TV Online ทุกวันเวลา ๑๐.๐๐-๒๒.๐๐ น.

 ชมรมคนปลดหนี้ & ล้มบนกองฟูก
- ต้องการให้ช่วยแก้ปัญหาหนี้ ถูกทวงหนี้ นายจ้างเอาเปรียบ ถูกให้ออกจากงาน อยากล้มบนกองฟูก
- เราจะช่วยท่านปลดหนี้(ชักดาบ)ตามวิธีทางกฎหมาย

หนี้ บัตรเครดิต แก้ปัญหาหนี้ ชมรมปลดหนี้ ถูกทวงหนี้
  หน้าเว็บหลัก      หน้าหลักบอร์ด      ตั้งคำถาม      ค้นหา      สมัครเข้าชมรมคนปลดหนี้   
สมาชิกบอร์ด ออนไลน์ 23 ท่าน  
:: สมาชิกเข้าระบบ | ชื่อเข้าระบบ :: รหัสผ่าน :
:: ผู้ดูแลระบบ เฉพาะเจ้าหน้าที่ดูแลระบบเท่านั้น
ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ ย้อนกลับ | ถัดไป
  • ปพพ. มาตรา ๑๖๓๙ รับมรดกแทนที่ .. ทายาทตายก่อนเจ้ามรดก .. ลูกสามารถรับมรดกแทนที่ได้ .. ยกเว้นทายาทชั้น ๒ และ ๕
    การรับมรดกแทนที่

            ในการรับมรดกโดยหลักกฎหมายจะให้เฉพาะทายาทลําดับและชั้นที่สนิทที่สุดกับเจ้ามรดกเป็นผู้รับมรดกซึ่งในบรรดาทายาทลําดับต่าง ๆ นั้น ทายาทลําดับผู้สืบสันดาน (ลําดับ ที่๑) จะเป็นผู้ได้รับมรดกก่อน ถ้าหากมีทายาทลําดับ (๑) ทายาทลําดับหลังก็จะไม่ได้รับมรดก (เว้นแต่ ทายาทลําดับที่(๒) บิดามารดาถ้ามีชีวิตอยู่ก็จะได้รับมรดกเสมือนว่าเป็นทายาทชั้นบุตร

            หลักที่ว่าเมื่อไม่มีทายาทลําดับก่อน ทายาทลําดับหลังก็มีสิทธิได้รับมรดกนั้น จะต้องอยู่ภายใต้บังคับหลัก "การรับมรดกแทนที่” ด้วย กล่าวคือ แม้ว่าไม่มีทายาทในลําดับก่อนลําดับใด เพราะทายาทลําดับนั้นได้ตายไปก่อนเจ้ามรดกหรือไม่มีสิทธิรับมรดกเพราะได้ถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าทายาทในลําดับนั้นมีผู้สืบสันดาน กฎหมายก็ให้ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้นรับมรดกแทนที่ทายาทคนนั้นได้ และถ้าผู้สืบสันดานนั้นตายไปเสียก่อนหรือถูกกําจัดมิให้รับมดกเช่นเดียวกัน กฎหมายก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานคนนั้นรับมรดกแทนที่สืบต่อๆ กันเช่นนี้จนหมดสาย ดังนั้น จึงเห็นได้ว่ามรดกของเจ้ามรดกตกทอดไปยังผู้สืบสันดานของทายาทลําดับนั้น ๆ เสียก่อน ก่อนที่จะตกไปยังทายาทลําดับหลัง

            หลักการรับมรดกแทนที่ปรากฏในมาตรา ๑๖๓๙

            มาตรา ๑๖๓๙ “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา ๑๖๒๙ (๑) ผู้สืบสันดาน (๓) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (๔) พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันหรือ (๖) ลุง ป้า น้า อา ถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย”


            หลักเกณฑ์ ตามมาตรา ๑๖๓๙

             การรับมรดกแทนที่กัน จะมีได้เฉพาะผู้สืบสันดานของ (ผู้ซึ่งจะเป็น) ทายาทลําดับ (๑) (๓) (๔) และ (๖) รับมรดกแทนที่ทายาทลําดับนั้นเท่านั้น

