนเป็นเงิน 37,300 บาท แก่ผู้เสียหาย จึงไม่ชอบ (ฎ 968/2550) แม้จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกลักทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปหลายครั้ง แต่ราคาทรัพย์รวมทั้งสิ้นเพียง 18,812 บาทและหลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ได้ชดใช้เงินจำนวน 100,000 บาทแก่โจทก์ร่วม จนโจทก์ร่วมพอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่จำเลยที่ 1 แสดงว่าจำเลยที่ 1รู้สำนึกถึงความผิดที่ตนกระทำและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เคยต้องโทษจำคุก มาก่อน ทั้งประกอบอาชีพสุจริตมาโดยตลอด นิสัยและความประพฤติ โดยทั่วไปไม่ปรากฏข้อเสียหาย จึงสมควรรอการลงโทษและคุมความประพฤติจำเลยที่ 1 ไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนเกินกว่า ราคาทรัพย์ที่ลักไปให้แก่โจทก์ร่วมแล้ว จึงไม่ชอบที่ ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ ดังกล่าวแก่โจทก์ร่วมอีกอันเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมแก้ไขเสียให้ถูกต้อง (ฎ 6553/2541)
เรียกทรัพย์สินหรือราคาคืน อาญา วิ.อาญา ลักทรัพย์
หากเจ้าของทรัพย์ได้ทรัพย์คืนแล้ว พนักงานอัยการจะเรียกทรัพย์แทนผู้เสียหายไม่ได้
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานรับของโจรรถกระบะของกลาง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำเลยทั้งสองคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืน 80,100 บาท แก่ผู้เสียหาย ซึ่งรวมถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ราคา 3,900 บาท สินค้าอุปโภคบริโภคราคา 40,000 บาท กล้องถ่ายรูปราคา 9,000 บาท ซึ่งมิใช่ทรัพย์ที่จำเลยทั้งสองรับของโจรและรถกระบะของกลางนั้นผู้เสียหายก็ได้รับคืนไปแล้ว แม้ได้รับคืนในสภาพที่ถูกถอดชิ้นส่วนบางส่วนซึ่งคิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 27,200 บาท พนักงานอัยการโจทก์ก็ขอให้คืนหรือใช้ราคาไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ไม่ได้ให้อำนาจไว้ เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องไปว่ากล่าวเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเอาเองเป็นคดีใหม่ จะให้จำเลยทั้งสองคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่มิได้รับของโจร กับมูลค่าความเสียหายของรถกระบะของกลางที่ถูกถอดชิ้นส่วนบางส่วนนั้นย่อมไม่ถูกต้อง (ฎ 8886/2549)
เรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนอาญา วิ.อาญา รับของโจร
หลอกลวงให้ไปทำงานต่างประเทศ เรียกคืนเงินค่าตั๋วเครื่องบินได้
การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดด้วยการแสดงข้อความอัน เป็นเท็จว่าจำเลยทั้งสองสามารถจัดส่งผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดไปทำงานใน ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เป็นงานที่มีรายได้ เมื่อผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดเดินทางไปถึงแล้วสามารถทำงานได้ทันที โดยจำเลยทั้งสองปกปิดข้อความจริงว่าจำเลยทั้งสอง ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหาคนงานไปทำงานในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้จาก นายทะเบียนจัดหางานกลางจากการหลอกลวงดังกล่าวทำให้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ด หลงเชื่อและมอบเงินจำนวนต่าง ๆ ให้แก่จำเลยทั้งสอง ดังนั้น การกระทำของ จำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง มิใช่ผิดเฉพาะสัญญาทางแพ่งแต่อย่างใด ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดยอมจ่ายเงินค่าตั๋วเครื่องบินให้แก่จำเลยทั้งสอง เนื่องจากประสงค์จะเดินทางไปทำงานในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ตามที่จำเลยทั้งสองรับรอง หากผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดทราบความจริงว่าถูกจำเลยทั้งสองหลอกลวงแล้ว ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคงไม่เดินทางไปยังประเทศดังกล่าวและไม่จ่ายเงินค่าตั๋วเครื่องบินให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นแน่ แม้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดได้ใช้ตั๋วเครื่องบินดังกล่าวเดินทางไปและกลับระหว่างประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ แต่การเดินทางของผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดดังกล่าวมิได้เกิดจากความสมัครใจของตนที่จะเดินทางไปหางานทำด้วยตนเอง แต่เกิดจากการที่ถูกจำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงฉ้อโกง ดังนั้น เงินค่าตั๋วเครื่องบินของผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดที่ต้องสูญเสียไปจึงเป็นเงินที่เกิดจากการหลอกลวง ของจำเลยทั้งสอง ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดย่อมมีสิทธิที่จะเรียกค่าตั๋วเครื่องบินดังกล่าวคืนจากจำเลยทั้งสอง (ฎ 5401/2542)
เรียกทรัพย์สินหรือราคาคืน อาญา วิ.อาญา ฉ้อโกง
อัยการไม่มีอำนาจเรียกค่าแรงงานในผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกงแรงงาน
ในคดีฉ้อโกงให้ประกอบการงานนั้น ค่าแรงงานหรือค่าจ้างที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจะจ่ายให้ ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลย พนักงานอัยการไม่มีอำนาจที่จะขอให้จำเลยใช้ค่าแรงงานหรือค่าจ้างที่จำเลยยังไม่จ่ายแก่ผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 (ฎ 163/2532)
เรียกทรัพย์สินหรือราคาคืน วิ.อาญา ฉ้อโกงแรงงาน
