TV Online ทุกวันเวลา ๑๐.๐๐-๒๒.๐๐ น.

 ชมรมคนปลดหนี้ & ล้มบนกองฟูก
- ต้องการให้ช่วยแก้ปัญหาหนี้ ถูกทวงหนี้ นายจ้างเอาเปรียบ ถูกให้ออกจากงาน อยากล้มบนกองฟูก
- เราจะช่วยท่านปลดหนี้(ชักดาบ)ตามวิธีทางกฎหมาย

หนี้ บัตรเครดิต แก้ปัญหาหนี้ ชมรมปลดหนี้ ถูกทวงหนี้
  หน้าเว็บหลัก      หน้าหลักบอร์ด      ตั้งคำถาม      ค้นหา      สมัครเข้าชมรมคนปลดหนี้   
สมาชิกบอร์ด ออนไลน์ 23 ท่าน  
:: สมาชิกเข้าระบบ | ชื่อเข้าระบบ :: รหัสผ่าน :
:: ผู้ดูแลระบบ เฉพาะเจ้าหน้าที่ดูแลระบบเท่านั้น
ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ ย้อนกลับ | ถัดไป
  • หลับสุจริตตามกฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา ๕ มาตรา ๖ และมาตรา ๓๖๘ นักกฎหมายต้องให้ความสำคัญ
    ทั่วไป หลักสุจริต

