TV Online ทุกวันเวลา ๑๐.๐๐-๒๒.๐๐ น.

 ชมรมคนปลดหนี้ & ล้มบนกองฟูก
- ต้องการให้ช่วยแก้ปัญหาหนี้ ถูกทวงหนี้ นายจ้างเอาเปรียบ ถูกให้ออกจากงาน อยากล้มบนกองฟูก
- เราจะช่วยท่านปลดหนี้(ชักดาบ)ตามวิธีทางกฎหมาย

หนี้ บัตรเครดิต แก้ปัญหาหนี้ ชมรมปลดหนี้ ถูกทวงหนี้
  หน้าเว็บหลัก      หน้าหลักบอร์ด      ตั้งคำถาม      ค้นหา      สมัครเข้าชมรมคนปลดหนี้   
สมาชิกบอร์ด ออนไลน์ 23 ท่าน  
:: สมาชิกเข้าระบบ | ชื่อเข้าระบบ :: รหัสผ่าน :
:: ผู้ดูแลระบบ เฉพาะเจ้าหน้าที่ดูแลระบบเท่านั้น
ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ ย้อนกลับ | ถัดไป
  • ล้มบนกองฟูก,ล้มละลาย,ขอพิจาณาคดีใหม่,ถอนฟ้อง,หนี้ขาดอายุความศาลยกขึ้นเองได้,ฟ้องแย้งไม่ได้,ทุเลาบังคับคดีไม่ได้,หลักอื่นๆที่จำเลยต้องดู

    การพิจารณาคดี


    -การถอนฟ้อง มาตรา 11

    -ถอนฟ้องระหว่าง พิจารณาคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วจะถอนฟ้องไม่ได้ โดยการให้ถอนฟ้องเป็นดุลพินิจศาล ส่วนคดีในศาลสูงถอนอุทธรณ์ได้เท่านั้น

    -การพิจารณาพิพากษาคดี มาตรา 13,14

    -คดีล้มละลายไม่มีขาดนัดยื่นคำให้การเช่นคดีแพ่ง จำเลยอาจยื่นคำให้การก่อนวันนัดพิจารณาได้

    -จำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จำเลยขอพิจารณาคดีใหม่ได้

    -ศาลต้องกำหนดวันนั่งพิจารณาไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน มิเช่นนั้นเป็นการผิดระเบียบ

    -พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

    -ต้องได้ความจริงว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว เป็นหนี้จำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้

    -จำเลย สืบแก้ได้ว่า มีทรัพย์สินพอชำระหนี้ได้ทั้งหมด ทรัพย์สินอาจเป็นทรัพย์ที่อาจมีในภายหน้าได้ แม้โจทก์ได้รับข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 เช่น ทวงหนี้สองครั้งโดยเวลาห่างกันสามสิบวัน ศาลก็ยกฟ้องเมื่อจำเลยได้ชำระหนี้ทั้งหมดได้ โดยต้องพิจารณาลูกหนี้เป็นรายคน แม้ว่าลูกหนี้อื่นมีทรัพย์สินก็ตาม

    -คดี ล้มละลายต้องเอาความจริงจึงไม่ใช่ ปวิพ. โดยเคร่งครัด เช่น ไม่ใช้ มาตรา 94 หรือจำเลยยื่นบัญชีระบุพยานโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย, สืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงเอกสารได้ เอกสารที่สืบไม่ต้องส่งสำเนาก่อน แม้คู่ความไม่ได้สู้เป็นประเด็นไว้ก็ยกต่อสู้ได้ เช่น ศาลยกอายุความขึ้นยกฟ้องได้

    -บางกรณีที่ใช้ ปวิพ. เช่น เอกสารต้องใช้ต้นฉบับในการสืบพยาน การถามพยานต้องให้โอกาสพยานชี้แจง ตาม ปวิพ. มาตรา 89

    -จำเลย เป็นข้าราชการ แม้เงินเดือนไม่อยู่ในข่ายบังคับคดี แต่เมื่อขวนขวายชำระหนี้ก็อาจเป็นเหตุอื่นที่ไม่ควรพิพากษาให้ล้มละลาย แต่ถ้าไม่ขวนขวายขอชำระหนี้ก็พิพากษาให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้

