TV Online ทุกวันเวลา ๑๐.๐๐-๒๒.๐๐ น.

 ชมรมคนปลดหนี้ & ล้มบนกองฟูก
- ต้องการให้ช่วยแก้ปัญหาหนี้ ถูกทวงหนี้ นายจ้างเอาเปรียบ ถูกให้ออกจากงาน อยากล้มบนกองฟูก
- เราจะช่วยท่านปลดหนี้(ชักดาบ)ตามวิธีทางกฎหมาย

หนี้ บัตรเครดิต แก้ปัญหาหนี้ ชมรมปลดหนี้ ถูกทวงหนี้
  หน้าเว็บหลัก      หน้าหลักบอร์ด      ตั้งคำถาม      ค้นหา      สมัครเข้าชมรมคนปลดหนี้   
สมาชิกบอร์ด ออนไลน์ 23 ท่าน  
:: สมาชิกเข้าระบบ | ชื่อเข้าระบบ :: รหัสผ่าน :
:: ผู้ดูแลระบบ เฉพาะเจ้าหน้าที่ดูแลระบบเท่านั้น
ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ ย้อนกลับ | ถัดไป
  • สินสมรส หย่ากันแล้วยึดได้ ทำอย่างใดไม่ให้สินสมรสถูกยึด

    คดีนั้นเจ้าหนี้ฟ้องสามีโดยได้นำยึดทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสที่สามีและภริยามีกรรมส
    ิทธิ์ร่วมกัน ฝ่ายภริยามาร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่เจ้าหนี้นำยึด โดยอ้างว่าได้จด ทะเบียนหย่ากันแล้ว ทรัพย์สินที่เจ้าหนี้นำยึดจึงไม่ใช่สินสมรส ขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยทรัพย์ที่นำยึด ซึ่งศาลได้วินิจฉัยว่าผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์

    หรือคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2353/2536 หย่ากันโดยยกบ้านและที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสแก่ภริยาอันเป็นการสมยอมเพื่อหลีกเลี่ยงมิ
    ให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ ที่ดินและบ้านพิพาทจึงไม่ตกแก่ภริยาเพียงผู้เดียว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิฟ้องเพิกถอนนิติ กรรมการยกทรัพย์ที่เป็นสินสมรสที่ให้เป็นของภริยาผู้เดียวได้ ดังนั้นการหย่ากันแล้วยังอยู่ด้วยกันและใช้ชีวิตอย่างปกติสุขฉันสามีภริยา ก็เป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่เจ้าหนี้จะนำสืบพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าเป็นการสมยอมกัน
    หย่าเพื่อหนีหนี้ มิได้ตกลงที่จะจดทะเบียนหย่ากันจริง ๆ.

    ----------------------------------------------

    การที่สามีภริยาหย่ากันและได้แบ่งทรัพย์สินกันแล้วด้วย แต่ปรากฏว่าที่จริงแล้วยังมีทรัพย์สินอีกหลายรายการที่ไม่ได้นำมาแบ่งกันในตอนหย่า รวมทั้งที่ดินแปลงหนึ่ง ซึ่งเพิ่งทราบเมื่อได้มีการขายให้คนอื่น อยากทราบว่าจะฟ้องเอาทรัพย์สินนั้นมาแบ่งกันอีกได้หรือไม่

    การมีอยู่ของสินสมรสที่จะนำมาแบ่งให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากันเมื่อคู่สมรสหย่ากันนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532 กำหนดไว้ว่า เมื่อหย่ากันแล้วให้จัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยา ดังนี้

    (ก) ถ้าเป็นการหย่ากันโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ให้จัดการแบ่งทรัพย์สิน ของสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนการหย่า

    (ข) ถ้าเป็นการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล คำพิพากษาส่วนที่บังคับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้นมีผลย้อนหลังไปถึงวันฟ้องหย่า

    ถ้าเป็นสินสมรสถึงหย่ากันไปแล้ว ก็ยังนำมาแบ่งกันได้อีก ตัวอย่างคดีที่มีการฟ้องร้องและผลของคำพิพากษา เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ 1254/2538 ตัดสินว่า การที่โจทก์ฟ้องขอหย่าขาดกับจำเลยและจำเลยสมัครใจหย่าขาดกับโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดกันได้เป็นยุติแล้วนั้น เมื่อโจทก์ได้ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งสินสมรส โดยสินสมรสบางรายการจำเลยจำหน่ายไปแล้วและบางรายการยังมีอยู่

    เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยนำหรือจะนำไปใช้ในกิจการที่จำเลยกับโจทก์กระทำร่วมกันหรือนำไป
    ชำระหนี้ที่โจทก์กับจำเลยร่วมกันก่อให้เกิดขึ้นแก่ผู้ใด ทั้งจำเลยจำหน่ายสินสมรสไปในระหว่างที่โจทก์มิได้อาศัยอยู่กับจำเลย เช่นนี้ เห็นได้ชัดว่าจำเลยจำหน่ายสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวและมิได้รับความยินยอมจ
    ากโจทก์ ย่อมถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งแล
    ะพาณิชย์ มาตรา 1534 โจทก์มีสิทธิขอแบ่งสินสมรสส่วนนี้ได้ครึ่งหนึ่ง