            ผู้สืบสันดานของทายาทลําดับ (๒) กล่าวคือ ลําดับบิดามารดา และ (๕) กล่าวคือ ลําดับปู่ ย่า ตา ยาย ขึ้นมารับมรดกแทนที่ทายาทลําดับ (๒) หรือ (๕) ไม่ได้


            เหตุที่กฎหมายไม่ให้ ผู้สืบสันดานของทายาทลําดับ (๒) และ (๕) รับมรดกแทนที่ เพราะ

            - กรณีทายาทลําดับ (๒)บิดามารดา : ผู้สืบสันดานของทายาทลําดับ (๒) ก็คือพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือพี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาของเจ้ามรดกนั่นเอง ซึ่งเป็นทายาทลําดับ (๓) หรือ (๔) ตามมาตรา ๑๖๒๙ หากกฎหมายกําหนดว่าเมื่อบิดาหรือมารดา (ทายาทลําดับ (๒) )ตายไปเสียก่อนให้พี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาของเจ้ามรดกรับมรดกแทนที่ได้ ก็จะมีผลว่าทายาทในลําดับ (๓) หรือ (๔) จะเข้ามารับมรดกร่วมกับบิดาหรือมารดาที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือร่วมกับทายาทลําดับ (๑) ได้ ซึ่งจะขัดกับหลักญาติสนิทพิชิตญาติห่าง

            - กรณีทายาทลําดับ (๕)ปู่ ย่า ตา ยาย : ผู้สืบสันดานของทายาทลําดับ (๕) ก็คือลุง ป้า น้า อาของเจ้ามรดกนั่นเอง ซึ่งก็เป็นทายาทลําดับ (๖) หากกฎหมายให้ ลุง ป้า น้าหรืออารับมรดกแทนที่ปู่ ย่า ตาหรือยายของเจ้ามรดกที่ตายไปก่อนเจ้ามรดก ก็จะมีผลว่าลุงป้าน้าอาก็มีสิทธิรับมรดกรวมกับปู่ ย่าตาหรือยายที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งจะทําให้ ขัดต่อหลัก “ญาติสนิทพิชิตญาติห่าง” (ลุงป้าน้าอาซึ่งเป็นทายาทลําดับ (๖) จะรับมรดกได้เฉพาะเมื่อไม่มีปู่ ย่าตายาย (ทายาทลําดับ (๕) เท่านั้น)

    ภาพ:ตัวอย่าง.jpg

            ตามตัวอย่าง เมื่อ ก. ตาย มรดกจะตกแก่ บ. (บิดา) ม. (มารดา) ข. (บุตร) และ ภ.(ภริยา) คนละเท่า ๆ กัน แต่หาก บ. บิดาตายก่อน ที่ ก.(เจ้ามรดก)ตาย น. จะไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ. มรดกก็ตกแก่ ม. ๑ ส่วน ภ. ๑ ส่วน และ ข. ๑ ส่วน เท่า ๆ กัน เป็นต้น

            ตามตัวอย่าง หาก ข.(บุตร)ตายก่อน ก.(เจ้ามรดก)  บุตรของ ข.(บุตร) สามารถรับมรดกแทนที่ได้ ข.(บุตร) ก.(เจ้ามรดก)ได้  เพราะ ข.(บุตร) อยู่ในทายาทลำดับที่ ๑ ตามมาตรา ๑๖๒๙ (๑) 

     


    โดย : Administrator วัน-เวลา : 2 เมษายน 2553 | 12:10:06   From ip : 58.8.147.26

     ความคิดเห็นที่ : 1
  • มาตรา ๑๖๓๐ ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่งๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๖๒๙ ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

    แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร

    ------------------------------------------------------------------------

    ชื่อคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาฎีกาที่ 777/2538

    ศาลมีคำสั่งตั้งให้โจทก์ซึ่งเป็นน้องร่วมบิดามารดากับเจ้ามรดกเป็นผู้จัดการมรดก เจ้ามรดกเคยมีภรรยาแต่ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้วและไม่มีบุตรฉะนั้นหากจำเลยเป็นบุตรเจ้ามรดก จำเลยย่อมมีสิทธิรับมรดกแต่เพียงผู้เดียว การรับมรดกของจำเลยก็ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนโจทก์ซึ่งเป็นน้องเจ้ามรดกอยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิรับมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๓๐ จึงไม่เป็นทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ไม่มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ฉะนั้นจึงต้องสืบพยานโจทก์จำเลยให้ได้ความเสียก่อนว่าจำเลยเป็นบุตรเจ้ามรดกหรือไม่
     
    ............................................................................................
     
