คดีแพ่งต่อเนื่องคดีอาญา (มาตรา 40 51)
- คือ ความรับผิดทางแพ่งที่มีมูลมากการกระทำผิดในทางอาญา
- ฟ้องที่ศาลที่พิจารณาคดีอาญาหรือศาลที่มีอำนาจชำระคดีแพ่งก็ได้
- การพิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติ ปวิพ. (ปวิพ.มาตรา 40 )
- คำให้การในส่วนแพ่ง ต้องแสดงให้แจ้งชัดว่ายอมรับหรือปฏิเสธ รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น
ฎ. 5713/2539
คำให้การในส่วนแพ่งนั้นต้องชอบด้วย ปวิพ. มาตรา 177 วรรคสอง เมื่อจำเลยให้การต่อสู้คดีส่วนอาญาและคดีส่วนแพ่งรวมกันมาว่าจำเลย ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสิ้นเท่านั้น
ถือว่า คำให้การในส่วนแพ่งของจำเลยให้การปฏิเสธลอยๆ จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์พิพาทและจำเลยซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริตในท้องตลาด ตามที่จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์แต่อย่างใด คดีส่วนแพ่งของจำเลยจึงต้องห้ามอุทธรณ์ ตาม ปวิพ. มาตรา 225
( ถือว่าไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในศาลชั้นต้น)
ฎ. 607/2536
จำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ในคดีแพ่ง ถือว่าไม่มีประเด็นดังกล่าว
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
ฎ. 3906/2536
-ถ้าจำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การในวันนัดสืบพยานโจทก์ได้ โดยไม่ต้องยื่นคำให้การแก้คดีภายใน 15 วัน นับแต่ได้ส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องให้แก่จำเลย
-และถือได้ว่าจำเลยยื่นคำให้การในคดีส่วนแพ่งในวันนั้นด้วยแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
ฎ. 1916/2547
-คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา เมื่อสิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไป คำขอในส่วนแพ่งย่อมตกไปด้วย ศาลต้องจำหน่ายคดี
- ปวิอ. มาตรา 43 มิได้บัญญัติให้อำนาจอัยการที่ยื่นฟ้องคดีอาญาในความผิดอาญาฐานร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้
ฎ. 1547/2529 (คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง)
จำเลยถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ตามปวิอ. 39(1)
มีผลทำให้ คดีศาลล่างระงับไปในตัว ศาลฎีกาต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดี
- เมื่อจำเลยตายมีผลทำให้คำพิพากษาของศาลล่างในส่วนให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ระงับไปด้วย
ฎ. 1238/2493
ถ้าผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง (ในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา) เมื่อจำเลยตาย
คดีในส่วนแพ่ง ก็ต้องมีการรับมรดกความตาม ปวิพ. มาตรา 42
ฎ. 1881/2519
ศาลสั่งไม่ประทับฟ้อง จำเลยไม่อยู่ในฐานะจำเลย หมายถึง คดีในส่วนอาญาเท่านั้น
แต่ในคดีส่วนแพ่ง ถือว่า ผู้ถูกฟ้องมีฐานะเป็นจำเลยแล้ว
ฎ. 3548/2539
-สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาในคดีส่วนแพ่งนั้น ต้องพิจารณาจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ตามปวิพ. มาตรา 224 และ 248 แล้วแต่กรณี
-ถ้าคดีส่วนแพ่งต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริง แต่คดีในส่วนอาญาไม่ต้องห้าม
การรับฟังข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่ง ก็ต้องถือ ตามข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาตาม ปวิอ. ม.46
ฎ. 3050/2544
การที่ศาลชั้นต้นตรวจฟ้องคดีอาญาที่มีคำขอในส่วนแพ่ง แล้วยกฟ้องคดีอาญา
ก็ไม่อาจรับคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณาพิพากษาได้ ศาลต้องสั่งไม่รับคดีส่วนแพ่งและคืนค่าธรรมเนียมแก่โจทก์
การเรียกราทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหาย( มาตรา 43 ,44)
หลัก อัยการมีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหาย ในความผิด 9 ฐาน คือ
ลัก วิ่ง ชิง ปล้น โจรสลัด ฉ้อโกง กรรโชก ยักยอก รับของโจร
-อัยการขอรวมไปพร้อมกับคดีอาญาหรือยื่นคำร้องระหว่างคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น
-คำพิพากษาให้รวมเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา
ฎ. 631/2511
ความผิดฐานยักยอก รวมถึง ความผิดฐานเจ้าพนักงานยักยอก ตามปอ. ม.147 ด้วย
ฎ.392/2530
ความผิดฐานฉ้อโกงไม่รวมความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ด้วย
ฎ. 3793/2530
โจทก์ฟ้องให้ลงโทษตาม ปอ. 147 ศาลพิพากษาว่าจำเลยผิด ปอ. 148
โจทก์ไม่มีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์
ฎ. 255/2543
ในความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดทั้งสองบท
แต่ให้ลงโทษบทหนัก ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ได้
ฎ. 3530/2543
ความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ศาลพิพากษาจำเลยมีความผิดที่ไม่ใช่ฐานความผิดตาม ปวิอ. มาตรา 43 และยกฟ้องฐานความผิดตามปวอ.ม. 43
ผล พนักงานอัยการโจทก์จึง ไม่มีอำนาจเรียกทรัพย์สิน หรือ ราคาแทนผู้เสียหายเพราะ ไม่ใช่ความผิดตามที่ระบุไว้ ตาม ปวอ.มาตรา 43
ฎ. 476/2515