    ถ้าทรัพย์สินนั้นต่อมาได้มีการขายต่อให้ผู้อื่น ลองดูผลของคำพิพากษาที่ศาลได้เคยตัดสินไว้ในคดีตามคำพิพากษาฎีกาที่ 4561/2544 ว่า ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่าโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ต้องแบ่งสินสมรสคนละส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 แต่เมื่อยังมิได้แบ่งกันจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยกรรมสิทธิ์ ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน

    การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมทำสัญญาขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์ไม่ทราบเรื่องและไม่ได้ให้ความยินยอมด้วย แม้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน สัญญาดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสอง แต่ยังคงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1362 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองเฉพาะในส่วนเกี
    ่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้.


    โดย : Administrator วัน-เวลา : 28 พฤษภาคม 2554 | 16:49:40   From ip : 49.48.219.31

     ความคิดเห็นที่ : 1
  • สามีเล่นหุ้นขาดทุนเป็นหนี้เป็นสินจนถูกเจ้าหนี้ฟ้องและถูกศาลพิพากษาให้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ หลายแสนบาท ตอนนี้ใกล้จะครบกำหนดเวลาที่ศาลให้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แล้ว ยังหาเงินชำระหนี้ให้เขา ไม่ได้ สามีไม่มีทรัพย์สินส่วนตัว คงมีแต่ที่ดินพร้อมบ้านที่อยู่อาศัยราคาประมาณล้านบาทเศษ ซึ่งเป็น สินสมรส มีลูกยังเล็ก ๆ อยู่ 2 คน หากถูกยึดที่ดินกับบ้าน คงเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ภริยาควรทำอย่างไร จึงจะไม่ถูกยึดที่ดินกับบ้าน เจ้าหนี้ขู่ว่าถ้ายึดที่ดินกับบ้านขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ จะนำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวไปฟ้องให้สามีล้มละลายอีกต่างหาก เจ้าหนี้จะฟ้องคดีล้มละลาย ได้หรือไม่ ช่วยชี้แนะทางออกให้ด้วย ปัญหากฎหมายวันนี้ถามมาจากผู้ใช้ชื่อว่า "คนใกล้บ้า"เจ้าของจดหมายใช้ชื่อว่า คนใกล้บ้า

    ฟังแล้วรู้สึกเป็นห่วง อยากให้กำลังใจว่า อย่าเพิ่งท้อแท้ คนที่ยิ่งกว่า เรา ยังมีอีกมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่เศรษฐกิจกำลังตกต่ำอยู่ในขณะนี้ขอให้ต่อสู้ไป เพราะชีวิตคือการต่อสู้ ความพยายามคือความสำเร็จ เชื่อว่าสักวันหนึ่งชีวิตครอบครัว และฐานะคงจะกลับฟื้น คืนดีขึ้นมาจนได้ปัญหาข้อกฎหมายข้อแรกที่ถามคือ ภริยาควรทำอย่างไร จึงจะไม่ถูกยึดที่ดินกับบ้านซึ่งเป็นสินสมรส ตามหลักเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ศาลจะออกคำบังคับให้จำเลย หรือลูกหนี้ ตามคำพิพากษาปฏิบัติตามคำพิพากษาระยะเวลาหนึ่งก่อน ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปศาลจะให้เวลาประมาณ 30 วัน ที่ผู้ถามปัญหาบอกมาในจดหมายว่าตอนนี้ใกล้จะครบกำหนดเวลาที่ศาลให้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แล้ว แสดงว่าใกล้จะครบกำหนดเวลาในคำบังคับ

    เมื่อครบกำหนดเวลาในคำบังคับแล้ว หากลูกหนี้ ตามคำพิพากษา ยังไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มีสิทธิขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกนี้ตามคำพิพากษามาเพื่อบังคับชำระหนี้ให้แก่ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป โดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องขอหมายบังคับคดีและดำเนินการ บังคับคดีตามขั้นตอนอื่น ๆ ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด ( ป.วิ.พ. มาตรา 271 คำพิพากษาฎีกาที่ 4741/2539) ผู้ถามปัญหาบอกมาอีกว่า สามีไม่มีทรัพย์สินส่วนตัว แต่มีที่ดินกับบ้าน ซึ่งเป็นสินสมรส สินสมรสเป็นส่วนของสามีซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง เจ้าพนักงาน บังคับคดี จึงมีอำนาจยึดบ้านกับที่ดินสินสมรสมาขายทอดตลาดเพื่อนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาได้ ภริยาของลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะไม่ยอมให้ยึดคงไม่ได้ และเมื่อเจ้าพนักงาน บังคับคดียึดแล้ว ภริยาของลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะร้องขัดทรัพย์ขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ที่ยึด ก็ทำไม่ได้เช่นกัน