    หลักสุจริต หลักสุจริต ตามพจนานุกรมไทยฉบับเฉลิมพระเกียรติ หมายถึง ความประพฤติชอบจริง ซื่อตรง มีความหมายตรงกันข้ามกับ ทุจริต ซึ่งคำว่า สุจริต ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต หมายถึง ประพฤติชอบตามคลองธรรม ประพฤติด้วยตั้งใจดี ประพฤติซื่อตรง
    ประวัติและวิวัฒนาการ
    อริสโตเติ้ล มีแนวคิดว่า หลักสุจริตก่อให้เกิดความยุติธรรม และเป็นความยุติธรรมที่เกี่ยวกับคุณธรรมของบุคคล
    ซิเซโร ยืนยันว่า กฎหมายที่แท้จริงต้องมีเหตุผมที่ถูกต้อง และจะต้องสอดคล้องกับความยุติธรรม และยังกล่าวต่อว่า พื้นฐานของความเป็นธรรมก็คือหลักสุจริตนั้นเอง
    แนวความคิดเรื่อง สุจริต
    ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์ อธิบายว่า ความสุจริต เป็นหลักสำคัญของ ป.พ.พ. กล่าวคือ ความประพฤติของบุคคลในการใช้สิทธิและการชำระหนี้ ต้องจำกัดอยู่ภายใต้หลักความสุจริต
    ศ.ดร.หยุด แสงอุทัย อธิบายว่า หลักสุจริต เป็นบทกฎหมายยุติธรรม หมายถึง บทบัญญัติของกฎหมายที่ทำให้ผู้พิพากษามีดุลพินิจบางประการที่จะวินิจฉัยให้ผลทางกฎหมายอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น
    ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ กล่าวว่า หลักกฎหมายทั่วไป ดังเช่นหลักสุจริตนี้ในระบบ Civil Law ถือเป็นหลักที่อาจมีค่าบังคับระดับสูง เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญทีเดียว
    คำว่า “สุจริต” ในทางแพ่งกับทางอาญา
    คำว่า “สุจริต” หรือ “ไม่สุจริต” ในทางแพ่ง กับอาญาจะต่างกันกัน เช่น สุจริตในเรื่องรับโอนทางแพ่ง มีความหมายเพียงว่ามิได้รู้ถึงการที่ไม่มีสิทธิหรือมีความบกพร่องแห่งสิทธิในทรัพย์สิน ส่วนทางอาญาทุจริต (ไม่สุจริต) นั้น ป.อาญา กำหนดความหมายของคำว่า “ทุจริต” เอาไว้ว่า “การแสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบด้วยกฎหมายและเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น”
    ความสำคัญของหลักสุจริต
    ๑.)หลักสุจริตถือเป็นหลักทั่วไปที่เป็นรากฐานของกฎหมายแพ่งทั้งระบบ
    หลักสุจริต เปรียบเสมือน ยาดำ ที่สอดแทรกมีอยู่ทั่วไปตามบทบัญญัติต่างๆ ป.พ.พ. ซึ่งมุ่งคุ้มคล้องบุคคลที่สามที่เป็นผู้กระทำโดยสุจริต อันเป็นข้อยกเว้น หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน เช่น ป.พ.พ.มาตรา ๙๐๕,๑๒๙๙ เป็นต้น
    ๒.)เป็นหลักสำคัญที่ให้ดุลพินิจแก่ศาลวินิจฉัยตามหลักความเป็นธรรม เพื่อกำหนดเป็นบรรทัดฐานของสังคม
    ๓.)เป็นหลักที่ทำให้กระบวนการใช้กฎหมายปรับตัวเข้ากับสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงโดยมุ่งความยุติธรรมที่แท้จริง
    การใช้หลักสุจริต จะบังคับใช้เมื่อมีบุคคลผูกพันทางกฎหมายหรือนิติสัมพันธ์ ซึ่งจะทำให้เกิดมูลหนี้ เช่นสัญญา แต่ถ้าสัญญายังไม่เกิด ความผูกพันยังไม่มี
    การตีความสัญญากับหลักสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๓๖๘ ได้กำหนดหลักการตีความสัญญากับหลักสุจริตเอาไว้ว่า “การตีความการแสดงเจตนาอันเป็นนิติกรรมให้ถือเจตนาที่แท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร” ซึ่งการแสดงเจตนาในสัญญานอกจากกรณีที่กฎหมายบัญญัติเอาไว้เป็นการเฉพาะแล้ว มีหลักเพิ่มอีกข้อหนึ่งคือ การตีความต้องคำนึงถึงความประสงค์ในทางสุจริต ประกอบด้วยปกติประเพณี จะถือแต่เพียงเจตนาที่แท้จริงของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฝ่ายเดียวมิได้ ต้องตีความไปโดยถือหลักความเข้าใจของทั้งสองฝ่ายในเจตนาชองกันและกัน จึงต้องตีความไปตามความประสงค์โดยสุจริต อันคู่กรณีคิดคาดหมายได้จากกันและกัน
    ประเภทของหลักสุจริต
    ๑.)หลักสุจริตทั่วไป เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้อย่างกว้างๆเพื่อเป็นมาตรฐานทั่วไปของกฎหมาย เรียกในทางนิติศาสตร์ว่า บทกฎหมายยุติธรรม โดยในการตีความกฎหมายประเภทนี้จะต้องใช้วิจารณญาณและดุลพินิจพิเคราะห์ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องทุกประการ หลักสุจริตทั่วไปนี้มีบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา ๕ มาตรา ๖ และมาตรา ๓๖๘
    ๒.)หลักสุจริตเฉพาะเรื่อง หมายถึงความไม่รู้ข้อเท็จจริงของคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคำว่า สุจริต ในมาตราต่างๆดังกล่าวใช้ในแง่ที่ว่าคู่กรณีที่เกี่ยวข้องรู้หรือไม่รู้ข้อเท็จจริงเช่นนี้จึงมีความหมายที่แคบ จึงเป็นหลักสุจริตเฉพาะเรื่อง เช่น มาตรา ๑๕๕,๑๘๖,๒๓๘,๓๐๓,๓๑๒,๓๑๖,๓๔๑,๔๑๐,๔๑๒,๔๑๓,๔๑๔,๔๑๕,๔๑๗,๔๒๑,ฯลฯ
    หลัก “ผู้รับโอนโดยสุจริตมีสิทธิดีกว่าผู้โอน” เพื่อคุ้มคล้องบุคคลที่สาม ตามหลักทั่วไปหากผู้รับโอนไม่ใช่ “เจ้าของสิทธิหรือไม่มีสิทธิ” แล้วจะยกเอาสิทธินั้นยันเจ้าของที่แท้จริงไม่ได้ ตามหลัก “ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน” หลักนี้ถือว่าผู้รับโอนจะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินก็เฉพาะจากผู้โอนซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือเป็นผู้มีสิทธิโอนเท่านั้น หากผู้โอนไม่มีสิทธิโอน กรรมสิทธิ์ย่อมไม่อาจโอนไปยังผู้รับโอนได้ และกรณีที่ผู้โอนไม่มีสิทธิโอน เจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิเรียกเอาทรัพย์นั้นจากผู้ที่ได้รับไว้โดยไม่ชอบได้
    การใช้ดุลพินิจของศาลในหลักสุจริต ศาลต้องคำนึงถึงหลักการต่างๆดังต่อไปนี้คือ
    ๑.) การใช้หลักสุจริต ต้องถูกต้องชอบธรรมไม่ใช้เกินขอบเขต
    ๒.) ต้องไม่ใช้จนพร่ำเพรื่อ จนไม่สามารถกำกับการใช้ดุลพินิจได้
    ๓.) ใช้ต่อเมื่อมีความจำเป็น
    ๔.) ใช้ด้วยความระมัดระวัง รอบคอบ เป็นธรรม เหมาะสม
    ๕.) ผู้พิพากษาที่ใช้ดุลพินิจ ต้องมีความรู้และประสบการณ์
     
    -----------------------------
    -----------------------------

    โดย : Administrator วัน-เวลา : 19 มีนาคม 2554 | 11:50:54   From ip : 223.204.92.137

    ร่วมแสดงความคิดเห็น
    ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
    อีเมลล์ (E-mail) :
    แสดงความคิดเห็น :
    ภาพประกอบ :




    ** สูงสุด 6 ภาพ ต่อการโพส 1 ครั้งคะ ใช้ภาพที่เป็นสกุล .jpg, .gif, .png นะคะ ชื่อไฟล์ขอเป็นภาษาอังกฤษนะคะ

    รหัสอ้างอิง :

      


    http://www.thailawyer.net/ ให้คุณมากกว่าที่คุณคิด