ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ |
ย้อนกลับ
|
ถัดไป
|
|
|
สามีภริยาเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี (รวมฏีกาผู้มีส่วนได้เสียและผู้ไม่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี)
|
ในเรื่องผู้มีส่วนได้เสียอันจะมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้นั้น มีตัวอย่างดังนี้
- ผู้ขายฝากมีสิทธิคัดค้านการยึดทรัพย์ได้ เพราะเป็นผู้ที่ชอบจะใช้สิทธิอันได้จดทะเบียนไว้โดยชอบ มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 (คำพิพากษาฎีกาที่ 810/2487)
- ผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว แม้จะยังไม่จดทะเบียนการได้มา ก็มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 456 458/2491)
- ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 ซึ่งอ้างว่าจำเลยมิใช่เจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึด มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 802 /2491)
- ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ดูแลสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มีอำนาจร้องขัดทรัพย์เกี่ยวกับสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 1370/2492)
- สามีมีอำนาจร้องขัดทรัพย์เกี่ยวกับสินบริคณห์ได้ เพราะสามีมีอำนาจจัดการสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1468, 1469 (คำพิพากษาฎีกาที่ 531/2501)
- ผู้ที่ครอบครองนาไว้เพราะจำเลยให้ทำกินต่างดอกเบี้ย มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้ เมื่อศาลฟังว่านานั้นเป็นของผู้อื่นมิใช่ของจำเลย ก็ต้องปล่อยนาที่ยึดนั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 28/2506)
แต่ตัวอย่างต่อไปนี้ถือว่าไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่ถูกยึด จึงไม่มีอำนาจร้องขัดทรัพย์
- ผู้ที่ได้รับอำนาจให้เข้าครอบครองที่ดินแทนเจ้าของนั้นไม่มีอำนาจร้องขัดทรัพย์แทนเจ้าของโดยเจ้าของมิได้มอบอำนาจ (คำพิพากษาฎีกาที่ 191/2484)
- ร้องขัดทรัพย์ต้องเป็นเรื่องที่อ้างว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่ยึด โจทก์ยึดทรัพย์ที่อ้างว่าเป็นมรดกตกได้แก่จำเลยตามคำพิพากษาที่ให้จำเลยชำระหนี้แทนผู้ตาย ผู้ที่อ้างว่าจำเลยไม่ใช่ภริยาผู้ตายและไม่ใช่ผู้รับมรดกจะร้องขัดทรัพย์ให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดนั้นมิได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 515/2488)
- เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีอำนาจยึดทรัพย์สิน อันเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้มาใช้หนี้ตามคำพิพากษาได้เสมอ แม้ลูกหนี้จะเอาทรัพย์สินนั้นไปวางเป็นประกันเงินกู้หรือจำนำผู้ใด หรือผู้ใดมีบุริมสิทธิหรือสิทธิยึดหน่วงในทรัพย์นั้นอย่างไร ผู้นั้นไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดนั้น คงได้แต่เรียกร้องบังคับตามสิทธิในการบังคับคดีตามกำหนดเวลาในกฎหมายว่าด้วยการนั้นเท่านั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 944/2490, 1413/2498 และ 424/2509)
- ผู้จะซื้อทรัพย์ตามสัญญาจะซื้อขายจากจำเลยและได้ครอบครองทรัพย์ไว้ ไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์นั้น เพราะถือว่าเพียงครอบครองไว้แทนจำเลยผู้จะขายเท่านั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 878/2492)
- โจทก์ยึดเรือของจำเลยเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษษ แม้เรือนั้นจะถูกพนักงานสอบสวนยึดไว้เป็นของกลางในคดีที่จำเลยทำผิด กรมตำรวจก็ไม่มีอำนาจร้องขัดทรัพย์เกี่ยวกับเรือนั้น เพราะกรมตำรวจมิใช่พนักงานสอบสวน (คำพิพากษาฎีกาที่ 1675/2493)
ตามตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวข้างต้นนี้จะเห็นได้ว่า การที่จะพิจารณาว่า ผู้ใดมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้นั้น ผู้นั้นจะต้องมีสิทธิหรือหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะร้องขอให้ปล่อย และสิทธิหรือหน้าที่นั้นอาจเป็นสิทธิหรือหน้าที่โดยมีกฎหมายรับรองไว้ก็ได้ เช่น ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 456 458/2491 ผู้ที่ครอบครองปรปักษ์ทรัพย์สินของผู้อื่นจนครบกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ย่อมได้กรรมสิทธิ์ ตามมาตรา 1382 ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 802/2491 ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีย่อมมีสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 531/2501 สามีย่อมมีสิทธิจัดการสินบริคณห์ตามมาตรา 1468, 1469
|
|
โดย : Administrator วัน-เวลา : 27 สิงหาคม 2553 | 6:17:27 From ip : 183.89.109.229 |