    อย่างไรก็ดี ถ้าหนี้ตาคำพิพากษากรณีนี้ไม่ใช่หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา ภริยาของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ก็มีสิทธิขอกันส่วนครึ่งหนึ่งจากเงินที่ขายทอดตลาดบ้านกับที่ดินสินสมรสได้ แต่ถ้าหนี้ตามคำพิพากษา เป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา ภริยาของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็ขอกันส่วนไม่ได้ เพราะสามีภริยาจะต้อง รับผิดร่วมกันในหนี้ร่วมและเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิเอาชำระหนี้จากสินสมรสและสินส่วนตัว ของทั้งสองฝ่าย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1489 คำพิพากษาฎีกาที่ 5696/2533) หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 หมายถึง หนี้ที่สามีภริยา ก่อร่วมกันและยังรวมถึงหนี้ที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้

    1. หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึง การรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว และการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
    2. หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
    3. หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
    4. หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งให้สัตยาบันหนี้ตามคำพิพากษา กรณีนี้จะเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาหรือไม่ ต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงว่าภริยาได้เข้าไปก่อหนี้ร่วมกับสามี หรือไม่ หรือการเล่นหุ้นของสามี ซึ่งเป็นมูลให้เกิดหนี้รายนี้ขึ้น ถือเป็นการงานที่ภริยาทำร่วมกับสามี หรือไม่ หรือภริยาได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวหรือไม่

    ส่วนปัญหาที่สามีถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขู่ว่าหากยึดบ้านกับที่ดินขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอใช้หนี้ จะฟ้องให้สามีล้มละลาย เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะฟ้องได้หรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่าเมื่อยึด บ้านกับที่ดินขายทอดตลาดนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ยังเหลือหนี้อีกเท่าใด ถ้ายังมีหนี้อยู่อีก ไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาท และสามีเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มีสิทธิที่จะนำเอา หนี้ตามคำพิพากษาที่ยังเหลืออยู่ไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาทไปฟ้องให้สามี ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ล้มละลายได้ครับ ทั้งหมดเป็นเรื่องของกฎหมาย แต่ในความเป็นจริงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจเห็นอกเห็นใจ ยอมให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาผ่อนชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยไม่ยึดบ้านกับที่ดิน หรือไม่ฟ้องคดี ล้มละลายก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลูกหนี้ตามคำพิพากษาเองว่า มีความสุจริตใจและมีความกระตือรือร้น ที่จะขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้ให้เขามากน้อยแค่ไหน

     


    โดย : Administrator  วัน - เวลา : เสาร์ 28 พฤษภาคม 2554 | 17:07:05   From ip : 49.48.219.31

     ความคิดเห็นที่ : 2
  • ---------------------------------------------------------

    ---------------------------------------------------------

    กรณีที่หลังจากจดทะเบียนสมรสแล้วฝ่ายภรรยาทำเรื่องกู้ซื้อที่อยู่อาศัย(คอนโด)โดยยื่นเอกสารส่วนตัวเช่นสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านเฉพาะของตนผู้เดียวไม่มีของสามีด้วยกับธนาคาร คำถามคือ หลังจากนั้นสามีต้องคดีหนี้สินบัตรเครดิต หรือเช่าซื้อรถยนต์และต้องถูกยึดทรัพย์ ทางธนาคารเจ้าของคดีบัตรเครดิต หรือบริษัทไฟแนนซ์ จะสามารถตามมายึดคอนโดที่ภรรยาซื้อได้หรือไม่

    บทกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามนี้เลยครับ
    มาตรา 1476 สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความ ยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
    (1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
    (2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
    (3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
    (4) ให้กู้ยืมเงิน
    (5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
    (6) ประนีประนอมยอมความ
    (7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
    (8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกัน หรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
    การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยา จัดการได้มิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง

    มาตรา 1480 การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับ ความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตาม มาตรา 1476 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่ สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรม นั้นได้ เว้นแต่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว หรือ ในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน

    ตามกฎหมายจะเห็นได้ว่ากรณีของคุณสามี-ภรรยาต้องจัดการร่วมกันแต่แม้สามีจะมิได้ให้ความยินยอมเนื่องจากภรรยามิได้แจ้งธนาคาร โดยใช้แต่เอกสารของภรรยา ก็ถือว่าเป็นสินสมรสครับ เพราะได้มาระหว่างสมรส และสัญญาที่ทำระหว่างภรรยากับธนาคารก็สมบูรณ์ด้วยเรื่องจากสามีมิได้โต้แย้ง และถือว่าเป็นการให้สัตยาบันไปโดยปริยายด้วย ดังนั้น ถ้าทางเจ้าหนี่ของสามีตรวจสอบพบว่าภรรยามีทรัพย์สินก็สามารถทำการยึดได้ครับ