         
    ชื่อคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาฎีกาที่ 775/2538
    ฎีกาของจำเลยที่ว่า การซื้อขายที่ดินพิพาทมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๕๖ นั้นความข้อนี้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงไม่มีประเด็น และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่สำหรับคดีนี้ศาลฎีกายังไม่เห็นสมควรที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้ จึงไม่ยกขึ้นวินิจฉัยตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ (๕)ประกอบมาตรา ๒๔๖ และ ๒๔๗
     
    .................................................................................................
     
         
    ชื่อคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาฎีกาที่ 773/2538
    การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้าง-หุ้นส่วนจำกัด พ.ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับมูลหนี้ตามบันทึกรับสภาพหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้อง ไม่ใช่ผู้ร้องยอมรับในส่วนของผู้ร้องว่าเป็นหนี้จำเลย บันทึกคำให้การของผู้ร้องไม่ใช่การรับสภาพ-ความรับผิดโดยสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๘๘ วรรคสาม (เดิม)
    แม้ผู้ร้องต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามป.พ.พ. มาตรา ๑๐๗๗ แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๒๙๕ แม้ห้างถูกเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จนศาลได้ออกคำบังคับเพราะเป็นหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.๒๔๘๓ มาตรา ๑๑๙ แล้วก็ตาม เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของห้างเมื่อพ้น ๒ ปี นับแต่ห้างผิดนัดชำระหนี้ในมูลหนี้ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ สิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ย่อมขาดอายุความ
     
    ......................................................................................................
     
         
    ชื่อคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาฎีกาที่ 766/2538
    คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ส. ผู้ตายให้ชำระหนี้ให้โจทก์ในจำนวนหนี้ที่ผู้ตายนำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์กับหนี้อื่นที่ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์ โดยจำเลยที่ ๑ที่ ๒ และที่ ๓ ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ของผู้ตายให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐาน เป็นการฟ้องขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตาย โดยมีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ตายเป็นหนี้โจทก์ค่านำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์กับหนี้อื่นดังฟ้องของโจทก์เพียงใดหรือไม่ซึ่งคดีนั้นศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายชำระหนี้ของผู้ตายให้แก่โจทก์ และคดีถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ ในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตาย กับจำเลยที่ ๔ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายรับผิดชำระหนี้ที่ผู้ตายนำไม้รายเดียวกับในคดีก่อนไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์ โดยอ้างว่าหนี้ดังกล่าวมีจำนวนเงินมากกว่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน โจทก์จึงนำหนี้ที่เหลือมาฟ้องคดีนี้นั้น เป็นการฟ้องขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของผู้ตายเช่นเดียวกับการฟ้องคดีก่อน และคดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อนในส่วนที่ว่าผู้ตายเป็นหนี้โจทก์ค่านำไม้ของโจทก์ไปขายแล้วไม่นำเงินส่งมอบให้โจทก์เพียงใดหรือไม่ แม้จะได้ความดังกล่าว กรณีก็มิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมาย-วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๘ เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด แต่อย่างไรก็ดีการที่โจทก์ได้ยื่นคำฟ้องคดีก่อนต่อศาลชั้นต้นและคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้นำคดีนี้ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันนั้นมายื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นอีก จึงเป็นการฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๓ วรรคสอง (๑)
     

    ...................................................................................................