บางกรณีอัยการไม่ได้ขอให้ลงโทษในฐานความผดที่ระบุไว้ ใน ปวอ. 43 แต่ตามคำฟ้องบรรยายความผิดตาม ม. 43 รวมอยู่ด้วย (ฟ้องปอ. 288 , 289 แต่บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยมาด้วยว่า จำเลยยิงผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่าเพื่อสะดวกในการลักทรัพย์และมีคำขอท้ายฟ้องบังคับให้จำเลยคืนทรัพย์) ดังนี้ อัยการขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก้ผู้เสียหายได้
ฎ. 378/2520
ความผิดตาม ปอ. 149 ฐานรับสินบน ซึ่งไม่เป็นความผิดตามมาตรา ปอ. 337 (ฐานกรรโชก)
ผล ทำให้อัยการเรียกหรือให้ใช้ราคาไม่ได้
ฎ. 3282/2524
อัยการมีสิทธิขอให้คืนทรัพย์หรือใช้ราคาเท่านั้น ดังนั้น ในคดีบุกรุกอัยการจะขอให้จำเลยออกจากที่พิพาทไม่ได้
ฎ. 1051/2510
ค่าแรงหรือค่าจ้างไม่ใช่ทรัพย์สินที่จะเรียกร้องคืน แต่เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายชอบที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยใช้ในทางแพ่ง เพราะ มิใช่ทรัพย์สินที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลย
ฎ. 942/2507
เงินค่าไถ่ทรัพย์แทนผู้เสียหาย มิใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายเสียไป เนื่องจากการกระทำความผิดฐานรับของโจร
ฎ. 2197/2516
เงินค่าโรงแรม ไม่ใช่ทรัพย์สินที่สูญเสียไปจากการกระทำความผิด
ฎ. 40/2508(ป)
ลักหนังสือสัญญาเงินกู้ไป ทรัพย์สินที่เสียไปคือ หนังสือสัญญาเงินกู้ไม่ใช่เงินตามสัญญากู้
ฎ. 384/2519
เงินที่คนร้ายได้จากการขายทรัพย์สินที่ปล้นมา มิใช่ทรัพย์สินที่ผู้เสียหายถูกปล้น
ศาลสั่งคืนให้ผู้เสียหายไม่ได้
ฎ. 3667/2542
สมัครสมาคมฌาปนกิจ แจ้งว่าสุขภาพแข็งแรงความจริงเป็นมะเร็งและต่อมาตาย
เงินสงเคราะห์ที่โจทก์ร่วมจ่ายไป เนื่องจากความตายของ บ. ไม่ใช่เกิดจากการหลอกลวงของจำเลย
ผล อัยการไม่มีอำนาจให้ใช้หรือคืนราคา
ฎ. 5401/2542
เงินค่าตั๋วเครื่องบินที่สูญเสียไป จึงเป็นเงินที่เกิดจากการหลอกลวงของจำเลย
ผู้เสียหายย่อมมีสิทธิจะเรียกค่าตั๋วเครื่องบินคืนจากจำเลย
ฎ. 772/2520 ( ป )
สลากกินแบ่งที่ถูกรางวัล เมื่อจำเลยนำไปรับเงิน ผู้เสียหายย่อมหมดโอกาสที่จะได้รับรางวัลเท่ากับต้องสูญเสียเงินจำนวนดังกล่าวไป เนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง
อัยการจึงมีสิทธิขอให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้
ฎ. 2392/2541
จำเลยหลอกผู้เสียหายนำที่ดินทำสัญญาจำนอง 450,000 บาท ผลของการหลอกลวงทำให้ผู้เสียหายตกเป็นหนี้แก่ผู้รับจำนองในจำนวนดังกล่าวเท่านั้น ไม่ได้ทำให้ผู้เสียหายต้องสูญเสียเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยไป อัยการจึงไม่อาจเรียกให้จำเลยใช้เงินดังกล่าวแก่ผู้เสียหาย ตาม ปวิอ. ม. 43 ได้
เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องไปฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองในทางแพ่งเอง
ฎ. 1976-1977 (ป)
อัยการมีสิทธิเรียกได้เฉพาะทรัพย์หรือราคาเท่านั้น จะเรียกดอกเบี้ยด้วยไม่ได้ แต่ถ้าผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมด้วย ถือได้ว่า ผู้เสียหายได้เรียกดอกเบี้ยแล้ว (แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล)
ฎ. 6624/2545
จำเลยผิดฐานพยายามวิ่งราวทรัพย์ โดยจำเลยไม่ได้ทรัพย์ของกลางไป แต่หายไปในที่เกิดเหตุ
ถือว่า ผลของการกระทำผิดของจำเลยทำให้ผู้เสียหายต้องสูญเสียทรัพย์นั้นไป จำเลยจึงต้องรับผิดคืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น
ฎ. 855/2530 (ป)
ฟ้องลักทรัพย์ (100,000บาท) หรือรับของโจร (10,000บาท) จำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจรความรับทางแพ่งของจำเลยคงจำกัดเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดฐานรับของโจรเท่านั้น
ฎ. 3098/2543
ฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์ 12 รายการ เป็นเงิน 35,885 บาท และจับจำเลยได้พร้อมของกลาง 4 รายการ เป็นเงิน 3,300 บาท ซึ่งคืนผู้เสียหายไปแล้ว ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานรับของโจร
ดังนั้นเห็นได้ว่า ของกลางในส่วนความผิดฐานรับของโจร ซึ่งป็นความผิดที่จำเลยกระทำ ผู้เสียหายได้รับคืนครบถ้วนไปแล้ว จำเลยไม่ต้องคืนผู้เสียหายอีก
ฎ. 6916/2542
ระหว่างพิจารณาโจทก์ร่วมแถลงติดใจให้จำเลยชำระหนี้เพียงบางส่วนเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระจำเลยต้องคืนเงินให้โจทก์ร่วมเท่าที่แถลงเท่านั้น ไม่ใช่จำนวนตามคำขอท้ายฟ้อง
เพราะถือว่า โจทก์ได้สละสิทธิเรียกร้องบางส่วนแล้ว
ฎ. 1039/2516(ป)
แม้ศาลยกฟ้องคดีส่วนอาญา (ไม่มีเจตนา) ศาลยังมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายได้
ฎ. 3112/2523
ถ้าศาลพิพากษายกฟ้อง เพราะความผิดทางแพ่งล้วนๆ (สมัครใจเล่นแชร์)
กรณีไม่ใช่จำเลยได้ทรัพย์ไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ อัยการไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์คืนได้
ฎ. 6067-6068/2534
ฟ้องฐานฉ้อโกง ศาลฟังว่า เป็นการซื้อสุกรแล้วไม่ชำระราคา เป็นผิดสัญญาทางแพ่ง
ผล อัยการไม่มีอำนาจเรียกให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ได้
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ คำขอส่วนแพ่งตกไปด้วย