    ------------------------------------------------------

    (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1489 คำพิพากษาฎีกาที่ 5696/2533) หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 หมายถึง หนี้ที่สามีภริยา ก่อร่วมกันและยังรวมถึงหนี้ที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้

    1. หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึง การรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว และการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
    2. หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
    3. หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
    4. หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว

          แต่อีกฝ่ายหนึ่งให้สัตยาบันหนี้ตามคำพิพากษา กรณีนี้จะเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาหรือไม่ ต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงว่าภริยาได้เข้าไปก่อหนี้ร่วมกับสามี หรือไม่ หรือการเล่นหุ้นของสามี ซึ่งเป็นมูลให้เกิดหนี้รายนี้ขึ้น ถือเป็นการงานที่ภริยาทำร่วมกับสามี หรือไม่ หรือภริยาได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวหรือไม่

      หนี้ที่อีกฝ่ายไม่ได้ให้สัตายาบัน

     

     

    ------------------------------------------------------


    โดย : Administrator  วัน - เวลา : พุธ 8 มิถุนายน 2554 | 13:32:57   From ip : 183.89.166.240

     ความคิดเห็นที่ : 3
  • ถ้าทรัพย์ที่ถุกยึดนั้นเป็นสินสมรส มิใช่สินเดิมแล้ว แม้หนี้ที่ภริยาก่อขึ้นเป็นส่วนตัวและไม่ได้รับความยินยอมจากสามี และเมื่อสามีได้บอกล้างแล้วหนี้นั้นจะไม่ผูกพันสินบริคณห์ก็ตาม แต่สินสมรสนั้นตราบใดที่ยังมิได้แบ่งกัน ก็ต้องถือว่าสามีและภริยาเป็นเจ้าของรวมในสินสมรสนี้ร่วมกันอยู่ โดยแยกมิได้ว่าผู้ใดเป็นเจ้าของส่วนไหนของสินสมรส ฉะนั้นเมื่อสินสมรสถูกยึดทั้งหมด สามีจึงไม่น่าจะมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้ เพราะถือว่าเป็นเจ้าของรวมซึ่งภริยามีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เมื่อภริยาถูกฟ้องแพ้คดี โจทก์ยึดทรัพย์ที่เป็นสินสมรสได้ สามีจะร้องขัดทรัพย์มิได้ ได้แต่เพียงขอกันส่วนของตนเท่านั้น พิพากษาฎีกาที่ 1792/2492 และ 1902/2494 ซึ่งวินิจฉัยว่าหนี้ที่ภริยาก่อขึ้นโดยสามีมิได้รู้เห็นยินยอมอนุญาต และสามีได้บอกล้างแล้วนั้น เจ้าหนี้จะยึดสินบริคณห์ทั้งหมดมาชำระหนี้มิได้ เจ้าหนี้ต้องขอแบ่งแยกสินบริคณห์ของภริยาตามมาตรา 1483 ถ้าเจ้าหนี้ไม่ขอแบ่งแยก ศาลจะแบ่งมิได้ แนววินิจฉัยตามคำพิพากษาฎีกาเหล่านี้น่าจะต้องถือว่าถูกทับโดยคำพิพากษาฎีกาฉบับหลัง ๆ แล้ว

    อย่างไรก็ตาม แม้สามีจะร้องขัดทรัพย์สินสมรสที่ถูกยึดมิได้ก็ตาม แต่เจ้าหนี้ของภริยาก็ไม่อาจได้รับชำระหนี้จากสินสมรสนั้นทั้งหมด (เว้นแต่จะเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา 1482) คงมีสิทธิเพียงร้องขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของลูกหนี้ เพื่อดำเนินการไปตามคำพิพากษาตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1483 เท่านั้น ปัญหาจึงมีว่า การที่มาตรา 1483 ให้เจ้าหนี้เป็นฝ่ายขอแยกสินบริคณห์นั้น จะหมายความว่าให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนสัดเสียก่อนแล้วจึงจะยึดได้ หรือมีสิทธิยึดสินบริคณห์ทั้งหมดนำออกขายทอดตลาดแล้วจึงขอแยกตอนจะนำเงินที่ขายทอดตลาดได้นี้มาชำระหนี้ เฉพาะสินเดิมนั้น น่าจะไม่มีปัญหา เพราะได้กล่าวมาแล้วว่าไม่ถือเป็นทรัพย์สินรวมของสามีหรือภริยา ฉะนั้นถ้าหนี้นั้นมิใช่หนี้ร่วมแล้ว เจ้าหนี้จะยึดสินเดิมของสามีหรือภริยาที่มิได้ถูกฟ้องด้วยมิได้ ถ้ายึดมา สามีหรือภริยาเจ้าของสินเดิมย่อมมีอำนาจร้องขัดทรัพย์ได้ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 460/2507 และ 6/2509 ดังกล่าวมาแล้ว แต่ถ้าเป็นสินสมรส ก็จะเกิดปัญหาการแยกได้ว่า เจ้าหนี้จะต้องขอแยกก่อนยึดสินสมรสหรือไม่ ถ้าแปลความว่าเจ้าหนี้ต้องขอแยกก่อนยึดแล้ว หากไปยึดเสียก่อน สามีหรือภริยาที่มิได้ถูกฟ้องด้วยก็น่าจะมีสิทธิร้องขัดทรัพย์เฉพาะส่วนของตนได้ แต่ถ้าแปลว่ามีสิทธิขอแยกตอนของรับชำระหนี้หลังจากขายทอดตลาดแล้ว สามีหรือภริยาที่มิได้ถูกฟ้องด้วย ก็จะร้องขัดทรัพย์มิได้ ได้แต่เพียงขอรับส่วนแบ่งของตน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 เท่านั้น