     

    ผิดยักยอกทรัพย์มรดกหรือไม่


    ข้อความ : นางกอ ซึ่งสามีตายไปแล้ว มีบุตรชาย 5 คน คือนายหนึ่ง ,สอง,สาม,สี และ ห้า ต่อมานายหนึ่งตาย ซึ่งนายหนึ่ง ไม่มีภรรยาและบุตร โดยนายหนึ่งมีที่ดินแปลงหนึ่ง นางกอชรามากแล้ว อ่านเขียนไม่ได้ พักอาศัยอยู่กับบุตรคนที่สอง,สาม ต่อมาบุตรคนที่สอง,สาม ได้ดำเนินการให้นางกอไปจดทะเบียนรับโอนที่ดินมรดกของนายหนึ่งเป็นของนางกอคนเดียว โดยให้นางกอแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าทายาทโดยธรรมของนายหนึ่งมีนางกอคนเดียว หลังจากนั้นนายสอง กับนายสาม ได้ดำเนินการให้นางกอจดทะเบียนโอนให้ที่ดินกับตนเอง (นายสองกับสาม) นายสี่ จึงมาแจ้งความใดดำเนินคดีกับ
    นายสองและสาม กล่าวหาว่าร่วมกันยักยอกทรัพย์มรดก โดยยืนยันว่าเมื่อนายหนึ่งตายที่ดินหรือทรัพย์มรดกต้องตกกับพี่น้องทุกคนแบ่งคนละส่วนเท่าๆ กัน ตาม ปพพ.1633 ส่วนนางกอมารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนทายาทชั้นบุตร มีสิทธิได้รับ 1 ส่วน เช่นกัน ตาม
    ปพพ.1630 ว.2 แต่ผมแย้งว่าเมื่อนายหนึ่งตาย ซึ่งนายหนึ่งไม่มีภรรยาและบุตร ทรัพย์มรดกย่อมตกแก่มารดาคือนางกอคนเดียว ตาม ปพพ.1629,1630 วรรคแรก ซึ่งนายสี่ไม่ยอม ยืนยันว่าได้ปรึกษาผู้พิพากษาอาวุโสมาแล้วบอกว่าเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์มรดก ตาม ป.อาญา ม.83,352,354 ใครรู้จริงช่วยตอบอธิบายด้วยครับ

    จาก : เฒ่าทะเล - 05/09/2007 19:08


    ข้อความ : ..............ผพษ บางคนก็มั่ว วินิจฉัยผิดเข้าไว้ก่อน แล้วให้ศาลตัดสิน

    ...... ผมว่าคุณเต่าทะเล คลำถูกจุดแล้วละครับ รับคำร้องทุกข์แล้วสั่งไม่ฟ้องไป ให้อัยการกลั่นกรอง/ทำงานบ้าง

    จาก : เห็นด้วยคน - 05/09/2007 20:08


    ข้อความ :

    อยากได้น่าจะไปฟ้องเอา
    ผมก็ยังมืนๆ อยู่เรื่องนี้ รอพี่ๆ ท่านอื่นแนะนำ

    จาก : กด - 05/09/2007 22:30


    ข้อความ : ชัดเจนครับ ดูฎีกาเอา
    ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย



    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2535
    พนักงานอัยการ จังหวัด ชลบุรี
    โจทก์

    โจทก์ร่วม
    โจทก์

    นาย บรรจง สมบูรณ์ ทรัพย์
    โจทก์

    นางสาว พิกุล อริยะกุล พรหม มา
    จำเลย

    ป.อ. มาตรา 1(1), 353, 354



    จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล มีหน้าที่จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทตามสิทธิของแต่ละคน (ไม่มีสิทธิจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียวการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาลกระทำหน้าที่ด้วยการจดทะเบียนโอนทรัพย์สินนั้นเป็นของตนจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น) ทายาทส่วนใหญ่ไม่รู้มาก่อนว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเพราะได้มอบหมายให้โจทก์ร่วมเป็นผู้จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดก เอกสารหลักฐานทรัพย์มรดกทั้งหมด โจทก์ร่วมเป็นผู้เก็บรักษาไว้ ซึ่งจำเลยก็รู้เห็นแต่จำเลยกลับไปแจ้งความว่าตราจองที่ดินพิพาทสูญหาย ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทน แล้วจำเลยได้จดทะเบียนโอนมรดกที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียวโดยอ้างว่าควรจะเป็นของจำเลย จำเลยไม่ยินยอมที่จะให้เอาชื่อทายาทอื่นเป็นผู้รับมรดกร่วมกับจำเลย แสดงให้เห็นว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกด้วยการจดทะเบียนโอนทรัพย์มรดกที่ดินพิพาทเป็นของตนจึงเป็นการกระทำโดยทุจริต มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 353 ประกอบด้วย มาตรา 354