    -หนี้ ตามคำพิพากษายังไม่ถึงที่สุด ก็ถือเป็นเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ล้มละลายได้ เช่น หนี้ภาษีแม้ได้ประเมินแล้ว แต่จำเลยได้ฟ้องศาลเพิกถอนการประเมิน เนื่องจากศาลอาจเพิกถอนการประเมินได้

    -ลูกหนี้อื่นมีทรัพย์สินก็ไม่ถือเป็นเหตุอื่นที่ลูกหนี้ไม่ควรล้มละลาย

    -หนี้ที่ขาดอายุความ ถือว่าเป็นเหตุที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย แม้จำเลยไม่ได้ต่อสู้ ศาลยกขึ้นเองได้

    -เมื่อศาลยกเลิกการประนอมหนี้ต้องพิพากษาให้ล้มละลายจะย้อนกลับไปนำมาตรา 14 มาใช้บังคับไม่ได้

    -โจทก์ เคยยื่นคำขอรับชำระหนี้แต่เกินกำหนด ต่อมาศาลยกเลิกการล้มละลาย โจทก์นำหนี้มาฟ้องล้มละลายอีกไม่ได้ ถือเป็นเหตุอื่นไม่ควรให้ล้มละลายเนื่องจากเป็นการขยายเวลาให้ขอรับชำระหนี้

    -เมื่อศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วจึงไม่อาจอ้างเหตุก่อนพิทักษ์ ทรัพย์ขึ้นอ้างได้อีก ส่วน มาตรา 135(2) ต้องเป็นเหตุที่เกิดในภายหลัง เช่น ไม่มีเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้

    -คดีล้มละลายจำเลยฟ้องแย้งไม่ได้

    -ฟ้องขอให้ล้มละลาย ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ จำเลยตายก่อนศาลพิพากษา เช่นนี้ศาลสั่งให้จัดการทรัพย์มรดกได้ ตามมาตรา 87

    -คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาอุทธรณ์ได้ทันที คำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่หลังจากศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาเช่นกัน

    -คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดขอทุเลาการบังคับคดีไม่ได้ เนื่องจากเป็นสถานะของบุคคล

    -การอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่ชอบ ศาลเพิกถอนได้

    -การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อใกล้ครบกำหนดเวลาบังคับคดีไม่ใช่การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

    -ผลการพิทักษ์ทรัพย์ มาตรา 15

    -ต้องจำหน่ายคดีอื่นที่ฟ้องให้ล้มละลายไว้แล้ว

    -พิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว

    -ศาลสั่งได้เฉพาะการพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นเท่านั้น

    -ใช้ ปวิพ. มาตรา 254 ไม่ได้ เช่น ขอให้ยึดทรัพย์ระหว่างดำเนินคดีไม่ได้ แต่ขอคุ้มครองประโยชน์ตามมาตรา 264 ได้ เช่น ขอให้งดปล่อยทรัพย์

    -ศาลต้องไต่สวนเป็นคดีฝ่ายเดียว ถ้าศาลเห็นว่าคดีมีมูลที่จะพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายได้ ก็สั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวได้

    -การพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวไม่ทำให้ขาดจากการเป็นลูกจ้างนายจ้าง ลูกจ้างขอรับเงินชดเชยตามกฎหมายไม่ได้

    -ผลการพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว ให้อำนาจ จพท. จัดการทรัพย์สิน แต่เจ้าหนี้ไม่ต้องขอรับชำระหนี้

    -ผลของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์

    -รวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้

    -ทรัพย์ต้องเป็นของลูกหนี้ ถ้าโอนไปเป็นของผู้อื่นแล้ว ต้องเพิกถอนการโอน

    -สิทธิ ของลูกหนี้ที่เป็นเจ้าหนี้บุคคลภายนอก และบุคคลภายนอกมีสิทธิเรียกร้องกับบุคคลอื่น ดังนี้ จพท. เรียกให้บุคคลอื่นชำระหนี้ไม่ได้ ต้องใช้วิธีอายัดสิทธิเรียกร้องตาม ปวิพ.