    เนื่องจากมีคำพิพากษาฎีกาที่ 1315/2501, 928/2503 และ 541/2509 ดังกล่าวมาแล้วได้วินิจฉัยว่า สามีจะร้องขัดทรัพย์มิได้ ฉะนั้นหากจะแปลว่าการขอแยกสินสมรสต้องร้องขอก่อนยึดแล้ว ย่อมจะขัดกับคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว และถ้อยคำตามมาตรา 1483 ก็มิได้บัญญัติชัดแจ้งว่าต้องขอแยกก่อนยึดทรัพย์ เพราะใช้ถ้อยคำว่า (เจ้าหนี้อาจร้องขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของลูกหนี้ เพื่อดำเนินการไปตามคำพิพากษาได้) ฉะนั้นเมื่อมีคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวว่า สามีร้องขัดทรัพย์สินสมรสมิได้ และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 การร้องขัดทรัพย์จะทำได้แต่เฉพาะมีข้ออ้างว่า จำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษามิใช่เจ้าของทรัพย์สินที่ยึดเท่านั้น เข้าหลักที่ว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมร่วมกับลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินรวมนั้นแล้วน่าจะต้องแปลมาตรา 1483 ว่า การร้องขอแยกสินสมรสของเจ้าหนี้นั้นอาจกระทำหลังจากที่ได้มีการขายทอดตลาด ตอนจะนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาก็ได้ ฉะนั้นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิยึดสินสมรสได้ โดยสามีหรือภริยาที่มิได้ถูกฟ้องด้วยไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์

    แต่ถ้าสามีหรือภริยาได้หย่าขาดจากกัน และได้แบ่งทรัพย์สินก่อนที่จะมีการยึดทรัพย์แล้ว ก็ต้องถือว่สินสมรสได้แยกออกเป็นกรรมสิทธิ์ของแต่ละฝ่ายโดยเด็ดขาด ไม่เป็นทรัพย์สินรวมอีกต่อไป หากเจ้าหนี้ไปยึดทรัพย์สินที่แบ่งไปแล้วของอีกฝ่ายหนึ่งเข้า เจ้าของทรัพย์สินจึงมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้

    การร้องขัดทรัพย์นี้ จะต้องร้องเสียภายในกำหนดเวลาตามที่มาตรา 288 บัญญัติไว้ มิใช่ว่าจะร้องตามชอบใจเมื่อใดก็ได้ ตามมาตรา 288 ผู้ร้องขัดทรัพย์จะต้องร้องเสียก่อนที่จะเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น ที่กฎหมายบัญญัติเช่นนี้ เพราะถ้าศาลขายทอดตลาดทรัพย์นั้นไปแล้ว ผู้ซื้อย่อมได้ทรัพย์สินนั้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 โดยไม่ต้องคำนึงว่าทรัพย์สินนั้นจะเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ ฉะนั้นการที่จะร้องให้ปล่อยทรัพย์จึงต้องร้องเสียก่อน
    faster (สมาชิก)
    Junior Boarder
    กระทู้: 157
    graphgraph
    สมาชิกที่ไม่ได้ออนไลน์ Click here to see the profile of this user

     

     

     

    ถ้าทรัพย์ที่ถุกยึดนั้นเป็นสินสมรส มิใช่สินเดิมแล้ว แม้หนี้ที่ภริยาก่อขึ้นเป็นส่วนตัวและไม่ได้รับความยินยอมจากสามี และเมื่อสามีได้บอกล้างแล้วหนี้นั้นจะไม่ผูกพันสินบริคณห์ก็ตาม แต่สินสมรสนั้นตราบใดที่ยังมิได้แบ่งกัน ก็ต้องถือว่าสามีและภริยาเป็นเจ้าของรวมในสินสมรสนี้ร่วมกันอยู่ โดยแยกมิได้ว่าผู้ใดเป็นเจ้าของส่วนไหนของสินสมรส ฉะนั้นเมื่อสินสมรสถูกยึดทั้งหมด สามีจึงไม่น่าจะมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้ เพราะถือว่าเป็นเจ้าของรวมซึ่งภริยามีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เมื่อภริยาถูกฟ้องแพ้คดี โจทก์ยึดทรัพย์ที่เป็นสินสมรสได้ สามีจะร้องขัดทรัพย์มิได้ ได้แต่เพียงขอกันส่วนของตนเท่านั้น พิพากษาฎีกาที่ 1792/2492 และ 1902/2494 ซึ่งวินิจฉัยว่าหนี้ที่ภริยาก่อขึ้นโดยสามีมิได้รู้เห็นยินยอมอนุญาต และสามีได้บอกล้างแล้วนั้น เจ้าหนี้จะยึดสินบริคณห์ทั้งหมดมาชำระหนี้มิได้ เจ้าหนี้ต้องขอแบ่งแยกสินบริคณห์ของภริยาตามมาตรา 1483 ถ้าเจ้าหนี้ไม่ขอแบ่งแยก ศาลจะแบ่งมิได้ แนววินิจฉัยตามคำพิพากษาฎีกาเหล่านี้น่าจะต้องถือว่าถูกทับโดยคำพิพากษาฎีกาฉบับหลัง ๆ แล้ว