    ________________________________


    โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนางเหลียง แซ่เจี่ยหรือแซ่อึ้ง หรือผิวพานิช ตามคำสั่งศาลจังหวัดชลบุรีเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2528 เวลากลางวัน จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของนางเหลียงได้ยักยอกที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกที่จะตกทอดแก่นายบรรจง สมบูรณ์ทรัพย์ นายใหญ่ อริยะกุลพรหมมานางสง่า จันทกานนท์ นางกาญจา ธรรมลิขิตกุล นางอารีย์ พาแก้วนายนิพนธ์ ผิวพานิช นางสาวเจริญ ผิวพานิช นางสาวรำไพอริยะกุลพรหมมา ทายาทซึ่งเป็นผู้เสียหายกับจำเลยไปเป็นของจำเลยเอง โดยจำเลยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะส่วนที่เป็นมรดกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเพียงคนเดียว มิได้จัดแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวให้แก่ทายาทตามหน้าที่ของจำเลยตามกฎหมายโดยทุจริต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352, 353, 354ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน 4,974,987.50 บาท แก่ผู้เสียหาย

    จำเลยให้การปฏิเสธ

    ระหว่างพิจารณา นายบรรจง สมบูรณ์ทรัพย์ ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต

    ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 จำคุก 1 ปี ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน 4,974,987.50 บาท แก่ผู้เสียหาย

    จำเลยอุทธรณ์

    ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง

    โจทก์และโจทก์ร่วมฎีกา

    ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนางเหลียงตามคำสั่งศาล ได้จดทะเบียนโอนมรดกที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกก่อน แล้วจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกได้จดทะเบียนโอนมรดกที่ดินพิพาทนั้นให้แก่จำเลยอีกทีหนึ่ง แล้วศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การเจรจาแบ่งปันทรัพย์มรดกของนางเหลียงระหว่างทายาทยังตกลงกันไม่ได้ เมื่อจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล จำเลยมีหน้าที่จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทตามสิทธิของแต่ละคนจำเลยไม่มีสิทธิจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียวการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาล กระทำผิดหน้าที่ด้วยการจดทะเบียนโอนทรัพย์สินนั้นเป็นของตนจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น ทั้งทายาทส่วนใหญ่ไม่รู้มาก่อนว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนางเหลียงเพราะได้มอบหมายให้โจทก์ร่วมเป็นผู้จัดการแบ่งปัน นอกจากนี้เอกสารหลักฐานและทรัพย์มรดกทั้งหมดโจทก์ร่วมเป็นผู้เก็บรักษาไว้โดยนายชาญ กุลชราทรเทพ นำมามอบให้ในขณะที่จัดงานศพของนางเหลียงซึ่งจำเลยก็รู้เห็น แต่จำเลยกลับไปแจ้งความว่าตราจองเลขที่ 88 สูญหาย ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรีออกใบแทน แล้วจำเลยได้จดทะเบียนโอนมรดกที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียว ประกอบกับจำเลยเบิกความว่า ที่ดินตามตราจองเลขที่ 88 นี้ควรจะเป็นของจำเลยและนางอารีย์เพราะนางอารีย์ก็มีส่วนเสียหาย ทายาทอื่นไม่เสียหาย มีแต่ได้ประโยชน์จำเลยจึงไปยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนางเหลียงและจดทะเบียนโอนใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวโดยนางอารีย์ให้ใส่ชื่อจำเลยไว้ก่อน แล้วค่อยแบ่งกันภายหลังและเบิกความตอบคำถามค้านของโจทก์ว่า ที่ดินตามตราจองเลขที่ 88เฉพาะส่วนที่เป็นมรดกและเป็นชื่อของจำเลยถือกรรมสิทธิ์แล้วนั้นจำเลยไม่ยินยอมที่จะให้เอาชื่อทายาทอื่นเป็นผู้รับมรดกร่วมกับจำเลย แสดงให้เห็นว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของนางเหลียงด้วย การจดทะเบียนโอนทรัพย์มรดกที่ดินพิพาทเป็นของตน จึงเป็นการกระทำโดยทุจริต มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 354 ที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่า แม้ความคิดของจำเลยจะไม่ชอบด้วยหน้าที่ของผู้จัดการมรดกแต่ก็พอเห็นได้ว่าเป็นการเข้าใจผิดของจำเลยเองคิดว่าคงทำได้ จำเลยไม่มีเจตนาทุจริตนั้น เห็นว่าจากพยานหลักฐานและพฤติการณ์แห่งคดีไม่มีเหตุผลว่าจำเลยกระทำโดยเข้าใจผิดเห็นได้จากจำเลยเองก็เบิกความรับว่า จำเลยรู้ว่าทรัพย์มรดกส่วนที่เป็นที่ดินจำเลยต้องแบ่งให้แก่ทายาททุกคนเท่า ๆ กัน

    พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 354 จำคุก 1 ปี ปรับ 6,000 บาทคำเบิกความของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่งในสามจำคุก 8 เดือนปรับ 4,000 บาท จำเลยเป็นหญิง มีฐานะดี มีอาชีพเป็นหลักแหล่งและไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับจัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 และให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน 4,974,987.50 บาท แก่เจ้าของ

    ( สมพงษ์ สนธิเณร - เสริมพงศ์ วรยิ่งยง - สุเทพ กิจสวัสดิ์ )


    หมายเหตุ

    จาก : XXX - 06/09/2007 13:38


    ข้อความ : อีกฎีกาครับ
    ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย



    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3525/2528
    นาย ป๋อเตียง รังเรืองฤทธิ์ กับพวก
    โจทก์

    นาย จิว อึ้งถาวร กับพวก
    จำเลย





    ป.อ. มาตรา 352, 353



    ผู้มอบหมายทรัพย์ให้ผู้ครอบครองอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา352นั้นมิได้หมายความเฉพาะแต่เจ้าของทรัพย์ศาลซึ่งมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกก็ถือว่าเป็นผู้มอบหมายทรัพย์มรดกให้แก่ผู้จัดการมรดกครอบครองหากผู้จัดการมรดกเบียดบังเอาไปโดยทุจริต อาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352,354 ได้



    ________________________________





    โจทก์ทั้งสามฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางสาวแชตามคำสั่งศาล ได้สมคบกับจำเลยที่ 2 แจ้งต่อเจ้าพนักงานว่าจำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว เพื่อให้เจ้าพนักงานจดทะเบียนให้ อันเป็นความเท็จเพราะไม่ได้มีการซื้อขายกันจริง เป็นการเบียดบังเอาทรัพย์มรดกเป็นของตนโดยทุจริต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352, 353, 354, 83

    ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วประทับฟ้องไว้พิจารณาเฉพาะจำเลยที่ 1

    จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ

    ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง

    โจทก์ทั้งสามอุทธรณ์

    ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

    โจทก์ทั้งสามฎีกา

    ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352 ผู้มอบหมายทรัพย์ให้ผู้ครอบครองนั้น ผู้มอบหมายในที่นี้มิได้หมายความเฉพาะแต่เจ้าของทรัพย์เท่านั้นศาลซึ่งมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกก็ถือได้ว่าเป็นผู้มีอำนาจมอบหมายทรัพย์มรดกให้แก่ผู้จัดการมรดกครอบครองเพื่อจัดการตามสิทธิและหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่าจำเลยที่ 1ได้เบียดบังเอาทรัพย์มรดกที่ตนได้รับมอบหมายให้จัดการในฐานะผู้จัดการมรดกไปโดยทุจริตแล้ว จำเลยที่ 1 อาจมีความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352, 354 ได้

    พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 มีเจตนาทุจริตตามฟ้องหรือไม่ แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

    ( สมศักดิ์ เกิดลาภผล - อำนวย อินทุภูติ - ดำริ ศุภพิโรจน์ )