อัยการไม่มีอำนาจฟ้องให้คืนทรัพย์ในความผิดฐานเรียกสินบน
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งปลัดอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินตามโครงการ กสช. ได้สั่งให้คณะกรรมการสภาตำบลแก้ไขหลักฐานการเบิกจ่ายเงินให้เกินความเป็นจริง แล้วจำเลยเอาเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริต ดังนี้ แสดงว่าจำเลยมีเจตนามาแต่แรกที่จะกระทำการทุจริตโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตน มิใช่ว่าจำเลยกระทำโดยชอบด้วยอำนาจในตำแหน่งแล้วกระทำการทุจริตในภายหลัง จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 เท่านั้น หาเป็นความผิดตามมาตรา 149 อีกด้วยไม่ แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายมาด้วยก็ตาม แต่เมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 148 เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 (ฎ 3793/2530)
เรียกทรัพย์สินหรือราคาคืน วิ.อาญา
แม้พยายามกระทำความผิด ก็ต้องคืนทรัพย์ให้ผู้เสียหาย
แม้ขณะจำเลยที่ 1 กระชากสร้อยคอทองคำพร้อมพระเลี่ยมทองคำของผู้เสียหาย สร้อยคอพร้อมพระดังกล่าวจะอยู่ที่มือจำเลยที่ 1 แต่ก็เป็นเพียงการกระทำที่มุ่งหมายจะให้สร้อยคอพร้อมพระขาดหลุดจากคอผู้เสียหาย เมื่อปรากฏว่าสร้อยคอทองคำดังกล่าวตกอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ ส่วนพระเลี่ยมทองคำนั้นหาไม่พบ ทั้งขณะเจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นตัวจำเลย ก็ไม่พบพระเลี่ยมทองคำดังกล่าว แสดงว่าหลังจากกระชากแล้ว สร้อยคอทองคำพร้อมพระเลี่ยมทองคำหลุดจากมือจำเลยที่ 1 ตกลงพื้น จำเลยที่ 1 ยังไม่ทันเข้ายึดถือครอบครองสร้อยคอทองคำพร้อมพระเลี่ยมทองคำดังกล่าว เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่ยังไม่อาจยึดถือครอบครองสร้อยคอทองคำพร้อมพระเลี่ยมทองคำนั้นได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงความผิดฐานพยายามวิ่งราวทรัพย์ แม้จำเลยที่ 1 จะไม่สามารถเอาพระเลี่ยมทองคำของผู้เสียหายไปได้แต่ผลจากการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ทำให้ผู้เสียหายสูญเสียพระเลี่ยมทองคำไป จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดคืนหรือใช้ราคาพระเลี่ยมทองคำแก่ผู้เสียหาย (ฎ 6624/2545)
เรียกทรัพย์สินหรือราคาคืน อาญา วิ่งราวทรัพย์ วิ.อาญา พยายาม
ฟ้องเฉพาะความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ ไม่อาจคืนทรัพย์ได้
แม้บทบัญญัติ มาตรา 91 ตรี แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ซึ่งระบุให้ผู้ที่หลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานหรือสามารถส่งไปฝึกงานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงนั้น จะมีถ้อยคำว่า "หลอกลวงผู้อื่น" ก็ตาม แต่ก็มิใช่ความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ก็มิได้ให้พนักงานอัยการโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหาย โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้ (ฎ 1347/2545)
เรียกทรัพย์สินหรือราคาคืน วิ.อาญา ฉ้อโกง
ผู้เสียหายที่เป็นโจทก์ร่วม ไม่อาจถือคำขอให้คืนทรัพย์ที่เกินอำนาจศาลแขวง
คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงในความผิดฐานยักยอก และมีคำขอในส่วนแพ่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เกินกว่า 10,000 บาทแก่ผู้เสียหายได้ เมื่อผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมไม่อาจถือเอาคำขอในส่วนแพ่งของพนักงานอัยการเป็นคำขอของตนได้ เพราะหากผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองแล้ว ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำขอในส่วนแพ่งอันมีทุนทรัพย์เกินกว่า 10,000 บาท ต่อศาลแขวงได้เนื่องจากเกินอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา และเมื่อโจทก์ร่วมอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาที่จะให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ และศาลอุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำขอในส่วนนี้ด้วย (ฎ 4419/2528)
เรียกทรัพย์สินหรือราคาคืน เข้าร่วมเป็นโจทก์ อำนาจศาลแขวง วิ.อาญา
หากสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ คำขอที่ให้คืนทรัพย์ย่อมระงับด้วย
ก่อนยื่นฎีกา ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ถอนคำร้องทุกข์ของตนเฉพาะในส่วนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว โดยอ้างว่าได้รับชดใช้เงินจากจำเลยเป็นที่พอใจ และไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งแก่จำเลยอีกต่อไป ดังนั้นสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวเฉพาะในส่วนของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 จึงระงับไป ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) ย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 คนละ 65,000 บาท รวมเป็นเงิน 130,000 บาท ตกไปด้วย โจทก์ไม่อาจขอให้บังคับจำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้อีก คงขอให้บังคับได้เฉพาะผู้เสียหายที่ 3 เป็นเงิน 70,000 บาท เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 (ฎ 1445/2549)
· เรียกทรัพย์สินหรือราคาคืน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ วิ.อาญา ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ถอนคำร้องทุกข์
-------------------------------
แหล่งที่มา http://www.siamjurist.com
-------------------------------
|