หลัก ในกรณีที่สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามมาตรา 39 คำขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ก็ตกไปด้วย เช่น - กรณีฟ้องโจทก์ขาดอายุความ
- กรณีผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความ
ผล อัยการไม่มีสิทธิเรียกให้คืนหรือใช้ราคา แม้ผู้เสียหายจะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมด้วยก็ตาม
ฎ. 3491/2534
เมื่อถอนคำร้องทุกข์ เป็นการยอมความกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเกี่ยวกับความผิดดังกล่าวย่อมระงับไปตาม ปวิอ. 39(2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ย่อมตกไปด้วย ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฎ. 1547/2529 กรณีอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง
จำเลยถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับ มีผลทำให้คำขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ของอัยการตกไปด้วย
ฎ. 1238/2493 กรณีผู้เสียหายฟ้องเอง
เมื่อจำเลยตาย คดีในส่วนแพ่งต้องมีการรับมรดกความตาม ปวิพ. มาตรา 42
ฎ. 2212/2518
คดีชิงตั๋วจำนำสายสร้อยซึ่งจำนำไว้เป็นราคา 300 บาท ราคาดังกล่าวเป็นราคาจำนำสายสร้อย
ไม่ใช่ราคาตั๋วจำนำ เมื่อไม่ปรากฏราคาของตั๋วจำนำ ศาลไม่สั่งให้ใช้ราคาตั๋วนี้
(ในส่วนการใช้ราคาทรัพย์นั้น หากไม่ปรากฏว่ามีราคาเท่าใดศาลจะไม่สั่งให้ใช้ราคา)
ฎ. 1522/2536
ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏแก่ศาลว่า ผู้เสียหายได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเกินกว่าราคาทรัพย์ไปแล้ว
ศาลก็จะพิพากษาให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์อีกไม่ได้ (นำเรือใหม่มาใช้แทนเรือเก่าแล้ว กรมชลประทานไม่เสียหายอีกต่อไป จำเลยจึงไม่ต้องคืนหรือใช้ราคาแทนกรมชลประทานอีก)
ฎ. 1033-1104/2496
การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตาม ปวิอ. 43 อัยการไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตาม ปวิอ.253
แม้ผู้เสียหายจะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมด้วย โจทก์ร่วมก็ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมด้วยเช่นกัน
ฎ. 770/2499
ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว โจทก์ร่วมอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ฝ่ายอัยการไม่ได้อุทธรณ์ด้วย
โจทก์ร่วมต้องเสียค่าธรรมเนียมด้วย
ฎ. 4615/2543
อัยการ ฟ้องเรียกทรัพย์หรือให้ใช้ราคา ถือว่าอัยการฟ้องแทนผู้เสียหายแล้ว
ผล - ผู้เสียหายมาฟ้องจำเลยให้รับผิดทางแพ่งอีกเป็นฟ้องซ้อน ปวิพ. 173(1)
- ถ้าคดีอาญาถึงที่สุดไปแล้ว คำฟ้องของผู้เสียหายก็เป็นฟ้องซ้ำ ปวิพ. 148
ฎ. 12414/2547 (ป)
ปวิอ. 43 บังคับอัยการฟ้องเรียกได้เฉพาะต้นเงินเท่านั้น สภาพไม่เปิดช่องให้เรียกดอกเบี้ยได้
คดีแรกยังไม่มีการเรียกดอกเบี้ยมาก่อน และไม่ใช่ค่าเสียหายที่อัยการ สามารถฟ้องเรียกได้แต่ไม่เรียก
ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญาก่อนเฉพาะต้นเงินเท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยไม่ป็นฟ้องซ้อน
ฎ. 180/2490
ตามมาตรา 44 วรรคสอง ที่ให้คำพิพากษาในส่วนเรื่องเรียกทรัพย์สินหรือราคาเป็นส่วนหนึ่งแห่งคำพิพากษาคดีอาญา ทั้งนี้ไม่จำกัดว่า ทรัพย์นั้นจะมีราคาเท่าไร ดังนี้คดีที่ฟ้องต่อศาลแขวง
แม้ราคาทรัพย์สินที่เรียกจะมีราคามากน้อยเพียงใดศาลแขวงก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำขอส่วนนี้ได้
ฎ. 4419/2528
อัยการเท่านั้นที่จะขอให้ใช้ทรัพย์ในคดีอาญา โดยไม่ต้องคำนึงถึงทุนทรัพย์ส่วนแพ่งว่าจะอยู่ในอำนาจของศาลแขวงหรือไม่ ดังนี้หากผู้เสียหายฟ้องเอง ย่อมไม่มีสิทธิ์ขอในส่วนแพ่งที่มีทุนทรัพย์เกินอำนาจศาลแขวงได้ เมื่อโจทก์ร่วมอุทธรณ์ฝ่ายเดียวย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาที่จะให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ และศาลอุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำขอในส่วนนี้ด้วย
ฏ. 16/2544
ได้รับสายไฟฟ้าลวดทองแดงที่ถูกเผาคืนแล้ว อัยการจะขอให้คืนหรือใช้ราคาเต็มของสายไฟฟ้าแก่ผู้เสียหาย ตามปวิอ. 43 อีกไม่ได้ แม้ผู้เสียหายจะได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดของจำเลยเนื่องจากนำสายไฟไปใช้ตามวัตถุประสงค์เดิมไม่ได้ ก็เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องไปว่ากล่าวเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเองเป็นคดีใหม่
สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหาย
(มาตรา 44/1,44/2,47,50,51,249,250,251,253,254,258 )
หลัก ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์
ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทน เพราะ
1. ได้รับอันตรายแก่ ชีวิต ร่างกาย จิตใจ
2. หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียง
3. หรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สิน
อันเนื่องมาจากการกระทำผิดทางอาญาของจำเลย
ผล ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนได้
- การยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหาย
1. ยื่นก่อนสืบพยาน
2. ถ้าไม่มีการสืบพยาน ให้ยื่นก่อนศาลวินิจฉัยคดี
3. ให้ถือว่าคำร้อง เป็นคำฟ้องตาม ปวิพ.