    -ลูกหนี้ได้ชำระหนี้เต็มจำนวน ศาลยกเลิกการล้มละลาย จพท. หมดอำนาจทั้งปวง

    -ทรัพย์ของเจ้าของรวมเมื่อแยกการครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว ก็ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ได้

    -จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้

    -เมื่อจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ไม่มีอำนาจทำสัญญายอม จพท. เท่านั้นที่มีอำนาจ

    -สิทธิดำเนินคดีอาญา แม้ว่าจะเกี่ยวกับทรัพย์สิน ลูกหนี้ยังคงมีอำนาจดำเนินคดีต่อไปได้ แม้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

    -จพท. มีอำนาจจัดการเฉพาะทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น เช่น หุ้นส่วนถูกพิทักษ์ทรัพย์ จพท.จะจัดการห้างฯ ไม่ได้

    -สิทธิการเช่า แม้เป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้ให้เช่ายินยอม จพท. ยึดและขายทอดตลาดสิทธิการเช่าได้

    -นิติกรรมที่ลูกหนี้ทำภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เป็นโมฆะ จพท. ต้องฟ้องเพิกถอนเป็นคดีใหม่

    -เมื่อศาลยกเลิกการล้มละลายแล้ว จพท. ไม่มีอำนาจดำเนินคดีต่อไป ศาลต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

    -เจ้า หนี้ผู้เป็นโจทก์นำยึดต้องเสียค่าถอนการยึดแต่เจ้าหนี้ธรรมดาไม่ต้องเสียค่า ถอนการยึด เพราะถือว่า จพท. ใช้ดุลพินิจในการยึดทรัพย์ตามคำแนะนำของเจ้าหนี้เท่านั้น

    -ทรัพย์สิน ของลูกหนี้ พิจารณาทางทะเบียน ข้ออ้างว่า ถือที่ดินแทนจะมอบอำนาจให้โอนกลับเป็นของตนไม่ได้ แต่ทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่ทะเบียนกรรมสิทธิ์ จึงโอนกลับให้แก่เจ้าของได้

    -จพท. เลิกจ้างพนักงาน ลูกหนี้ฟ้อง จพท. เป็นจำเลยคดีใหม่ได้ โดย จพท. มีหน้าที่เอาเงินที่ได้จากทรัพย์ของลูกหนี้นำมาชำระ

    -จพท. เพียงผู้เดียวมีอำนาจรวบรวมทรัพย์ คำสั่งในคดีแพ่งใช้ยันไม่ได้ โดยเจ้าหนี้ในคดีแพ่งจะขอคุ้มครองชั่วคราวไม่ได้

    -บุคคล ภายนอกต้องชำระเงินแต่ จพท. จะชำระหนี้กับลูกหนี้ไม่ได้ การชำระหนี้ไม่ชอบ จพท. จะบังคับให้ผู้รับเงินคืนเงินไม่ได้ ต้องบังคับแก่บุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้จ่ายเงิน

    -เงินที่ลูกหนี้ไม่มีสิทธิได้รับ จพท. ไม่มีอำนาจรับ เช่น เงินบำนาญของข้าราชการ ซึ่งต่อมาข้าราชการผู้นั้นถูกไล่ออก

    -การ ต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ถ้าไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ก็ฟ้องลูกหนี้โดยตรง เช่น ฟ้องกองมรดกโดยมีลูกหนี้ในฐานะทายาทของเจ้ามรดก

    -อำนาจเป็นของ จพท. แม้ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติไม่ให้สู้คดีแทน ลูกหนี้ก็ไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนไม่ว่าชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี เช่น ขอพิจารณาคดีใหม่, การอุทธรณ์คดี, คัดค้านการขายทอดตลาด ก็ทำไม่ได้ ลูกหนี้ไปทำสัญญายอมหลังถูกพิทักษ์ทรัพย์นั้นไม่ชอบแม้บุคคลภายนอกสุจริตก็ ตาม

    -จำเลยมีอำนาจดำเนินคดีในล้มละลายไม่ว่าชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี เช่น คัดค้านการขายทอดตลาดในคดีที่เจ้าพนักงานบังคับคดี

    ขายทอดตลาดแทน จพท., ร้องขอพิจารณาคดีใหม่ให้เพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์

    -ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วเจ้าหนี้ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นคดีแพ่งอีกไม่ว่าภายหลังศาลจะมีคำสั่งให้พิจารณาคดีล้มละลายใหม่ก็ตาม