    อย่างไรก็ตาม แม้สามีจะร้องขัดทรัพย์สินสมรสที่ถูกยึดมิได้ก็ตาม แต่เจ้าหนี้ของภริยาก็ไม่อาจได้รับชำระหนี้จากสินสมรสนั้นทั้งหมด (เว้นแต่จะเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา 1482) คงมีสิทธิเพียงร้องขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของลูกหนี้ เพื่อดำเนินการไปตามคำพิพากษาตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1483 เท่านั้น ปัญหาจึงมีว่า การที่มาตรา 1483 ให้เจ้าหนี้เป็นฝ่ายขอแยกสินบริคณห์นั้น จะหมายความว่าให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนสัดเสียก่อนแล้วจึงจะยึดได้ หรือมีสิทธิยึดสินบริคณห์ทั้งหมดนำออกขายทอดตลาดแล้วจึงขอแยกตอนจะนำเงินที่ขายทอดตลาดได้นี้มาชำระหนี้ เฉพาะสินเดิมนั้น น่าจะไม่มีปัญหา เพราะได้กล่าวมาแล้วว่าไม่ถือเป็นทรัพย์สินรวมของสามีหรือภริยา ฉะนั้นถ้าหนี้นั้นมิใช่หนี้ร่วมแล้ว เจ้าหนี้จะยึดสินเดิมของสามีหรือภริยาที่มิได้ถูกฟ้องด้วยมิได้ ถ้ายึดมา สามีหรือภริยาเจ้าของสินเดิมย่อมมีอำนาจร้องขัดทรัพย์ได้ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 460/2507 และ 6/2509 ดังกล่าวมาแล้ว แต่ถ้าเป็นสินสมรส ก็จะเกิดปัญหาการแยกได้ว่า เจ้าหนี้จะต้องขอแยกก่อนยึดสินสมรสหรือไม่ ถ้าแปลความว่าเจ้าหนี้ต้องขอแยกก่อนยึดแล้ว หากไปยึดเสียก่อน สามีหรือภริยาที่มิได้ถูกฟ้องด้วยก็น่าจะมีสิทธิร้องขัดทรัพย์เฉพาะส่วนของตนได้ แต่ถ้าแปลว่ามีสิทธิขอแยกตอนของรับชำระหนี้หลังจากขายทอดตลาดแล้ว สามีหรือภริยาที่มิได้ถูกฟ้องด้วย ก็จะร้องขัดทรัพย์มิได้ ได้แต่เพียงขอรับส่วนแบ่งของตน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 เท่านั้น

    เนื่องจากมีคำพิพากษาฎีกาที่ 1315/2501, 928/2503 และ 541/2509 ดังกล่าวมาแล้วได้วินิจฉัยว่า สามีจะร้องขัดทรัพย์มิได้ ฉะนั้นหากจะแปลว่าการขอแยกสินสมรสต้องร้องขอก่อนยึดแล้ว ย่อมจะขัดกับคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว และถ้อยคำตามมาตรา 1483 ก็มิได้บัญญัติชัดแจ้งว่าต้องขอแยกก่อนยึดทรัพย์ เพราะใช้ถ้อยคำว่า (เจ้าหนี้อาจร้องขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของลูกหนี้ เพื่อดำเนินการไปตามคำพิพากษาได้) ฉะนั้นเมื่อมีคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวว่า สามีร้องขัดทรัพย์สินสมรสมิได้ และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 การร้องขัดทรัพย์จะทำได้แต่เฉพาะมีข้ออ้างว่า จำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษามิใช่เจ้าของทรัพย์สินที่ยึดเท่านั้น เข้าหลักที่ว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมร่วมกับลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินรวมนั้นแล้วน่าจะต้องแปลมาตรา 1483 ว่า การร้องขอแยกสินสมรสของเจ้าหนี้นั้นอาจกระทำหลังจากที่ได้มีการขายทอดตลาด ตอนจะนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาก็ได้ ฉะนั้นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิยึดสินสมรสได้ โดยสามีหรือภริยาที่มิได้ถูกฟ้องด้วยไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์