4. ผู้เสียหายถือว่าเป็นโจทก์ในคดีแพ่ง
5. หากศาลเห็นว่าคำร้องขอขากสาระสำคัญบางเรื่องศาลสั่งแก้ให้ชัดเจนได้
-ขอค่าสินไหมทดแทนอย่างอื่นที่ไม่ใช่เกิดจากการกระทำผิดทางอาญาของจำเลยไม่ได้
- คำร้องต้องไม่ขัดหรือแย้งกับคำฟ้องคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์
- อัยการดำเนินการขอให้ใช้หรือคืนราคาทรัพย์ตาม ปวิอ. แล้ว ผู้เสียหายจะขออีกไม่ได้
- มาตรา 44/1 ทำให้ผู้เสียหายได้รับการเยียวยาความเสียหายทันท่วงทีในคราวเดียวกับการดำเนินคดีอาญา ทั้งนี้ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล(ตามมาตรา 253 ที่แก้ไขใหม่ปี 2548)
ข้อสังเกต
1. ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เสียหายเรียก จากการที่ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่ ชีวิต ร่างกาย จิตใจ เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน คลอบคลุมความผิดทางอาญาที่ผู้เสียหายได้รับ กว้างขวางโดยไม่จำกัด
ต่างกับ อัยการ เรียกคืนหรือให้ใช้ราคาทรัพย์ ในความผิดอาญา 9 ฐาน เท่านั้น
2. อัยการมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินแล้วก็ตาม หากยังมีความเสียหายอย่างอื่นๆอีก ผู้เสียหายมีสิทธิ์ยื่นคำขอให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมได้
3. ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เสียหายเรียก ถือว่า เป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิด
-การเรียกค่าสินไหมเพื่อการละเมิดต้องเป็นไปตาม ปพพ. 438-448
-ทำให้เรียกค่าสินไหมทดแทนได้อย่างกว้างขวาง เช่น ค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะ ค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งค่าเสียหายที่มิใช่เป็นตัวเงิน รวมทั้งที่กระทำการก็ขอได้ เช่น จำเลยบุกรุกก็ขับไล่ได้ คดีฉ้อโกงก็ร้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ คดีทำให้เสียทรัพย์ก็ร้องขอให้ทำให้ทรัพย์คืนสู่สภาพเดิมได้
-ค่าเสียหายเป็นเงินรียกดอกเบี้ยได้
4. ผู้เสียหายสามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนฯตาม 44/1 ว 1 รวมทั้งการให้ใช้หรือคืนทรัพย์ด้วย
แต่ถ้าอัยการเรียกแล้ว ผู้เสียหายขออีกไม่ได้
5. ผู้เสียหายใช้สิทธิเรียกค่าเสียหายได้ เฉพาะคดีแพ่งต่อเนื่องคดีอาญาเท่านั้น
6. การยื่นคำขอค่าสินไหมฯ ของผู้เสียหายต้องยื่นก่อนเริ่มสืบพยาน หรือถ้าไม่มีการสืบพยาน (จำเลยสารภาพ) ต้องยื่นก่อนศาลวินิจฉัยคดี
ต่างกับอัยการ ยื่นคำร้องได้ระหว่างคดีพิจารณาอยู่ในศาล
7. คำร้องถือเป็นคำฟ้องแพ่ง ขาดสาระสำคัญบางเรื่องศาลสั่งแก้ได้ และต้องไม่ขัดหรือแย้งกับคำฟ้องคดีอาญาของอัยการ
8. คำร้องต้องแสดงรายละเอียดตามสมควรเกี่ยวกับความเสียหายและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้อง คำร้องดังกล่าวจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับ ปพพ.มาตรา 172 ว 2 ที่ต้องแสดงโดยแจ้งชัดทั้งข้อหา ข้ออ้าง และคำขอบังคับ ทั้งตาม ปวิอ. 44/2 วรรคสอง ยังให้อำนาจศาลสั่งแก้ไขคำร้องที่ขาดสาระสำคัญได้ แสดงว่า คำร้องดังกล่าว กล่าวได้เฉพาะความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับ และมีคำขอเฉพาะจำนวน ค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้องเท่านั้นจะมีคำขอในคดีอาญาไม่ได้
การยื่นคำให้การและการสืบพยาน (44/2)
1. ศาลรับคำร้องแล้ว ให้แจ้งจำเลยทราบ
2. หากจำเลยประสงค์ ให้การ/ไม่ให้การ ให้ศาลบันทึกไว้
- จำเลยประสงค์ให้การเป็นหนังสือ ให้ศาลกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การตามสมควร
(กฎหมายไม่ให้อำนาจศาลสั่งจำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ)
3. อัยการสืบพยานเสร็จ ศาลอนุญาตผู้เสียหายนำพยานเข้าสืบค่าสินไหมทดแทนเท่าที่จำเป็น