    -เจ้าหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ ต้องฟ้อง จพท. เป็นจำเลย จะฟ้องลูกหนี้ไม่ได้ เช่น ฟ้องให้ลูกหนี้โอนที่ดิน

    -บุคคลล้มละลายทำการจำนองที่ดินแก่บุคคลอื่น นิติกรรมเป็นโมฆะ ผู้รับจำนองต้องฟ้องลูกหนี้เป็นจำเลย จะฟ้อง จพท. ไม่ได้

    -จพท. มีอำนาจยกอายุความเป็นเหตุยกคำขอรับชำระหนี้ได้

    -จพท.จัดการเฉพาะลูกหนี้ที่ล้มละลายไม่รวมบุคคลอื่น เช่น ความรับผิดของผู้ประกัน

    -ลูกหนี้ มีอำนาจดำเนินคดีล้มละลายได้ เช่น อุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ คำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้ โดยสามารถจ่ายค่าใช้จ่ายตามคำสั่งศาลได้ เช่น ค่านำหมาย

    -หนี้เกิดภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เจ้าหนี้ฟ้อง จพท. ได้ แต่ไม่มีสิทธิได้รับเงินจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ โดยได้เฉพาะทรัพย์สินใหม่

    -การสู้คดีเป็นอำนาจของ จพท. เมื่อ จพท. สละข้อต่อสู้แล้ว จำเลยยกข้อต่อสู้และนำสืบไม่ได้

    -เงินเดือนข้าราชการที่แยกไม่ปะปนกับเงินอื่น ไม่อยู่ในบังคับคดี ตาม ปวิพ. มาตรา 286(2)

    -ลูกหนี้กระทำการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนไม่ได้ มาตรา 24

    -นิติกรรม ที่ทำก่อนศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต้องเพิกถอนการโอน ส่วนทำภายหลังนิติกรรมเป็นโมฆะ หนี้ตามเช็คจึงไม่มีมูล จำเลยจึงไม่ผิดตาม พรบ.เช็ค

    -จำเลยต่อสู้ในคดีล้มละลายได้รวมทั้งชั้นบังคับคดี ศาลสั่งให้จ่ายค่านำหมายถือว่าได้รับอนุญาตจากศาล จำเลยย่อมจ่ายได้


    ที่มา http://www.buddhakhun.org/main//index.php?topic=2948.0


    โดย : Administrator วัน-เวลา : 26 พฤศจิกายน 2553 | 12:22:36   From ip : 183.89.194.109

     ความคิดเห็นที่ : 1
  • - กรรมการบริษัทฯ ถ้าไม่เป็นผู้ค้ำประกันไม่ต้องล้มละลายตามบริษัท - ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้จัดการห้างที่รับผิดไม่จำกัด ต้องล้มละลายตามห้าง - ผู้ค้ำประกันเงินกู้อาจถูกฟ้องให้ล้มละลายตามผู้กู้ด้วย

    โดย : Administrator  วัน - เวลา : อังคาร 25 ตุลาคม 2554 | 17:37:04   From ip : 58.8.180.242

     ความคิดเห็นที่ : 2
  • - เจ้าพนักงานพทักษ์ทรัพย์ ไม่มีอำนาจเจ้าไปดำเนินการในคดีอาญา แต่มีอำนาจเข้าไปดำเนินการในคดีแพ่งที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์ในกองล้มละลายของลูกหนี้ที่ศาลมีคำสั่งให้ล้มละลาย พิทักษ์ทรัพย์

    โดย : Administrator  วัน - เวลา : อาทิตย์ 9 ธันวาคม 2555 | 11:47:14   From ip : 223.206.142.185

    ร่วมแสดงความคิดเห็น
    ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
    อีเมลล์ (E-mail) :
    แสดงความคิดเห็น :
    ภาพประกอบ :




    ** สูงสุด 6 ภาพ ต่อการโพส 1 ครั้งคะ ใช้ภาพที่เป็นสกุล .jpg, .gif, .png นะคะ ชื่อไฟล์ขอเป็นภาษาอังกฤษนะคะ

    รหัสอ้างอิง :

      


    http://www.thailawyer.net/ ให้คุณมากกว่าที่คุณคิด