    แต่ถ้าสามีหรือภริยาได้หย่าขาดจากกัน และได้แบ่งทรัพย์สินก่อนที่จะมีการยึดทรัพย์แล้ว ก็ต้องถือว่สินสมรสได้แยกออกเป็นกรรมสิทธิ์ของแต่ละฝ่ายโดยเด็ดขาด ไม่เป็นทรัพย์สินรวมอีกต่อไป หากเจ้าหนี้ไปยึดทรัพย์สินที่แบ่งไปแล้วของอีกฝ่ายหนึ่งเข้า เจ้าของทรัพย์สินจึงมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้

    การร้องขัดทรัพย์นี้ จะต้องร้องเสียภายในกำหนดเวลาตามที่มาตรา 288 บัญญัติไว้ มิใช่ว่าจะร้องตามชอบใจเมื่อใดก็ได้ ตามมาตรา 288 ผู้ร้องขัดทรัพย์จะต้องร้องเสียก่อนที่จะเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น ที่กฎหมายบัญญัติเช่นนี้ เพราะถ้าศาลขายทอดตลาดทรัพย์นั้นไปแล้ว ผู้ซื้อย่อมได้ทรัพย์สินนั้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 โดยไม่ต้องคำนึงว่าทรัพย์สินนั้นจะเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ ฉะนั้นการที่จะร้องให้ปล่อยทรัพย์จึงต้องร้องเสียก่อน
    faster (สมาชิก)
    Junior Boarder
    กระทู้: 157
    graphgraph
    สมาชิกที่ไม่ได้ออนไลน์ Click here to see the profile of this user

    เจ้าหนี้ต้องขอแบ่งแยกสินสมรสก่อนถึงจะยึดได้ พิพากษาฎีกาที่ 1792/2492 และ 1902/2494

    -----------------------------------------------------------

    ถ้าทรัพย์ที่ถุกยึดนั้นเป็นสินสมรส มิใช่สินเดิมแล้ว แม้หนี้ที่ภริยาก่อขึ้นเป็นส่วนตัวและไม่ได้รับความยินยอมจากสามี และเมื่อสามีได้บอกล้างแล้วหนี้นั้นจะไม่ผูกพันสินบริคณห์ก็ตาม แต่สินสมรสนั้นตราบใดที่ยังมิได้แบ่งกัน ก็ต้องถือว่าสามีและภริยาเป็นเจ้าของรวมในสินสมรสนี้ร่วมกันอยู่ โดยแยกมิได้ว่าผู้ใดเป็นเจ้าของส่วนไหนของสินสมรส ฉะนั้นเมื่อสินสมรสถูกยึดทั้งหมด สามีจึงไม่น่าจะมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้ เพราะถือว่าเป็นเจ้าของรวมซึ่งภริยามีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เมื่อภริยาถูกฟ้องแพ้คดี โจทก์ยึดทรัพย์ที่เป็นสินสมรสได้ สามีจะร้องขัดทรัพย์มิได้ ได้แต่เพียงขอกันส่วนของตนเท่านั้น พิพากษาฎีกาที่ 1792/2492 และ 1902/2494 ซึ่งวินิจฉัยว่าหนี้ที่ภริยาก่อขึ้นโดยสามีมิได้รู้เห็นยินยอมอนุญาต และสามีได้บอกล้างแล้วนั้น เจ้าหนี้จะยึดสินบริคณห์ทั้งหมดมาชำระหนี้มิได้ เจ้าหนี้ต้องขอแบ่งแยกสินบริคณห์ของภริยาตามมาตรา 1483 ถ้าเจ้าหนี้ไม่ขอแบ่งแยก ศาลจะแบ่งมิได้ แนววินิจฉัยตามคำพิพากษาฎีกาเหล่านี้น่าจะต้องถือว่าถูกทับโดยคำพิพากษาฎีกาฉบับหลัง ๆ แล้ว