หรือศาลพิจารณาคดีอาญาไปก่อน แล้วพิจารณาคดีแพ่งภายหลังก็ได้
- ผู้ยื่นคำร้องตาม ปวิอ. 44/1 เป็นคนยากจน ศาลมีอำนาจตั้งทนายความให้ผู้นั้น
- ปวิอ. 44/2 ว 2 ได้บัญญัติวิธีการเกี่ยวกับการให้การต่อสู้คดีของจำเลยไว้แล้วกรณีจึงไม่มีการออกหมายเรียกให้จำเลยยื่นคำให้การ ภายใน 15 วัน (ปวิพ. 177ว 1 ) จำเลยจึงไม่ต้องยื่นคำให้การภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง และในกรณีที่จำเลยไม่ประสงค์จะให้การให้ศาลบันทึกไว้ กรณีจึงไม่มีการขาดนัดยื่นคำให้การเช่นเดียวกัน
- สำหรับการสืบพยาน เมื่ออัยการสืบพยานเสร็จ ศาลจะอนุญาตให้ผู้เสียหายนำพยานเข้าสืบเรื่องค่าสินไหมทดแทนเท่าที่จำเป็น (ปวิอ.44/2ว1 ) และวันที่ศาลกำหนดให้ผู้เสียหายนำพยานเข้าสืบไม่ใช่ วันสืบพยาน เมื่อฝ่ายใดไม่มาศาล จึงไม่ถือว่า ขาดนัดพิจารณา
- ผู้เสียหายไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เว้นแต่ ศาลเห็นว่า ค่าสินไหมฯสูงเกินไป หรือดำเนินคดีไม่สุจริต
- ศาลมีอำนาจให้ชำระค่าธรรมเนียม ทั้งหมด/บางส่วน ภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด
- เพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลถือว่า ทิ้งฟ้อง
(ไม่เสียค่าธรรมเนียมศาลนั้น ใช้ทั้ง ศาลชั้นต้น อุทธรณ์ และฎีกา )
- ตามปวิอ. 254 ถ้าผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาเองโดยมีคำขอ
1. ให้ใช้หรือคืนราคาทรัพย์สิน
2. หรือให้ใช้ค่าสินไหมฯติดมากับฟ้องคดีอาญา
3. หรือผู้เสียหายฟ้องคดีแพ่งโดยลำพัง
ผล ให้เรียกค่าธรรมเนียมดังคดีแพ่ง
- ผู้เสียหายขอยกเว้นค่าธรรมเนียมมาพร้อมคำฟ้อง ฟ้องอุทธรณ์ ฟ้องฎีกาได้
หากศาลเห็นว่า ฟ้องคดีอาญามีมูลและการเรียกค่าสินไหมฯไม่เกินควรและเป็นไปโดยสุจริตให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอ
- คำสั่งศาลให้ยกค่าธรรมเนียมหรือยกคำขอ ให้มีผลตั้งแต่ชั้นศาลซึ่งคดีนั้นอยู่ระหว่างพิจารณาไปจนกว่าคดี ถึงที่สุด เว้นแต่ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป ศาลเปลี่ยนแปลงได้ตามสมควร (254 ว 2 )
- ห้ามมิให้อุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งศาล ตาม ปวิอ.254(2) (254(3) )
- เมื่อศาลมีคำสั่งให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์หรือใช้ค่าสินไหมฯ ตาม ปวิอ. 43,44,44/1 แล้ว
ให้ถือว่า ผู้เสียหายเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
คำพิพากษาส่วนแพ่งตามมาตรา 47
หลัก มาตรา 47
คำพิพากษาส่วนแพ่ง เป็นไปตามความรับผิดทางแพ่ง
ไม่คำนึงถึงว่า คดีอาญาพิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดหรือไม่
ราคาทรัพย์ที่ใช้คืน ราคาจริง
ค่าสินไหมฯ ตามความเสียหายแต่ไม่เกินคำขอ
ฎ. 1039/2516 (ป)
แม้ศาลพิพากษายกฟ้องคดีอาญา ศาลยังมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายได้
ฎ. 2737/2517
ฟ้องไม่สมบูรณ์ลงโทษจำเลยไม่ได้ แต่จำเลยสารภาพว่ายักยอกเงินไป อำนาจของอัยการที่จะว่ากล่าวเกี่ยวกับคำขอส่วนแพ่งยังคงมีอยู่ต่อไป ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนเงินผู้เสียหายได้
ฎ. 3112/2523
ถ้าศาลยกฟ้องเพราะ เป็นความผิดทางแพ่งล้วนๆ (เล่นแชร์กัน) นั้น
หาใช่เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาไม่ อัยการจึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินแทนผู้เสียหาย
( เช่นเดียวกับ ฟ้องฉ้อโกง แต่ศาลเห็นเป็นว่าซื้อสุกรแต่ไม่จ่ายเงิน เป็นคดีแพ่ง)
ฎ. 12582/2547
ใช้บัตรเครดิตปลอมซื้อของร้าน ก. ธนาคาร ข. จ่ายเงินให้ร้าน ก. จะเห็นว่า
จำเลยผิดฐาน ปลอม/ใช้เอกสาร ต่อร้าน ก. ธนาคาร ข. ไม่ใช่ผู้เสียหายความผิดอาญาดังกล่าว
ธนาคาร ข. จ่ายเงินให้ร้าน ก. เป็นความเสียหายทางแพ่ง อัยการไม่มีสิทธิเรียกเงินคืนให้ธนาคาร ข.