    หมายเหตุ

    ข้อเท็จจริงตามกระทู้เห็นได้ชัดเจนเลยว่าผู้ต้องหาได้แจ้งกับเจ้าพนักงานที่ดินเลยว่าเป็นทายาทเพียงคนเดียว ทั้งที่ความจริงไม่ใช่ ย่อมเป็นการชี้ให้เห็นถึงเจตนาอันทุจริตของนางกอ ดังนั้นผิดตามข้อกล่าวหาครับ

    จาก : XXX - 06/09/2007 13:43

    ข้อความ : ๑.ปพพ. มาตรา ๑๕๙๙ เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้น ตกทอดแก่ทายาท
    ๒. ปพพ. มาตรา ๑๖๐๓ กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมาย หรือโดยพินัยกรรม
    ทายาทมีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า ทายาทโดยธรรม
    ฯลฯ
    ๓. ปพพ มาตรา ๑๖๒๙ ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้นและภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๑๖๓๐ วรรคสอง แต่ละลำดับมีสิทธิรับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้
    (๑) ผู้สืบสันดาน
    (๒)บิดามารดา
    (๓) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
    ฯลฯ
    ๔.ปพพ มาตรา ๑๖๓๐ ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณี ในลำดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๖๒๙ ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายเลย
    นั้นหมายความว่า หากหนึ่งมีผู้สืบสันดานตาม (๑) มีชีวิตอยู่ทายาทลำดับถัด ลงไปไม่มีสิทธิรับมรดกของนายหนึ่งเลย ยกเว้นถ้าบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร ตาม ๑๖๓๐ วรรคสอง และในกรณีนี้ นายหนึ่งไม่มีทายาทตาม(๑) และไม่มีผู้รับมรดกแทนที่ของทายาทตาม (๑) มรดกจึงตกไปยังทายาทลำดับที่ (๒) คือบิดามารดา เมื่อนางกอมารดาของนายหนึ่งยังมีชีวิตอยู่ ทายาทลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิรับมรดกของนายหนึ่งเจ้ามรดกเลย มรดกของนายหนึ่งจึงตกเป็นของนางกอ เพียงคนเดียว การที่นางกอแจ้งว่า นายหนึ่งมีทายาทคนเดียว ซึ่งหมายถึงทายาทโดยธรรม ตาม ปพพ.มาตรา ๑๖๒๙ จึงถูกต้องแล้ว เมื่อทรัพย์มรดกตกเป็นของนางกอคนเดียว นางกอ จึงมีสิทธิจัดการทรัพย์สินตาม ปพพ มาตรา ๑๓๓๖ และหากนางกอตาย ที่ดินดังกล่าวจึงจะเป็นมรดก ตาม ปพพ.๑๕๙๙ + ๑๖๐๐ จึงจะตกเป็นของทายาทคือสอง สาม และสี่ ซึ่งถึงตอนนั้น สี่ จึงจะอ้างมาตรา ๑๖๓๓ ได้ เมื่อนางกอ มีอำนาจจัดการทรัพย์ของตนได้ นางกอจึงสามารถโอนที่ดินแปลงดังกล่าวให้นายสองและสามได้ และ แม้ว่านางกอยังไม่ได้โอนที่ดินไปให้สองและสาม เมื่อนางกอยังไม่ตาย ทรัพย์สินของนางกอจึงยังไม่เป็นมรดกเพราะตาม ปพพ.มตรา ๑๖๐๐ มรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย นายสองและสามไม่ผิดฐานยักยอกมรดก นายสี่ไม่ใช่ผู้เสียหาย

    โดย : Administrator  วัน - เวลา : เสาร์ 3 กรกฎาคม 2553 | 1:11:06   From ip : 183.89.196.217

    ร่วมแสดงความคิดเห็น
    ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
    อีเมลล์ (E-mail) :
    แสดงความคิดเห็น :
    ภาพประกอบ :




    ** สูงสุด 6 ภาพ ต่อการโพส 1 ครั้งคะ ใช้ภาพที่เป็นสกุล .jpg, .gif, .png นะคะ ชื่อไฟล์ขอเป็นภาษาอังกฤษนะคะ

    รหัสอ้างอิง :

      


    http://www.thailawyer.net/ ให้คุณมากกว่าที่คุณคิด