    อย่างไรก็ตาม แม้สามีจะร้องขัดทรัพย์สินสมรสที่ถูกยึดมิได้ก็ตาม แต่เจ้าหนี้ของภริยาก็ไม่อาจได้รับชำระหนี้จากสินสมรสนั้นทั้งหมด (เว้นแต่จะเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา 1482) คงมีสิทธิเพียงร้องขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของลูกหนี้ เพื่อดำเนินการไปตามคำพิพากษาตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1483 เท่านั้น ปัญหาจึงมีว่า การที่มาตรา 1483 ให้เจ้าหนี้เป็นฝ่ายขอแยกสินบริคณห์นั้น จะหมายความว่าให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนสัดเสียก่อนแล้วจึงจะยึดได้ หรือมีสิทธิยึดสินบริคณห์ทั้งหมดนำออกขายทอดตลาดแล้วจึงขอแยกตอนจะนำเงินที่ขายทอดตลาดได้นี้มาชำระหนี้ เฉพาะสินเดิมนั้น น่าจะไม่มีปัญหา เพราะได้กล่าวมาแล้วว่าไม่ถือเป็นทรัพย์สินรวมของสามีหรือภริยา ฉะนั้นถ้าหนี้นั้นมิใช่หนี้ร่วมแล้ว เจ้าหนี้จะยึดสินเดิมของสามีหรือภริยาที่มิได้ถูกฟ้องด้วยมิได้ ถ้ายึดมา สามีหรือภริยาเจ้าของสินเดิมย่อมมีอำนาจร้องขัดทรัพย์ได้ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 460/2507 และ 6/2509 ดังกล่าวมาแล้ว แต่ถ้าเป็นสินสมรส ก็จะเกิดปัญหาการแยกได้ว่า เจ้าหนี้จะต้องขอแยกก่อนยึดสินสมรสหรือไม่ ถ้าแปลความว่าเจ้าหนี้ต้องขอแยกก่อนยึดแล้ว หากไปยึดเสียก่อน สามีหรือภริยาที่มิได้ถูกฟ้องด้วยก็น่าจะมีสิทธิร้องขัดทรัพย์เฉพาะส่วนของตนได้ แต่ถ้าแปลว่ามีสิทธิขอแยกตอนของรับชำระหนี้หลังจากขายทอดตลาดแล้ว สามีหรือภริยาที่มิได้ถูกฟ้องด้วย ก็จะร้องขัดทรัพย์มิได้ ได้แต่เพียงขอรับส่วนแบ่งของตน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 เท่านั้น

    เนื่องจากมีคำพิพากษาฎีกาที่ 1315/2501, 928/2503 และ 541/2509 ดังกล่าวมาแล้วได้วินิจฉัยว่า สามีจะร้องขัดทรัพย์มิได้ ฉะนั้นหากจะแปลว่าการขอแยกสินสมรสต้องร้องขอก่อนยึดแล้ว ย่อมจะขัดกับคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว และถ้อยคำตามมาตรา 1483 ก็มิได้บัญญัติชัดแจ้งว่าต้องขอแยกก่อนยึดทรัพย์ เพราะใช้ถ้อยคำว่า (เจ้าหนี้อาจร้องขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของลูกหนี้ เพื่อดำเนินการไปตามคำพิพากษาได้) ฉะนั้นเมื่อมีคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวว่า สามีร้องขัดทรัพย์สินสมรสมิได้ และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 การร้องขัดทรัพย์จะทำได้แต่เฉพาะมีข้ออ้างว่า จำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษามิใช่เจ้าของทรัพย์สินที่ยึดเท่านั้น เข้าหลักที่ว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมร่วมกับลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินรวมนั้นแล้วน่าจะต้องแปลมาตรา 1483 ว่า การร้องขอแยกสินสมรสของเจ้าหนี้นั้นอาจกระทำหลังจากที่ได้มีการขายทอดตลาด ตอนจะนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาก็ได้ ฉะนั้นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิยึดสินสมรสได้ โดยสามีหรือภริยาที่มิได้ถูกฟ้องด้วยไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์

    แต่ถ้าสามีหรือภริยาได้หย่าขาดจากกัน และได้แบ่งทรัพย์สินก่อนที่จะมีการยึดทรัพย์แล้ว ก็ต้องถือว่สินสมรสได้แยกออกเป็นกรรมสิทธิ์ของแต่ละฝ่ายโดยเด็ดขาด ไม่เป็นทรัพย์สินรวมอีกต่อไป หากเจ้าหนี้ไปยึดทรัพย์สินที่แบ่งไปแล้วของอีกฝ่ายหนึ่งเข้า เจ้าของทรัพย์สินจึงมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้

    การร้องขัดทรัพย์นี้ จะต้องร้องเสียภายในกำหนดเวลาตามที่มาตรา 288 บัญญัติไว้ มิใช่ว่าจะร้องตามชอบใจเมื่อใดก็ได้ ตามมาตรา 288 ผู้ร้องขัดทรัพย์จะต้องร้องเสียก่อนที่จะเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น ที่กฎหมายบัญญัติเช่นนี้ เพราะถ้าศาลขายทอดตลาดทรัพย์นั้นไปแล้ว ผู้ซื้อย่อมได้ทรัพย์สินนั้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 โดยไม่ต้องคำนึงว่าทรัพย์สินนั้นจะเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ ฉะนั้นการที่จะร้องให้ปล่อยทรัพย์จึงต้องร้องเสียก่อน


    โดย : Administrator  วัน - เวลา : พุธ 8 มิถุนายน 2554 | 14:07:31   From ip : 183.89.166.240

    ร่วมแสดงความคิดเห็น
    ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
    อีเมลล์ (E-mail) :
    แสดงความคิดเห็น :
    ภาพประกอบ :




    ** สูงสุด 6 ภาพ ต่อการโพส 1 ครั้งคะ ใช้ภาพที่เป็นสกุล .jpg, .gif, .png นะคะ ชื่อไฟล์ขอเป็นภาษาอังกฤษนะคะ

    รหัสอ้างอิง :

      


    http://www.thailawyer.net/ ให้คุณมากกว่าที่คุณคิด