ฎ. 1552/2524
ศาลลงโทษจำคุกคนขับสองฝ่ายที่ชนกันโดยลงโทษจำคุก คนละ 5 ปี เท่ากัน
จะถือว่าสองฝ่ายประมาทเท่ากันในความรับผิดทางแพ่งไม่ได้
การฟังข้อเท็จจริงคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา มาตรา 46
หลัก คดีแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาคดีอาญา
-ต้องเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา
ฎ. 905/2542
-การพิจารณาคดีแพ่งใดเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหรือไม่ ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงในคดีแพ่งนั้นว่าเป็นการกระทำที่เป็นองค์ประกอบความผิดในคดีอาญาหรือไม่
-ใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมทำสัญญาซื้อขาย โจทก์แจ้งความดำเนินคดีฐานใช้เอกสารปลอม ศาลลงโทษคดีถึงที่สุด นับได้ว่าคดีแพ่งและคดีอาญาต่างมีประเด็นสำคัญโดยตรงอย่างเดียวกัน
จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา
-เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดแล้วศาลพิพากษาลงโทษจำเลยก่อนที่โจทก์ได้ยืนฟ้องคดีแพ่งสิทธิของโจทก์ที่ฟ้องคดีแพ่งย่อมมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาทปพพ. 193/32 และ ปวิอ. มาตรา 51 ว 3
ฎ. 2463/2539
ฟ้องเพิกถอนกลฉ้อฉลตาม ปพพ. 237 เป็นสิทธิเรียกร้องไม่ต้องอาศัยมูลความผิดอาญาฐานโกงเจ้าหนี้ จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา
ฎ. 1127/2536
ฟ้องศาลให้มีคำพิพากษาการสมรสเป็นโมฆะ ตาม ปพพ. :ซึ่งไม่ต้องอาศัยมูลความผิดอาญาฐานแจ้งความเท็จ จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
ฎ. 185/2545
ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลย ถือเป็นการฟ้องโดยอาศัยมูลตามสัญญา
ไม่เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา
ฎ. 120/2540
คดีที่ฟ้องเรียกเงินตามเช็คอันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญา
จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะนำบทบัญญัติ ปวิอ.46 มาใช้บังคับไม่ได้
ฎ. 2637/2542
แม้คดีแพ่งศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญาว่า จำเลยเข้าใจว่าต้นอ้อยที่จำเลยตัดเป็นของที่มอบให้จำเลยดูแลและไม่ทราบว่าเป็นของโจทก์
ในคดีแพ่งซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยฐานละเมิด ศาลฟังข้อเท็จจริงได้ว่า การที่จำเลยเข้าใจว่าตนมีอำนาจกระทำได้ เกิดจากการความประมาทเลินเล่อของจำเลย เป็นการกระทำละเมิดต้องรับผิด
ฎ. 10294/2546
คดีอาญาฟังข้อเท็จจริงว่า สมัครใจวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน
ในส่วนคดีแพ่งต้องฟังข้อเท็จจริงตามคดีอาญาและฟังว่า การกระทำดังกล่าวของจำเลยถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
หลักเกณฑ์การรับฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการ ดังนี้คือ
1. คำพิพากษาคดีอาญาต้องถึงที่สุดแล้ว
2. ข้อเท็จจริงดังกล่าวต้องเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและวินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้ง
3. ต้องเป็นคู่ความในคดีอาญา
ฎ. 623/2529
การที่จำเลยถึงแก่ความตายก่อนคดีถึงที่สุด จะนำ ปวิอ. 46 มาใช้บังคับไม่ได้
ดังนั้น จะนำข้อเท็จจริงในคดีอาญามารับฟังในคดีแพ่งไม่ได้ ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่งใหม่
ฎ. 1104-1105/2501
จำเลยตายระหว่างฎีกา จะฟังข้อเท็จจริงที่ศาลล่างพิพากษาไว้มาผูกมัดในคดีแพ่งไม่ได้
ต้องสืบพยานในคดีแพ่งใหม่
ฎ. 1948/2520
แม้จะเป็นคำพิพากษาในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง (ข้อหาฟ้องเท็จ ศาลพิพากษายกฟ้อง)
คดีถึงที่สุด ศาลยกฟ้องด้วย
- ต้องเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและวินิจฉัยโดยชัดแจ้งด้วย
ฎ. 2839/2540
คำพิพากษาคดีอาญาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยขาดเจตนาบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ เท่านั้น
มิได้วินิจฉัยว่า ที่พิพาทเป็นของใคร ประเด็นโดยตรงที่ว่าที่พิพาทเป็นของใครยังไม่ได้วินิจฉัย
จะนำข้อเท็จจริงในคดีอาญามาผูกพันคดีแพ่งไม่ได้
ฎ. 4377/2546
คดีอาญาศาลพิพากษายกฟ้องเพราะ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญา ในปัญหาที่ว่า โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ เป็นข้อยุติในคดีแพ่งแล้ว
ฎ. 8269/2544
คำพิพากษาคดีอาญาฟังว่า มีเหตุให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ที่ดินพิพาทอาจเป็นของจำเลยก็ได้ และยังโต้เถียงสิทธิครอบครองอยู่ ยังไม่ชัดแจ้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงรับฟังเป็นยุติในคดีแพ่งไม่ได้ว่า ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นของโจทก์
ฎ. 2286/2529
คำพิพากษาในคดีอาญาที่ว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอฟังว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้อง
เท่ากับฟังว่า โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งถือว่า ศาลได้วินิจฉัยโดยชัดแจ้งแล้ว
โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยในคดีแพ่งอีก จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามคดีอาญา ตาม ปวิอ. ม.46
ฎ. 402/2530
คดีอาญาวินิจฉัยว่า ที่พิพาทยังโต้เถียงกันอยู่ ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นของใคร ดังนี้
ถือว่ายังไม่แน่ชัดว่าที่พิพาทเป็นของใคร ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่ผูกพันคดีแพ่ง
ฎ. 1256/2538
แต่ถ้าคดีอาญาศาลฟังข้อเท็จจริงว่าคดีไม่พอฟังว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ เท่ากับศาลวินิจฉัย
แล้วว่า ที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
ฎ. 7801/2498
ในคดีลักทรัพย์มีประเด็นเพียงว่า จำเลยเป็นคนร้ายลักข้าวหรือไม่ ประเด็นที่ว่านาข้าวเป็นของผู้ใด จึงไม่ใช่ประเด็นโดยตรงในคดีอาญา ที่ศาลวินิจฉัยว่านาข้าวเป็นของจำเลยจึงไม่ผูกพันคดีอาญา
ฎ. 1369/2514
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาฟังว่าจำเลยประมาท การวินิจฉัยคดีแพ่งจึงต้องฟังว่าจำเลยประมาท
แต่จำเลยต่อสู้ในคดีแพ่งได้ว่า โจทก์มีส่วนประมาทด้วยไม่ขัดกับมาตรา 46
ฎ. 2813/2518
ในคดีอาญาฟ้องว่าจำเลยขับรถโดยประมาทฝ่าไฟแดง ส่วนในคดีแพ่งฟ้องว่า
จำเลยประมาทโดยขับรถเร็ว เป็นคนละประเด็นกัน ฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่งใหม่ได้
(-ดังนั้นข้อเท็จจริงในคดีแพ่งที่ศาลจำต้อง ถือตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
จึงมีเพียงว่าจำเลยมิได้ขับรถประมาทฝ่าไฟแดง ส่วนประเด็นข้อที่ว่าจำเลยขับรถประมาทด้วยความเร็วสูงเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ศาลอาญามิได้วินิจฉัยไว้)
ฎ. 2670/2528
คดีอาญาฟังว่า โจทก์และจำเลยต่างมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย
ในคดีแพ่ง จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์จำเลยต่างทำร้ายกันไม่เป็นละเมิด
-คำพิพากษาคดีอาญาจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงไว้ชัดแจ้ง
ฎ. 5178/2538
คดีอาญาวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานโจทก์ตกอยู่ในความสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่ จึงยกประโยชน์ความสงสัยนั้นให้จำเลย ถือว่ามิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้ง ไม่ผูกพันคดีแพ่ง
คดีแพ่งจึงจำต้องวินิจฉัยให้ได้ความชัดว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถคันเกิดเหตุและเป็นผู้ก่อเหตุละเมิดหรือไม่
ฎ. 1674/2512 (ป)
ถ้าคำพิพากษาคดีอาญาวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา ไม่มีน้ำหนักรับฟังลงโทษจำเลยได้ ถือว่า เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดีอาญาโดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิด แม้จะมีข้อวินิจฉัยของศาลด้วยว่า พยานของโจทก์มีข้อน่าสงสัยและยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยด้วยก็ตาม ก็คงเป็นเหตุผลที่แสดงเพิ่มเติมขึ้นเท่านั้น
(ศาลจะรับฟังข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่ง ขัดกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาหาได้ไม่)
ฎ. 928/2507
เหตุรถชนกันนั้นอาจเกิดจากความประมาทของจำเลยกับบุคคลอื่น ก็เป็นได้ทั้งสองทางเท่าๆกัน
และยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย เป็นคำวินิจฉัยที่ยังไม่ยุติว่าอย่างไร ไม่ผูกพันคดีแพ่ง
โจทก์อาจนำสืบในคดีแพ่งอีกได้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายประมาททำให้บุตรโจทก์ตาย
ฎ. 695/2540
ในคดีแพ่งจะรับฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีอาญา ก็แต่เฉพาะข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นสำคัญ ถ้าเป็นเพียงประเด็นปลีกย่อย ต้องมีการสืบพยานกันต่อไป
(คดีอาญาวินิจฉัยว่า บุกรุก แต่บุกรุกเท่าไรเป็นปลีกย่อยต้องสืบพยานในคดีแพ่งกันต่อไป)
- ต้องเป็นคู่ความในคดีอาญา
หลัก : -ผู้ที่ถูกข้อเท็จจริงในคดีอาญามาผูกพันในคดีแพ่งต้องเป็นคู่ความในคดีอาญาเท่านั้น(โจทก์/จำเลย)
-คดีอาญาที่อัยการเป็นโจทก์ ก็ต้องถือว่า อัยการดำเนินคดีแทนผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงในคดีอาญาจึงผูกพันผู้เสียหายกับจำเลยในคดีแพ่ง แม้ในคดีอาญาผู้เสียหายมิได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมก็ตาม
ฎ. 4422/2536
ความผิดบางฐานรัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ราษฎรไม่อาเป็นผู้เสียหายได้ จึงถือไม่ได้ว่า
อัยการฟ้องคดีดังกล่าวแทนผู้เสียหาย เช่น ความผิดตาม พรบ. จราจรทางบก ข้อเท็จจริงในคดีอาญาจึงไม่ผูกพันคดีแพ่ง
ฎ. 2670/2528
คู่ความในคดีอาญาที่จะต้องผูกพันในคดีแพ่งนี้ แม้จะเป็นคู่ความฝ่ายเดียวกัน ก็ต้องผูกพันด้วย
ฎ. 2061/2517
คำพิพากษาคดีส่วนอาญาไม่ผูกพันถึงบุคคลภายนอกด้วยนั้น นายจ้าง บริษัทรับประกันภัย
(โจทก์ทั้งสองเป็นบุคคลภายนอกคดีอาญา นำหลัก ปวิอ. 46 มาใช้ในการพิจารณาคดีแพ่งไม่ได้)
ฎ. 1957/2534
คดีอาญาพิพากษาว่า ลูกจ้างผู้กระทำผิดขับรถโดยประมาท ไม่ผูกพันนายจ้าง
ในการฟ้องคดีแพ่ง โจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความว่า ลูกจ้างประมาทด้วย
เมื่อโจทก์ไม่สืบนายจ้างจึงไม่ต้องรับผิด
ฎ. 806/2540
คดีแพ่งโจทก์ฟ้องจำเลย(ผู้ว่า) ขอให้เพิกถอนคำสั่งที่อ้างว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ
เกี่ยวเนื่องกับคดีที่อัยการฟ้องคดีอาญาข้อหาบุกรุก เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
(จำเลย(ผู้ว่า) เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองมีหน้าที่ดูแลและป้องกันมิให้ผู้ใดบุกรุกที่ดินเพื่อสาธารณะประโยชน์ จึงเป็นผู้เสียหายในคดีอาญานั้น)
ฎ. 5695/2544
การพิพากษาคดีส่วนอาญาไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าต้องถือข้อเท็จจริงตามคดีแพ่งเพราะในคดีอาญาศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาและสืบพยานโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย โจทก์ก็ต้องนำสืบให้ได้ความชัดแจ้งปราศจากข้อสงสัย ว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษได้
ฎ. 2320/2523
ไม่มีกฎหมายบังคับให้การพิพากษาคดีส่วนอาญาจะต้องถือตามข้อเท็จจริงในคดีอาญาเรื่องอื่น
แม้จะมีมูลกรณีเดียวกัน หรือเกี่ยวข้องกันก็ตาม
ฎ. 399/2546
ความเห็นของพนักงานสอบสวน ไม่ใช่คำพิพากษาส่วนอาญา ฉะนั้นในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งจึงไม่ต้องถือตาม
ฎ. 176/2538
การเปรียบเทียบปรับของพนักงานสอบสวน(ขับรถประมาท) ไม่ใช่คำพิพากษาคดีส่วนอาญา
ไม่ต้องด้วย ปวิอ. มาตรา 46
-การฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเป็นสำนวนเดียวกัน การพิจารณาพิพากษาก็ทำพร้อมกันไป
จึงไม่มีปัญหาว่าการพิจารณาคดีส่วนแพ่งต้องรอฟังข้อเท็จจริงคดีส่วนอาญาให้เสร็จสิ้นก่อนหรือไม่
-ในกรฟ้องคดีแพ่งต่างหากจากคดีอาญา ปวิอ. มุ่งหมายให้ศาลที่จะพิพากษาคดีส่วนแพ่งรอฟังผลของคดีอาญาก่อนแล้ว จึงพิพากษาคดีส่วนแพ่งไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญานั้น
ฎ. 2361/2548
ข้อวินิจฉัยในคดีอาญาที่ว่าจำเลยสร้างบ้านในที่ดินพิพาทนั้นเป็นของโจทก์หรือไม่ เป็นปัญหาโดยตรงในการวินิจฉัยคดีส่วนอาญา ดังนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาซึ่งถึงที่สุดแล้วดังกล่าว จะฟังว่าเป็นของจำเลยหรือเป็นลำห้วยสาธารณะประโยชน์หรือออกโฉนดที่ดินทับลำห้วยสาธารณะประโยชน์มิได้
อำนาจในการสั่งคืนของกลางตาม มาตรา 49
ฎ. 3712/2532
ในคดีอาญาแม้โจทก์จะมิได้มีคำขอเกี่ยวกับของกลางมาด้วยก็ตาม ศาลจะสั่งคืนของกลางแก่เจ้าของก็ได้ ตามปวิอ. มาตรา 49 และมาตรา 186(9)
อายุความคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา (มาตรา 51)
ฎ. 383/2497
อายุความทางอาญาใช้เฉพาะผู้กระทำผิดเท่านั้น นายจ้างมิได้กระทำผิดอาญาด้วยต้องใช้อายุความทางแพ่ง ในเรื่องละเมิดตามธรรมดา ตามปพพ.488 คือ 1 ปี
ฎ. 2390/2535
ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีอาญาชั่วคราว คดีอาญายังไม่เด็ดขาด อายุความฟ้องคดีแพ่งย่อมสดุดหยุดลงตาม ปวิอ. มาตรา 51 ว 2
ฎ. 6038/2537
ปพพ. 1375 ไม่ใช่อายุความฟ้องร้อง นำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตาม ปวิอ. 51 มาใช้ไม่ได้
โจทก์ต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง มิฉะนั้นหมดสิทธิเรียกร้องเอาคืน
ฎ. 3032/2533
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้อง เนื่องจากโจทก์มิได้ร้องทุกข์ภายใน สามเดือน
นับตั้งแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด คดีขาดอายุความตาม ปอ. 96
กรณีโจทก์จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ ปวิอ. มาตรา 51 ต้องฟ้องภายใน 1 ปี
นับแต่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงใช้ค่าสินไหมทดแทน
|